Friday, 3 January 2025 - 4 : 56 am
kanda_002
OIC_001
data-no-lazy="1"
kanda_002
OIC_001

สสส.สนับสนุนโรงพยาบาลลำปาง โดยเครือข่ายนักสังคมสงเคราะห์และสหวิชาชีพ พัฒนากลไกดูแลผู้ป่วยกลุ่มจิตเวช ด้วย Platform Social Telecare

สสส. สนับสนุน โรงพยาบาลลำปาง โดยเครือข่ายนักสังคมสงเคราะห์และสหวิชาชีพ ร่วมกันพัฒนากลไกดูแลผู้ป่วยกลุ่มจิตเวช ช่วยสร้างความเข้าใจต่อสังคม เพื่อให้ผู้ป่วยจิตเวชได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องและกลับสู่สังคมได้อย่างปกติ โดยใช้ Platform Social Telecare

โรงพยาบาลลำปางร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และภาคีเครือข่าย จัดทำโครงการพัฒนาเสริมสมรรถนะกลไกและเครือข่ายการดูแลทางสังคมของสหวิชาชีพ โดยใช้ Platform Social Telecare สร้าง Social Telecare Sandbox โดยโรงพยาบาลลำปางเลือกการดูแลทางสังคมกลุ่มผู้ป่วยจิตเวช เพื่อสนับสนุนบริการสุขภาพปฐมภูมิ เนื่องจากปัจจุบันมีประชากรจำนวนมากที่มีอาการเจ็บป่วยทางด้านจิตเวช หรือโรคซึมเศร้าเข้ามารับการรักษาที่โรงพยาบาล การพัฒนาระบบการให้บริการ และเพิ่มช่องทางติดต่อเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเข้ามารับบริการในเครือข่ายด้วยตนเองได้ จึงเป็นสิ่งที่ต้องเร่งพัฒนา โดยโรงพยาบาลลำปางมีทุนทางสังคม ซึ่งเป็นเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยในชุมชนที่มีความเข้มแข็งและมีประสิทธิภาพ มีระบบการดูแลในชุมชนและ การส่งต่อที่ชัดเจน อาทิ เครือข่าย”ต๋นบุญ”เป็นต้นทุนในพื้นที่ ทำงานกับผู้ป่วยหลากหลายกลุ่ม

นายแพทย์รักษ์ รักษ์ตระกูล นายแพทย์เชี่ยวชาญ กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลลำปาง กล่าวว่า กลไกของการพัฒนา Platform Social Telecare ได้นำเครื่องมือการประเมินทางสังคมไปใช้ใน รวบรวมข้อมูลแล้วนำมาร่วมกันหาวิธีการที่จะดูแลผู้ป่วยจิตเวชให้ได้รับการรักษา ฟื้นฟูสมรรถภาพอย่างต่อเนื่องอยู่ในชุมชน สังคมได้อย่างปกติสุข ชุมชนมีแนวทางร่วมกันในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชทั้งรายใหม่ ได้รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ เป็นการสนับสนุนระบบบริการปฐมภูมิได้เป็นอย่างดี และจะเป็นระบบหลักในการดูแลสุขภาพประชาชน

นายพลกฤษณ์ เพ็ชรหาญ หัวหน้ากลุ่มงานสังคมสงเคราะห์ โรงพยาบาลลำปาง กล่าวว่า ในการทำงานของพื้นที่ลำปาง แกนนำอาสาสมัครได้รับการฝึกอบรมการใช้เครื่องมือประเมินสภาพปัญหาทางสังคมของผู้ป่วย จากแพลตฟอร์มมาใช้ในการเก็บข้อมูล หลังจากนั้น เครือข่ายอาสาสมัคร ร่วมกับนักสังคมสงเคราะห์ นักวิชาชีพที่เกี่ยวข้องของรพ.ลำปาง และหน่วยบริการปฐมภูมิ ร่วมกัน วิเคราะห์ปัญหาของผู้ป่วยจิตเวชในพื้นที่ และออกแบบบบริการ โดยแบ่งกลุ่มเป้าหมายออกเป็น 3 ระดับ ประกอบด้วย ผู้ป่วยกลุ่มสีเขียว สีเหลือง และสีแดง ซึ่งแต่ละกลุ่มสามารถจัดบริการให้สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายได้ ตัวอย่างเช่น กลุ่มผู้ป่วยสีแดง มีภาวะวิกฤติ อาจจะกระทบต่อตนเองและชุมชน จะได้รับการจัดการปัญหาได้อย่างทันท่วงที ซึ่งถือว่าเป็นประโยชน์ของ Platform Social Telecare ที่เราได้นำมาใช้ในโครงการนี้

