Sunday, 10 November 2024 - 8 : 38 am
kanda_002
OIC_001
data-no-lazy="1"
kanda_002
OIC_001

‘บขส.’Digital Transport ก้าวสู่วิถีใหม่ผู้นำการขนส่งทางถนน

ก้าวไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) กับการยืนหยัดเป็นผู้นำด้านการขนส่งทางถนน และเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่ให้บริการรถโดยสารสาธารณะ อยู่เคียงค้างประชาชนมายาวนานเกือบหนึ่งศตวรรษ ซึ่งได้เดินมาถึงปีที่ 92 ก้าวเข้าสู่ยุคกระแสโลกเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ในสถานการณ์ ดิจิทัล ดิสรัปชัน (Digital Disruption) การใช้ชีวิตของมวลมนุษย์โลก ได้เปลี่ยนรูปแบบใหม่ วิถีใหม่ (New Normal)ภายใต้สถานการณ์เฉกเช่นนี้ บขส.ก็ได้วางยุทธศาสตร์ในการพัฒนาองค์กรเพื่อความเป็นเลิศทางด้านการขนส่งทางถนนกันต่อไป ด้วยการนำพาของ ดร.สัญลักข์ ปัญวัฒนลิขิต กรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารยุคใหม่ ที่เริ่มเข้ามาสานต่อภารกิจสำคัญขององค์กรแห่งนี้ เมื่อ มกราคม 2564 หรือกว่า 1 ปีที่ผ่านมา โดยผู้นำองค์กรท่านนี้ เป็นบุคคลที่กล้าคิด กล้าทำ และมีความมุ่งมั่น ในการขับเคลื่อนและนำพา บขส. ก้าวสู่ไปเป้าหมายที่กำหนดไว้ดังกล่าวข้างต้น ควบคู่ไปกับการพัฒนาองค์กรให้มีความทันสมัย รองรับความเปลี่ยนแปลงในโลกยุคดิจิทัล

วางยุทธศาสตร์พัฒนาปรับปรุง 4 ด้าน

ทั้งนี้การพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินงานนั้น กรรมการผู้จัดการใหญ่ยุค New Normal ท่านนี้ ได้นำ Smart Digition Technology มาใช้ในการบริหารจัดการ ทั้งหมด 4 ด้าน คือ
1.Smart Station (Modern Bus) การพัฒนาบริการปรับปรุงรถโดยสารและสถานีขนส่งฯ ให้ทันสมัย โดยนำเทคโนโลยีเข้ามาพัฒนาพื้นที่ต่างๆ
2.Smart Product & Service เพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวก บนรถโดยสารและสถานีขนส่งฯ มีบริการที่ทันสมัย ตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน ตามนโยบายของรัฐบาล ซึ่งเป็นรัฐบาลดิจิทัล โดยเน้นวัฒนธรรมเรื่องการบริการ ซึ่งพนักงานของ บขส.ทุกคนต้องให้บริการด้วยความเต็มใจ มีจิตอาสาต่อผู้โดยสารและประชาชน
3.Smart Asset พัฒนาสถานีหลักให้สอดคล้องกันกับสถานีกิจการที่เชื่อมต่อ นำทรัพย์สินที่มีอยู่ เช่น ที่ดิน สิ่งปลูกสร้างมาทำให้เกิดมูลค่าเพื่อชดเชยรายได้ค่าโดยสารที่ลดลงไป
4.Smart Fiem นำระบบเทคโนโลยีดิจิทัลมาบริหารจัดการ เพื่อปรับเปลี่ยนองค์กรให้ทันสมัย เพิ่มทักษะให้กับพนักงานเติมเข้าสู่ “Digital Transport” ในอนาคต องค์กรที่มีคุณภาพต้องมีความทันสมัย บุคลากร
ต้องทันต่อเทคโนโลยี มีการปรับตัวนำเทคโนโลยีที่ให้ไว้มาใช้กับการทำงาน“นโยบาย Smart Digital Technology ทั้ง 4 ด้าน จะช่วยขับเคลื่อนและพัฒนาให้ บขส.ก้าวไปอย่างมั่นคง เป็นองค์กรที่มีความเป็นมืออาชีพ ตลอดจนสามารถพัฒนาธุรกิจ ให้มีผลประกอบการที่ดี และเป้าหมายสำคัญ คือ บขส. สามารถให้บริการที่ดีและตอบสนองความต้องการประชาชนได้ ด้วยการพัฒนาและปรับปรุงให้เข้าสู่ Digital Transport คือ การเป็นผู้นำการขนส่งทางถนน โดยนำ Smart Digital Technology มาใช้ควบคู่ไปกับรูปแบบชีวิตวิถีใหม่ New Normal โดยจะพัฒนาการบริการประชาชนทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ ซึ่งองค์กรต้องดำเนินการอยู่บนผลกำไรของตนเอง ไม่เป็นภาระของภาครัฐ เพื่อให้บรรลุตามวิสัยทัศน์ เป็นผู้นำด้านการขนส่งทางถนน วิถีใหม่ เชื่อมโยงทั่วไทยและประเทศเพื่อนบ้าน”

