Saturday, 28 December 2024 - 9 : 34 am
kanda_002
OIC_001
data-no-lazy="1"
kanda_002
OIC_001

ฤดูกาลกุ้งแช่บ๊วย”อูแดอากอบือซา”หวนกลับมาอีกครั้ง สร้างความชื่นมื่นสร้างรอยยิ้มให้ลูกหลานชาวประมงปะนาเระ

บรรยากาศการทำประมงของสมาชิกกลุ่มชมรมประมงพื้นบ้านอำเภอปะนาเระ จ.ปัตตานี ในช่วงเริ่มแรกของฤดูกาลของการทำประมงวางอวนลอยกุ้งชาบ๊วยของชาวประมงที่นี่ ทำให้ชาวประมงที่นี่ต้องนำเรือแข่งกับเวลาในการวางอวนกุ้งแช่บ๊วยหลังคลื่นลมเริ่มสงบไปบ้างแล้ว ทำให้ชาวประมงนำกุ้งแช่บ๊วยขนาดใหญ่ นำขึ้นฝั่ง สร้างความชื่นมื่น และรอยยิ้มให้กับลูกหลานชาวประมงอย่างเห็นได้ชัด เพราะสามารถตอบโจทย์ในเรื่องรายได้ให้กับชาวประมงตลอดฤดูกาลได้เป็นอย่างดี นอกจากกุ้งแช่บ๊วยแล้วยังมีกุ้งกุลาดำไซค์ใหญ่ที่ติดอวนแถมมาอีกด้วย

ทั้งนี้ทั้งนั้นคงต้องยกประโยชน์ความดีให้กับศูนย์วิจัยพัฒนาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งปัตตานี โดยนายทศพล พลรัตน์ ว่าที่นักวิชาการประมงชำนาญการและทีมงานที่ได้ทุ่มเทเวลาในการผลิตพันธุ์กุ้งแช่บ๊วย พันธุ์กุลาดำ มาปล่อยตลอดทั้งปี เพื่อเพิ่มพันธุ์สีตว์ในแหล่งน้ำธรรมชาติ บวกกับการดูแลพื้นที่เขตอนุรักษ์ของกลุ่มชมรมประมงปะนาเระที่มีความเข้มแข็งเป็นยาวนานนับกว่า10ปี จนเป็นประจักษ์พยานอย่างเห็นได้ชัดว่ามันสามารถตอบโจทย์ได้ดีว่าการฟื้นฟู่ทะเล การฟื้นฟู่ทรัพยากรสัตว์น้ำต้องทำควบคู่กันไปถึงจะประสบกับความสำเร็จดังที่ปรากฎในภาพถ่ายที่มีลูกหลานชาวประมงถือกุ้งแช่บ๊วย กุ้งกุลาดำ ไซด์ใหญ่

พร้อมกับรอยยิ้มที่ไม่สามารถตีเป็นมูลค่าได้ นั้นคือหน้าที่ของผู้นำหรือผู้บริหารประเทศควรกระทำอย่างต่อเนื่องและต่อไปและต่อไป มันอาจไม่สามารถตอบโจทย์มูลค่าของการขยายเศษฐกิจในภาพรวมของประเทศไทยได้ แต่อย่างน้อยเป็นการลงทุนที่สามารถสร้างรอยยิ้มให้ชาวบ้าน ที่เป็นชาวประมงในระดับรากหญ้าได้ นับเป็นการลงทุนของภาครัฐที่ทรงคุณค่ายิ่ง

@@@ แต่ที่น่าเสียดายที่งบประมงเหล่านี้ที่ได้รับการสนับสนุนทุกปีจาก ศอ.บต.มาเป็นเวลานานนับกว่า10ปี ถูกตัดไปเรียบร้อยแล้ว ยังคงเหลือค้างในบ่อในโรงเพาะลูกกุ้งกุลาดำไม่กี่แสนตัวในศูนย์พัฒนาเพาะเลี้ยงสัตว์ชายฝั่งปัตตานี ที่เตรียมจะลงปล่อยสู่แหล่งน้ำเค็มใน5อำเภอของจังหวัดปัตตานี@@@

นายสุไลมาน ดาราโอ๊ะ ประธานชมรมประมงพื้นบ้านปะนาเระได้เปิดเผยว่าฤดูกุ้งแชบ๊วยทุกปีเราจะเห็นภาพรอยยิ้ม มันคือผลประโยชน์จากการบริหารจัดการทรัพยากรโดยชุมชน เช่น การจัดวางปะการังเทียม วางซั้งกอ และการทำแนวเขตอนุรักษ์ฯรวมทั้งการทำงานแบบมีส่วนร่วม ชุมชน ภาครัฐ ภาคเอกชนในการฟื้นฟูระบบนิเวศ เพิ่มห่วงโซ่อาหารของทรัพยากร สร้างความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรหน้าบ้านอำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี

ด้วยการดำเนินการภารกิจ 5 สร้างได้แก่ 1.สร้างพื้นที่ปลอดเครื่องมือประมงที่ผิดกฎหมาย 2,สร้างพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศ 3.สร้างพื้นที่ที่มีความหลากหลายของห่วงโซ่อาหารทรัพยากร 4.สร้างพื้นที่ที่มีความมั่นคงทางอาหารของคนไทย 5.สร้างพื้นที่ที่อาหารทะเลปลอดสารพิษ

© 2021 thairemark.com