Sunday, 15 September 2024 - 9 : 25 am
kanda_002
OIC_001
data-no-lazy="1"
kanda_002
OIC_001

อพท.เตรียมผลักดันนำร่อง 8 ชุมชนรองรับนักท่องเที่ยวคุณภาพหลังจบ “โควิด”

อพท. ร่วมกับภาคีเครือข่ายกองทุนส่งเสริมววน. สกสว.-บพข.-สอวช. เปิดผลการวิจัย คัดชุมชนท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ 8 แห่ง พัฒนาเป็นต้นแบบการทำตลาด ท่องเทียววิถีใหม่ New Normal เตรียมความพร้อมรองรับนักท่องเที่ยวกลุ่มคุณภาพ หลังสถานการณ์โควิด 19 คลี่คลาย

นาวาอากาศเอก อธิคุณ คงมี ผู้อำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. เปิดเผยว่า อพท.ได้ร่วมกับภาคีเครือข่าย ทั้งกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(สกสว.) หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) สำนักงานสภานโยบาย การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) คณาจารย์นักวิจัย และผู้นำชุมชน ที่อยู่ใน 4 ภูมิภาคของไทย ประกอบด้วย ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคกลาง และภาคอีสาน เปิดผลงานวิจัยโครงการการยกระดับการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์สู่ตลาดนักท่องเที่ยวคุณภาพ เพื่อรองรับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงภายหลังภาวะวิกฤต และกิจกรรมการจับคู่พันธมิตรชุมชนท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ (Creative CBT Business Matching) ที่จะนำไปสู่ช่องทางการตลาดให้กับชุมชนใน 4 ภาค ให้มีความพร้อมที่จะรองรับการท่องเที่ยวในรูปแบบวิถีใหม่ ( New Normal ) ภายหลังจากสถานการณ์โควิด 19 คลี่คลาย และสามารถดำเนินกิจกรรมการท่องเที่ยว และเศรษฐกิจกลับมาได้อีกครั้ง ภายใต้แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนที่มีมาตรฐานพร้อมให้บริการรองรับตลาดคุณภาพด้านการท่องเที่ยว

ยกระดับ 8 ชุมชน สู่การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ต้นแบบ

ทั้งนี้ในโครงการดังกล่าว อพท. ได้ส่ง 8 ชุมชนนำร่อง ที่พร้อมเป็นต้นแบบการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์ ประกอบด้วย ภาคเหนือ ชุมชนท่องเที่ยวสันลมจอย จังหวัดเชียงใหม่ ชุมชนท่องเที่ยวในเวียง-บ้านหนองเต่า จังหวัดน่าน ภาคใต้ ชุมชนท่องเที่ยวเมืองเก่าภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต ชุมชนท่องเที่ยวจุฬาภรณ์ 12 จังหวัดนราธิวาส ภาคกลาง ชุมชนท่องเที่ยวเมืองโบราณทวารวดี-อู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ชุมชนท่องเที่ยวบางเจ้าฉ่า จังหวัดอ่างทอง ภาคอีสาน ชุมชนท่องเที่ยวสุขสมบูรณ์ จังหวัดนครราชสีมา และชุมชนท่องเที่ยวสนวนนอก จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งผลวิจัยพบว่า ทั้ง 8 ชุมชนดังกล่าว มีความพร้อมและเหมาะกับนักท่องเที่ยวกลุ่มคุณภาพ ได้แก่ กลุ่มครอบครัว กลุ่มคนทำงาน กลุ่มจัดประชุมสัมมนา กลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มทัศนศึกษา โดยมีหลายชุมชนที่ยังเหมาะกับกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติ เช่น ชุมชนท่องเที่ยวจุฬาภรณ์ 12 จังหวัดนราธิวาส เหมาะที่จะนำเสนอขายให้กับกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซีย ที่เป็นกลุ่มมุสลิม ชุมชนย่านเมืองเก่าภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต หมู่บ้านท่องเที่ยวไหมสนวนนอก จังหวัดบุรีรัมย์

โดย อพท. ได้นำองค์ความรู้ที่มี ใช้เป็นเครืองมือของการยกระดับให้แก่ชุมชน ได้แก่ ด้านใส่ใจเรื่องความปลอดภัยและเว้นระยะห่าง (Social Distancing) การพัฒนาเรื่องเล่าให้สามารถร้อยเรียงให้ได้อรรถรสมากขึ้น โดยใช้เทคนิค Apply Theater ที่เป็นเครื่องมือการพัฒนา Story telling ที่ อพท. พัฒนาขึ้นไปประยุกต์ใช้เพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่และเพิ่มการมีส่วนร่วมของนักท่องเที่ยว (Active Engagement) ตลอดจนการคำนวณบริหารต้นทุนค่าใช้จ่าย ที่จะนำไปสู่การกำหนดราคาขายที่เหมาะสม การบริหารคน การแบ่งปันผลประโยชน์ที่โปร่งใส และเป็นธรรม ในการนำมาสู่การนำเสนอขายกิจกรรมของชุมชน เพื่อทำให้การพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์ เป็นแหล่งท่องเที่ยวคุณภาพ และมีความยั่งยืน เพื่อให้แต่ละชุมชนเข้าใจวิธีการบริการจัดการการท่องเที่ยว ถือเป็นการเตรียมความพร้อมรองรับกับกลุ่มนักท่องเที่ยวคุณภาพ

ทำ Business Matching รับนักท่องเที่ยวคุณภาพ

จากผลการวิจัย บพข. ได้ขยายผล ด้วยการจัดกิจกรรม Business Matching โดยคัดเลือกชุมชนที่ผ่านการยกระดับจากโครงการวิจัยในครั้งนี้ ได้พบปะกับผู้ประกอบการนำเที่ยว ถือเป็นกิจกรรมเชื่อมโยงชุมชนเข้ากับการตลาด เพื่อกระจายนักท่องเที่ยวที่เหมาะสมลงไปยังพื้นที่เป้าหมายได้เป็นผลสำเร็จ โดยใช้จุดขายของแต่ละชุมชนเป็นเครื่องมือการตลาด ที่สามารถบริหารจัดการด้านมาตรฐานความปลอดภัยอย่างมีประสิทธิภาพ ถือเป็นการปรับตัวเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับชุมชน สร้างภาคีเครื่องข่ายด้านการตลาดได้อย่างชัดเจน นำมาสู่สร้างการสร้างงาน สร้างรายได้เสริมให้กับชุมชนและผู้ประกอบการในท้องถิ่นจากการท่องเที่ยวที่เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม

อย่างไรก็ตามงานวิจัยครั้งนี้ ได้พัฒนาองค์ความรู้ใหม่ๆ ในการยกระดับการท่องเที่ยวโดยชุมชนให้มีคุณภาพตอบโจทย์นักท่องเที่ยวคุณภาพ โดยมีชุมชนนำร่องต้นแบบที่เป็นแหล่งเรียนรู้ให้ชุมชนท่องเที่ยวได้มาเรียนรู้เพื่อยกระดับการพัฒนาได้อย่างเป็นรูปธรรม เป็นต้นแบบของการทำงานร่วมระหว่างหน่วยงานพัฒนาและภาคการศึกษา โดยใช้กระบวนการวิจัยเป็นเครื่องมือ อพท. ก็จะนำองค์ความรู้ที่ได้จากกระบวนการวิจัยไปยกระดับต่อยอดขยายผลชุมชนท่องเที่ยวต้นแบบของ อพท. ในพื้นที่พิเศษและพื้นที่เขตพัฒนาการท่องเที่ยวต่อไป

© 2021 thairemark.com