Friday, 27 December 2024 - 7 : 01 am
kanda_002
OIC_001
data-no-lazy="1"
kanda_002
OIC_001

หม้อแปลงไฟฟ้าซัปเมอร์ พร้อมจ่ายไฟให้ “สยามสแควร์”สร้างต้นแบบนำสายไฟลงดินทั้งระบบ ปรับทัศน์ยภาพ SMART CITY

“กิตติกร” หนุนโครงการนำสายไฟลงดินทั้งระบบในพื้นที่สยามสแควร์ เพิ่มศักยภาพการเป็น SMART CITY ที่สมบูรณ์ และจุด Check in แห่งใหม่ ด้าน “สมบัติ” ผู้บริหารโครงการ Smart Walking Street Low Carbon ทรัพย์สินจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชี้ โครงการสร้างความพึ่งพอใจ สร้างความปลอดภัย ให้ผู้ประกอบการร้านค้าในสนามสแควร์ ล้น! ชี้ โครงการนำสายไฟลงดินทั้งระบบสยามสแควร์ ต้นแบบการนำสายไฟลงดินให้ กทม. ด้าน กฟภ. ส่งทีมงานศึกษาติดตั้งหม้อแปลง Submersible Transformer Low Carbon เพื่อการนำมาใช้งานในพื้นที่ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในอนาคต

นายกิตติกร โลห์สุนทร ประธานคณะกรรมาธิการการพลังงาน สภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยว่า ตามที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บริษัท เจริญชัยหม้อแปลง ไฟฟ้า จํากัด และบริษัท อีโนวา อินทิเกรชั่น จำกัด ได้ลงนามบันทึกความร่วมมือ ในการนำสายไฟลงดินทั้งระบบ ร่วมทั้งการนำหม้อแปลงไฟฟ้า Submersible Transformer Low Carbon ลงดิน ซึ่งหม้อแปลงดังกล่าว เป็นสินค้าบัญชีนวัตกรรมไทย & NiA และรางวัลการลดพลังงานสิ้นเปลือง กระทรวงพลังงาน เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2565 ที่ผ่านมา โครงการการนำสายไฟลงดินทั้งระบบในพื้นที่สยามสแสคร์ ได้ทำการติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้า Submersiber Transformer Low Carbon พร้อมการจ่ายไฟให้กับโครงการสยามสแควร์ ทรัพย์สินจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแล้ว เพื่อการจัดการความมั่นคงด้านพลังงาน การเพิ่มศักย์ภาพการเมือง SMART CITY ในพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร เพื่อการยกระดับเป็นมหานครแห่งอาเซียน ในการปรับปรุงภูมิทัศน์ให้เกิดความสวยงาม สร้างทัศนีย์ภาพอันสมบูรณ์ในการเป็นก้าวสู่การเป็นมหานครของอาเซียน เป็นแหล่งท่องเที่ยวจุด Check in แห่งใหม่ของกรุงเทพฯ ทั้งยังเป็นแหล่งเรียนรู้นวัตกรรมไทย หม้อแปลงไฟฟ้าใต้ดิน ประหยัดพลังงาน/ลดคาร์บอน พร้อมเรียนรู้ระบบบริหารจัดการพลังงาน (Real time) ที่มีความทันสมัย สร้างความมั่นคงของพลังงาน สร้างความปลอดภัยด้านอัคคีภัยให้ประชาชน และนักท่องเที่ยว ในแหล่งท่องเที่ยวใจกลางเมืองสยามสแควร์