รองศาสตราจารย์ ดร.ประภาพรรณ อุ่นอบ สาขาประชากรศาสตร์ ภาควิชาศึกษาศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลที่ปรึกษาทีมติดตามประเมินภายใน ของโครงการฯ กล่าวว่า โครงการนี้ก่อให้เกิดองค์ความรู้ เรื่องการจัดการดูแลทางสังคมให้กับผู้ป่วยค่อนข้างมาก ตัวอย่างเช่น กลุ่มผู้ป่วยที่มีปัญหาทางด้านจิตเวช ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีลักษณะเฉพาะคือไม่เปิดเผยเพราะตัวถูกตีตราจากสังคมเข้าถึงการรักษาได้ยาก ขาดการรักษาที่ต่อเนื่อง ส่งผลให้มีอาการกำเริบ ดังนั้น การสร้างเครือข่ายทางสังคมโดยผ่านเครื่องมือ Social Telecare จึงมีความสำคัญ เพราะโครงการนี้ไปไปสร้างระบบต่าง ๆ ที่มีความชัดเจนขึ้นในการจะเข้าถึงผู้ป่วย รวมถึงการเฝ้าระวังการป่วยซ้ำ และการฟื้นฟูทางสังคมให้กลับมาใช้ชีวิตปกตอ ซึ่งถือว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง

นางสาวสรวงสุภา โพธิ์แก้ว ประธานชมรมสานฝันเพื่อผู้บกพร่องทางจิต อ.เมืองลำปาง กล่าวว่า “ต๋นบุญ”คือคนทำบุญร่วมกัน การที่เครือข่ายจิตอาสาเขตเทศบาลนครลำปางและทั้ง 3 พื้นที่ (ชุมชน) มาทำงานช่วยเหลือผู้ป่วยจิตเวชในโครงการนี้ เป็นหนึ่งในหลายบทบาทที่เครือข่ายอาสาต๋นบุญร่วมกันเป็นการทำงาน โดยชุมชน เพื่อชุมชน เพื่อสร้างสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน

การดำเนินโครงการพัฒนาเครือข่ายการดูแลทางสังคมกลุ่มผู้ป่วยจิตเวช เพื่อสนับสนุนบริการสุขภาพปฐมภูมิ โดยใช้แพลตฟอร์ม Social Telecare ของโรงพยาบาลลำปาง เลือกพื้นที่เป้าหมาย 3 จุดคือ พื้นที่รับผิดชอบศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองหัวเวียง พื้นที่รับผิดชอบศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองม่อนกระทิง และพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นมื่น จากการวิเคราะห์สถิติการดูแลทางสังคมพบว่า ปัญหาหรืออุปสรรคในการปฏิบัติงาน เกิดจากผู้ป่วยและญาติมีปัญหาการขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรค และวิธีการดูแลที่เหมาะสม บางรายไม่ให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูล รวมถึงการปิดกั้นการช่วยเหลือจากแพทย์หรือผู้เกี่ยวข้อง และครอบครัวดูแลไม่ทั่วถึง ไม่มีเวลาดูแล และขาดประสบการณ์การดูแลผู้ป่วย ระบบการดูแลทางสังคมในระดับพื้นที่ปฐมภูมิจึงใช้ระบบ พี่เลี้ยง ที่ปรึกษา ประกอบด้วยผู้มีความเชี่ยวชาญด้านการดูแลผู้ป่วยจิตเวช แพทย์ พยาบาลวิชาชีพ พยาบาลชุมชน และนักสังคมสงเคราะห์ ในการให้การปรึกษา ปรับระบบการจ่ายยาสำหรับผู้ป่วยผ่านอาสาสมัครต๋นบุญเพื่อติดตาม ให้การดูแลเรื่องของยา การฟื้นฟูกิจวัตรประจำวัน การจัดหาอาชีพในชุมชน โดยผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องมาโรงพยาบาล ช่วยปรับทัศนคติของคนในครอบครัว ชุมชน ต่อผู้ป่วยจิตเวช ให้เข้าใจ ให้โอกาส สนับสนุนให้อยู่ร่วมกันในชุมชนอย่างเป็นปกติสุข

© 2021 thairemark.com