Sunday, 22 December 2024 - 1 : 28 pm
kanda_002
OIC_001
data-no-lazy="1"
kanda_002
OIC_001

“รศ.นุชทิพย์”อุปนายก TSPCA ลงพื้นที่ช่วยเหลือสัตว์

รศ.นุชทิพย์ บรรจงศิลป์ อุปนายกสมาคมป้องกันการทารุณสัตว์แห่งประเทศไทย (TSPCA) พร้อม ดร.สาธิต ปรัชญาอริยะกุล และคณะ ลงพื้นที่จังหวัด นนทบุรี และราชบุรี เพื่อมอบอาหารในการช่วยเหลือสัตว์ต่างๆ ในการอุปถัมภ์ของสมาคมฯ

 รศ.นุชทิพย์ บรรจงศิลป์ เปิดเผยว่า สมาคมป้องกันการทารุณสัตว์แห่งประเทศไทย (TSPCA) ได้ดำเนินโครงการบ้านอุปถัมภ์ โดยมีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อสร้างขวัญกำลังใจและการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาสัตว์จรจัด 2. เพื่อเป็นศูนย์กลางประสานความร่วมมือระหว่างผู้เลี้ยงสัตว์จรจัดกับผู้ประสงค์จะอุปการะสัตว์จรจัด 3. เพื่อแบ่งเบาภาระและความรับผิดชอบของกลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์จรจัด 4. เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการอุปการะสัตว์จรจัด 5. เพื่อให้สัตว์จรจัดได้มีคุณภาพที่ดีในการจัดสวัสดิภาพ 6.เพื่อเป็นการช่วยเหลือภาครัฐลดมลภาวะทางสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมสาธารณสุขชุมชน

 สำหรับการดำเนินงานที่ผ่านมา สมาคมฯ ได้ให้การสนับสนุนอาหารและเวชภัณฑ์ สมาคมฯ ดำเนินงานอย่างต่อเนื่องดูแลช่วยเหลือกว่า 20 แห่ง ในหลากหลายของพื้นที่และบริบทสภาพปัญหาที่แตกต่างกัน  เพื่อช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในด้านอาหารและเวชภัณฑ์ ช่วยเหลือบรรเทาปัญหาในสถานพักพิงได้ระดับหนึ่ง แต่จริง ๆ แล้วก็เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ซึ่งปัญหาที่ต้นเหตุคือ ความรับผิดชอบของผู้เลี้ยงสัตว์นั่นเอง เมื่อไม่ต้องการเลี้ยงสัตว์ของตนก็นำสัตว์มาทิ้ง เกิดปัญหาทำให้ผู้มีความเมตตาเก็บสัตว์ เหล่านี้มาช่วยเหลือดูแล ดีกว่าปล่อยให้สัตว์เหล่านั้นหิวกระหายหรือเกิดอุบัติเหตุเสียชีวิตก่อนวัยอันสมควร ซึ่งในสถานพักพิงสัตว์ต่างๆ เหล่านั้นไม่ใช่เพียงแต่สมาคมฯ ที่ให้การช่วยเหลือสนับสนุน แต่ก็มีหลายองค์กร มูลนิธิและประชาชนผู้ที่มีจิตเมตตาให้การช่วยเหลือสนับสนุนกันอย่างต่อเนื่อง เพราะนอกจากอาหารและเวชภัณฑ์แล้ว การจัดสถานที่ให้สัตว์ได้มีสวัสดิภาพที่ดีก็เป็นเรื่องสำคัญ ของการพัฒนาและยกระดับคุณภาพของสุนัขจรจัดในสถานพักพิงได้

 ซึ่งที่ผ่านมา สมาคมฯ มีแผนยกระดับในการพัฒนาบ้านอุปถัมภ์ ให้ได้มาตรฐานตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด โดยจะดำเนินการบูรณาการแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาแบบถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน เพื่อยกระดับมาตรฐานด้านการจัดสวัสดิภาพสัตว์ และเพื่อไม่ให้ผู้อุปการะเลี้ยงดูสัตว์จรจัดในสถานที่พักพิงเหล่านี้ ได้รับผลกระทบมากเกินไป จนเสียความตั้งใจที่ มุ่งมั่น ทุ่มเท ดูแลสัตว์เหล่านั้นด้วยความเมตตามาตลอด โดยสมาคมฯ จะมีแผนการดำเนินการจัดกลุ่มในการพัฒนา เช่น ระดับดีเยี่ยม เป็นบ้านอุปถัมภ์ต้นแบบ ระดับดี ให้การช่วยเหลือเตรียมพัฒนาเป็นบ้านอุปถัมภ์ต้นแบบ ระดับพอใช้ให้การช่วยเหลือและพัฒนาให้ตรงตามเกณฑ์มาตรฐาน และระดับเร่งการพัฒนาการช่วยเหลือ เป็นต้น

โดยเริ่มแบ่งเป็น 4 ระยะการดำเนินการ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 เริ่มดำเนินการ แต่งตั้งคณะทำงานและพัฒนาหลักเกณฑ์เพื่อสอดคล้องกับกฎหมายและหลักวิชาการที่กำหนด  ระยะที่ 2 การติดตามประเมินผล โดยการแต่งตั้งคณะกรรมการติดตามประเมินผลจากองค์กรภายนอกเพื่อความโปร่งใส และได้มาตรฐานตามหลักวิชาการ ระยะที่ 3 การพัฒนา จัดให้มีการลงนาม MOU บ้านอุปถัมภ์ร่วมกับสมาคมฯ มีแผนให้การช่วยเหลือด้านทรัพยากร การบริการด้านสัตวแพทย์ในบางกรณี เช่น การทำหมัน ฉีดวัคซีน อาหาร เวชภัณฑ์ วัสดุ อุปกรณ์ รวมทั้งวิชาการด้านการบริหาร จัดการต่าง ๆ ระยะที่ 4 การรายงานผล โดยนำผลการดำเนินงานเผยแพร่ประชาสัมพันธ์และใช้เป็นต้นแบบของสถานสงเคราะห์สัตว์ที่ได้รับการอุปถัมภ์จากองค์กรภาคเอกชน ที่ได้รับรองมาตรฐานวิชาการและปฏิบัติถูกต้องตามระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทุกอย่างต้องเริ่มต้นเพื่อการยกระดับมาตรฐานและการพัฒนาที่ต่อเนื่องยั่งยืน ด้วยการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สัตว์มีสวัสดิภาพที่ดี และลดปัญหาการทารุณกรรมสัตว์โดยไม่มีเหตุอันสมควร และที่สำคัญเพื่อสร้างสังคม ชุมชน ให้น่าอยู่ร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ตามแนวทางสันติวิธี ต่อไป

 

© 2021 thairemark.com