Sunday, 6 October 2024 - 8 : 25 am
kanda_002
OIC_001
data-no-lazy="1"
kanda_002
OIC_001

BEDO ติวเข้มองค์ความรู้ตรวจประเมินธุรกิจความหลากหลายชีวภาพ

สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (BEDO) จัดอบรมหลักสูตร “ผู้ตรวจประเมินธุรกิจที่รับผิดชอบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ (Advance)”

นางสุวรรณา เตียรถ์สุวรรณ ผู้อํานวยการ BEDO เป็นประธานเปิดการอบรมหลักสูตร “ผู้ตรวจประเมินธุรกิจที่รับผิดชอบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ (Advance)” โดยมี ดร.ธนิต ชังถาวร รองผู้อํานวยการ BEDO กล่าวถึง BEDO Program on Biodiversity & Business Sustainability และนายสุวีร์ งานดี รองผู้อํานวยการ BEDO บรรยายเรื่อง การตรวจประเมินธุรกิจที่รับผิดชอบต่อความหลากหลายทางชีวภาพและการประเมินตนเองของภาคธุรกิจที่รับผิดชอบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ พร้อมด้วย นางสาวพักตร์พิมล โชคดีปรีชากุล ผู้อำนวยการสำนักเผยแพร่และส่งเสริมการมีส่วนร่วม กล่าวถึงวัตถุประสงค์การจัดอบรบฯ เพื่อพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะด้านการตรวจประเมินธุรกิจที่รับผิดชอบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ และเพิ่มบุคลากรในการตรวจประเมินธุรกิจที่รับผิดชอบต่อความหลากหลายทางชีวภาพหรือ Checker โดยมีเจ้าหน้าที่ BEDO และผู้แทนจากหน่วยงานต่าง ๆ อาทิ มูลนิธิสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ กรมควบคุมมลพิษ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร เข้าร่วม ณ โรงแรม ทีเค. พาเลซ แอนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร

นางสุวรรณา เตียรถ์สุวรรณ ผู้อํานวยการ BEDO กล่าวว่า ความหลากหลายทางชีวภาพเป็นเรื่องที่ทุกคนควรให้ความสำคัญ ในหลายภาคส่วนได้นำทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพเป็นฐานการสร้างมูลค่าเพิ่มทั้งภาคการผลิตและบริการ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยไม่ได้ตระหนักถึงการปกป้อง ฟื้นฟู และอนุรักษ์ทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพที่มีอยู่อย่างจำกัด และยังขาดมาตรฐานการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพและบริการของระบบนิเวศ จึงทำให้เกิดการสูญเสียความหลากหลาย ทางชีวภาพ และปัญหานี้อาจจะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศของโลกได้ ดังนั้นจึงได้เกิดข้อตกลงด้านการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพร่วมกัน คือ อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (Convention on Biological Diversity: CBD) ที่มีเป้าประสงค์เพื่ออนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ และการใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน รวมถึง การแบ่งปันผลประโยชน์ที่ได้จากการใช้ทรัพยากรพันธุกรรมอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม

ผู้อํานวยการ BEDO กล่าวต่อว่า การประชุมอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (COP 15) เมื่อเดือนธันวาคม 2565 ที่ผ่านมา ที่ประชุมได้เห็นชอบกรอบงานคุนหมิง มอนทรีออล ว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพของโลก หรือ Kunming Montreal Global Biodiversity Framework ในการ มีวิสัยทัศน์ร่วมกันถึงการอยู่ร่วมกันอย่างสอดคล้องและเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติในปี 2050 หรือ Living in Harmony with Nature by 2050 โดยใน Target ที่ 15 (Businesses assess and disclose biodiversity dependencies, impacts and risks, and reduce negative impacts) ระบุถึงการมีส่วนร่วมของภาคธุรกิจและสถาบันการเงินที่จะต้องร่วมกันลดผลกระทบและความสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ โดยให้มีการประเมินและเปิดเผยข้อมูลการทำธุรกิจที่มีผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ

ทั้งนี้ สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ สพภ. และมูลนิธิสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ หรือ มสพภ. ได้ร่วมมือกับหน่วยงานในเยอรมันคือ Global Nature Fund หรือ GNF ในการใช้เครื่องมือดังกล่าว โดยที่ผ่านมาได้ดำเนินการประเมินในอุตสาหกรรมต่างๆ โดยการประเมิน B&B check ช่วยให้ภาคธุรกิจได้ทราบถึงแนวทางในการผนวกประเด็นด้านการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพเข้าสู่การดำเนินงานและระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม และด้านความยั่งยืนที่มีอยู่เป็นการสร้างโอกาสในการดำเนินธุรกิจ แสดงภาพลักษณ์ที่ดีต่อสังคมสนับสนุนให้บริษัทสามารถกำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดให้สอดคล้องกับเป้าหมายด้านความหลากหลายทางชีวภาพในระดับประเทศจนถึงระดับโลกได้

“ก่อนหน้านี้ BEDO ได้จัดฝึกอบรมหลักสูตร “ผู้ตรวจประเมินธุรกิจที่รับผิดชอบต่อ จึงได้จัดฝึกอบรมหลักสูตร “ผู้ตรวจประเมินธุรกิจที่รับผิดชอบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ (Advance)” ครั้งนี้ขึ้น เพื่อให้ผู้เข้าฝึกอบรมพร้อมเป็นผู้ตรวจประเมินธุรกิจที่รับผิดชอบต่อความหลากหลายทางชีวภาพหรือ Checker ต่อไป โดยการฝึกอบรมครั้งนี้ จะประสบความสำเร็จได้ด้วยดีนั้น จำเป็นต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่างประกอบกัน ซึ่ง “ผู้เข้ารับการฝึกอบรม” จะเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่จะช่วยให้การฝึกอบรมประสบความสำเร็จและบรรลุวัตถุประสงค์” ผู้อํานวยการ BEDO กล่าวย้ำ

© 2021 thairemark.com