Wednesday, 13 November 2024 - 3 : 37 am
kanda_002
OIC_001
data-no-lazy="1"
kanda_002
OIC_001

รพ.ยะลาผนึกม.ธรรมศาสตร์ใช้ “Platform Social Telecare”เป้าหมายดูแลผู้สูงอายุที่ติดเชื้อโควิดให้ได้รับการดูแลที่ดีขึ้น

โรงพยาบาลยะลา ร่วมกับ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยการสนับสนุนจาก สสส. พัฒนาเครือข่ายสหวิชาชีพสนับสนุนระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ โดยใช้ Platform Social Telecare เป้าหมายดูแลผู้สูงอายุที่ติดเชื้อโควิดให้ได้รับการดูแลที่ดีขึ้น

โครงการพัฒนาเครือข่ายการดูแลทางสังคมกลุ่มผู้สูงอายุติดเชื้อโควิด-19 เพื่อสนับสนุนระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ โรงพยาบาลยะลา เป็นส่วนหนึ่งของโครงการที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และภาคีเครือข่าย จัดทำโครงการพัฒนาเสริมสมรรถนะกลไกและเครือข่ายการดูแลทางสังคมของสหวิชาชีพ โดยใช้Platform Social Telecare สร้างสมรรถนะนักสังคมสงเคราะห์โรงพยาบาลยะลาเพื่อพัฒนากลกาการดูแลทางสังคม การดูแลผู้ป่วยโรคติดเชื้อโควิด 19 ที่เป็นผู้สูงอายุ ในรูปแบบ Social Telecare Sandbox ในพื้นที่

นายแพทย์ประภัศร์ ติปยานนท์ รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ โรงพยาบาลยะลา กล่าวว่า หลังจากโรงพยาบาลนำ Platform Social Telecare มาใช้ระยะหนึ่ง พบว่า คัดกรองคนไข้ได้ละเอียดแม่นยำ มีการวางแผนร่วมกันระหว่างทีมสหวิชาชีพทำให้คนไข้เข้าถึงบริการขั้นตอนไปได้รวดเร็วขึ้น ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการดูแลคนไข้ อย่างไรก็ตาม การทำงานโดยใช้ Platform Social Telecare นักสังคมสงเคราะห์ต้องทำงานเชิงรุกให้มากกว่าเดิม ต้องแอคทีฟคอยมอนิเตอร์ข้อมูล รวมทั้งทีมสหวิชาชีพต้องปรับการทำงานด้วย

ด้านนางจรินทร์ อินทร์จันทร์ นักสังคมสงเคราะห์ ชำนาญการ หัวหน้ากลุ่มงานสังคมสงเคราะห์ โรงพยาบาลยะลา ได้อธิบายถึงการดำเนินโครงการพัฒนาเครือข่ายการดูแลทางสังคมกลุ่มผู้สูงอายุติดเชื้อโควิด-19 เพื่อสนับสนุนระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิของโรงพยาบาลยะลา ว่า การใช้แบบประเมินต่าง ๆ ทั้งแบบประเมิน ความต้องการกลุ่มผู้ป่วยโรคอุบัติใหม่ ในกลุ่มผู้ป่วยติดเชื้อโควิด19 เป็นประโยชน์ต่อนักสังคมสงเคราะห์ในการวิเคราะห์ข้อมูลผู้ป่วย แยกกลุ่มผู้ป่วยเพื่อให้สอดคล้องกับการออกแบบบริการ โดยมีการประสานของทีมสหวิชาชีพให้มาร่วมออกแบบบริการร่วมกันด้วย เพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ป่วย ซึ่งความแตกต่างของการทำงานก่อนและหลังใช้ Social Telecare ทำให้เห็นข้อมูลที่เป็นระบบ นำมาใช้ประมวลผลและออกแบบบริการได้อย่างรวดเร้ว อีกทั้งการทำงานกับเครือข่ายที่เกี่ยวกับผู้สูงอายุ ทำให้มีการทำความเข้าใจในการทำงาน และเกิดเป็นความร่วมมือร่วมกันในพื้นที่

นางสาวฐิติกาญน์ สุวรรณรัตน์ พยาบาลชำนาญการวิชาชีพ โรงพยาบาลยะลา กล่าวถึงการลงพื้นที่เยี่ยมบ้านผู้ป่วยว่า จะมีการนำข้อมูลมาประเมินเบื้องต้นว่าผู้ป่วยมีปัญหา หรือว่าต้องการความช่วยเหลือต่อในด้านใด ซึ่งจากการลงพื้นที่ประเมินในครั้งแรก พบว่ามีแผลกดทับ ผู้ป่วยร่างกายซูบผอม และญาติยังไม่มีแนวทางในการดูแลที่ดี จึงได้ประสานแพทย์ประจำครอบครัว ประสานนักกายภาพ มีทีมสหวิชาชีพลงเยี่ยมบ้าน พร้อมให้คำแนะนำเรื่องการดูแลผู้ป่วยติดเตียง ป้องกันภาวะแทรกซ้อน ซึ่งปัจจุบันพบว่าการทำงานร่วมกันของสหวิชาชีพทำให้การดูแลผู้ป่วยดีขึ้น

© 2021 thairemark.com