“การนำสายไฟลงดินทั้งระบบในพื้นที่ สยามสแควร์ เป็นต้นแบบการนำสายไฟลงดินไฟลงดินทั้งระบบ นอกจากจะสร้างมั่นคงด้านพลังงาน และสร้างความปลอดภัยให้กับพี่น้องประชาชนแล้วแล้ว ยังช่วยแก้ไขปรับปรุงทัศนียภาพของเมืองอย่างกรุงเทพมหานครให้มีความสวยงามสื่อสารวัฒนธรรมไทยได้ครบถ้วนสมบูรณ์ เพื่อการก้าวสู่การเป็น SMART CITY แห่งอาเซียน ทั้งนี้การนำสายไฟลงดินทั้งระบบ พร้อมกับหม้อแปลงไฟฟ้า Submersiber Transformer Low Carbon นอกจากทัศนียภาพจะดูสวยงาน ยังเป็นแหล่งเรียนรู้นวัตกรรมลดการใช้พลังงานค่าไฟ/ลดคาร์บอน เพื่อการก้าวสู่ Carbon Neutrality”

นายสมบัติ วานิชประภา ผู้บริหารโครงการ Smart Walking Street Low Carbon ทรัพย์สินจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า โครงการความร่วมมือระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บริษัท เจริญชัยหม้อแปลง ไฟฟ้า จำกัด และบริษัท อีโนวา อินทิเกรชั่น จำกัด ในการนำสายไฟลงดินทั้งระบบ เพื่อปรับปรุงทัศนีย์ภาพให้สยามสแควร์มีความสมบูรณ์ สร้างความพึ่งพอใจให้ร้านค้า ผู้ประกอบการที่ประกอบธุรกิจในพื้นที่ สร้างลักษณ์ที่ดีในการเป็น SMART CITY ให้กังกรุงเทพฯ มหานครแห่งอาเซียน และโครงการดังกล่าวยังช่วยส่งเสริมสินค้านวัตกรรมของไทย หม้อแปลงไฟฟ้า Submersible Transformer Low Carbon ที่เป็นการตอบโจทย์ Net Zero Emission แก้ไขปัญหาสายไฟฟ้าบดบังหน้าร้าน สร้างความปลอดภัยให้แก่ประชาชน สร้างความมั่นคงด้านพลังงาน ทั้งยังช่วยลดพลังงานค่าไฟ/ลดคาร์บอนได้ 5-20% และดูแลบำรุงรักษาง่าย

“ที่ผ่านมาพื้นที่ของสยามสแควร์ ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นผู้กำกับดูแลนี้ ประสบปัญหาสายไฟ สายสื่อสาร หม้อแปลงไฟฟ้าที่อยู่บนดิน บดบังทัศนีย์ภาพ ร้านค้า ผู้ประกอบการในพื้นที่ ทั้งยังกีดขวางจราจร และสร้างความไม่ปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สินของผู้ที่ค้าขายในพื้นที่สยามสแควร์อย่างมาก โครงการนำสายไฟลงดินทั้งระบบในพื้นที่สยามสแควร์ นอกจากผู้ประกอบการร้านค้าจะมีความพึ่งพอใจ สร้างทัศนีย์ภาพสวยงามให้กับพื้นที่แล้ว โครงการดังกล่าวน่าจะโครงการนำร่อง ของการนำสายไฟลงดินทั้งระบบ เป็นต้นแบบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการนำสายไฟลงดิน ให้ความสำคัญ การนำสายไฟ สายสื่อสาร หม้อแปลงไฟฟ้าลงดินทั้งระบบ เพื่อสร้างทัศนีย์ภาพให้กรุงเทพฯ ปริมณฑล นนท์บุรี สมุทรปราการ ให้เป็นมหานครแห่งการท่องเที่ยวเมืองไร้สาย สร้างทัศนีย์ภาพใหม่เสริมภาพลักษณ์ที่ดีให้กับประเทศในอนาคต”

การนำสายไฟลงดินทั้งระบบในพื้นที่สยามสแควร์นั้น กองบำรุงรักษาสถานีไฟฟ้า การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ได้ให้ความสนใจ ในการติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้า Submersible Transformer Low carbon ใต้ดิน ซึ่งเป็นนวัตกรรมของไทยลดการใช้พลังงาน/ลดคาร์บอน ได้จัดส่งทีมงานศึกษาดูงานการติดตั้งหม้อแปลงชนิดนี้เพื่อการนำมาใช้งานในพื้นที่ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในอนาคตด้วย

© 2021 thairemark.com