โรงพยาบาลสกลนคร ร่วมกับคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) พัฒนาระบบดูแลกลุ่มผู้ป่วยเปราะบางกลุ่มคนพิการโดยใช้ Platform Social telecare เพื่อจัดบริการทางสังคมวางแผนการดูแลผู้ป่วยได้ตรงตามปัญหาความต้องการ มากขึ้น
นางเยาวเรศ คำมะนาด นายกสมาคมนักสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ไทย นักวิชาการประจำโครงการกล่าวว่า จากการที่โรงพยาบาลสกลนครใช้ Platform Social telecare กับกลุ่มผู้ป่วยคนพิการทางการเคลื่อนไหวจากการวิเคราะห์ข้อมูลได้พบปัญหาซึ่งส่วนใหญ่มีปัญหาการเงิน ปัญหาผู้ดูแล สามารถนำไปออกแบบบริการที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ป่วยได้โดยการประสานส่งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ได้เข้าร่วมเป็นภาคีเครือข่ายทำให้การทำงานรวดเร็วมีประสิทธิภาพและบูรณาการกันได้ชัดเจนยิ่งขึ้นลดความซ้ำซ้อนได้
นางกรรณิการ์ แก้วอุปลา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองร่มเกล้าซึ่งเป็นพื้นที่เป้าหมายของโครงการกล่าวว่า การเก็บข้อมูลกลุ่มผู้ป่วยพิการในครั้งนี้ทำให้ได้ข้อมูลที่เป็นปัจจุบันและรับรู้ถึงสภาพปัญหาความต้องการ และสามารถ สืบค้นได้อย่างรวดเร็วมากขึ้นเมื่อต้องร่วมวางแผนการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ และแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพเช่นคนพิการที่มีภาวะซึมเศร้าคนพิการที่มีปัญหาการใช้ยาไม่ถูกต้องเนื่องจากมีปัญหาการมองเห็นร่วมด้วยโดย ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่นเทศบาลเมืองสกลนคร เพื่อให้การช่วยเหลืออย่างรวดเร็ว
นางสาวลภัสรดา เดชทะศร นักสังคมสงเคราะห์โรงพยาบาลสกลนครกล่าวว่าการใช้ Platform Social telecare ทำให้จัดกลุ่มเป้าหมาย แบ่งระดับความรุนแรงของปัญหาได้เป็นกลุ่มสีแดง ที่ต้องการบริการการดูแลเป็นพิเศษเพราะมีปัญหาทางการเคลื่อนไหวรุนแรงช่วยเหลือตัวเองได้น้อย สีเหลือง พี่เป็นระยะติดตามแต่ยังสามารถดูแลตนเองได้หรือ
มีผู้ดูแลส่วนกลุ่มสีเขียว จะเป็นผู้ป่วยที่สามารถฟื้นฟูสมรรถภาพและใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงกับปกติที่ผ่านมาการจัดเก็บ ข้อมูลในรูป เอกสาร อาจจะมีการหลงลืมสูญหายระบบการส่งต่อผู้ป่วยต้องทำเอกสารยุ่งยากหรือใช้การโทรศัพท์ประสานงานล่วงหน้าไปก่อนแต่เมื่อมีระบบ platform Social telecare การสรุปข้อมูลเพื่อการส่งต่อและการสืบค้นประวัติการใช้บริการจะทำได้รวดเร็วขึ้น การวางแผนการจัดบริการทำได้ตรงตามความต้องการของคนพิการและครอบครัวได้มากขึ้น