ผลประเมินระดับ AA การันตีผลงาน
จากการพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินงานในรอบ 1 ปี ที่ผ่านมา สามารถยืนยันได้ว่า ผลงานที่เกิดขึ้นประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี โดยเป็นการการันตีจาก สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ที่ได้ประกาศผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส ในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment : ITA) ประจำปีงบประมาณ 2564 โดยให้ บขส. อยู่ในระดับ AA ได้คะแนน 95.82 ซึ่งเป็นคะแนนสูงสุดอันดับที่ 1 ของหน่วยงาน ในสังกัดกระทรวงคมนาคม และได้คะแนนสูงกว่าปีที่ 2563 จากคะแนน 77.05 แสดงให้เห็นถึงผลชี้วัดว่า การดำเนินงานของ บขส.มีคุณภาพ และมีมาตรฐานการบริหารจัดการองค์กรที่ดี มีคุณธรรม และความโปร่งใส สร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนได้ เป็นการการันตีว่า บขส.มีความรับผิดชอบต่อสังคมและให้บริการแก่ประชาชนได้เต็มที่ตามหลักการบริการสาธารณะ

สำหรับผลงานที่ทำมาตลอดระยะเวลากว่า 1 ปี และจะดำเนินการต่อไปในอนาคต หลังจากที่ ดร.สัญลักข์ ปัญวัฒนลิขิต ได้เขามารับหน้าที่ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บขส. นั้น มีผลงานที่สำคัญ อาทิเช่น ทำการปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์การใช้รถโดยสารให้มีความทันสมัย โดยพัฒนานำระบบ การจองหรือซื้อตั๋วออนไลน์ ( E-Ticket) และระบบติดตามรถอัจฉริยะ (GPS) ซึ่งเดิมนั้นมีติดเฉพาะรถของ บขส.เอง และเมื่อ กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ได้ขอความร่วมมือจากกรมขนส่งทางบก ให้ทำการวางระบบมอนิเตอร์ให้กับ รถ บขส. และรถร่วมทุกคันด้วย เพื่อความปลอดภัยของพี่น้องประชาชนมากขึ้น รวมทั้งเพิ่มระบบ WiFi บนรถโดยสารและสถานีขนส่งฯ โดยทำการปรับเปลี่ยนให้มีความทันสมัยสามารถติดต่อกันได้ทางออนไลน์สะดวกยิ่งขึ้น

ในส่วนการบริหารจัดการในเรื่องการจัดหาประโยชน์จากที่ดินของ บขส. จะนำที่ดินบ้างแปลงที่มีศักยภาพมาจัดสรรประโยชน์เพื่อชดเชยรายได้ที่หายไปช่วงสถานการณ์ โควิค- 19 ซึ่งได้ทำแผนงานไว้แล้วและจะดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมในปี 2565-2566 ด้วยการเปิดให้ภาคเอกชนเสนอตัวเข้ามาลงทุน โดยมีเป้าหมายในการตอบสนองนโยบายของรัฐบาลขยายการเชื่อมต่อไปถึงตลาดภูมิภาคอาเซียนหรือ AEC สำหรับที่ดินที่มีศักยภาพของ บขส.ก็มีอยู่หลายแปลง อาทิ ที่ชลบุรี ที่ปิ่นเกล้า และที่สามแยกไฟฉาย หากผู้เสนอโครงการให้มีการเชื่อมต่อกับภารกิจของ บขส.ก็อาจจะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ

อย่างไรก็ตามสำหรับการพัฒนาสถานีขนส่งหมอชิตนั้น ได้มีการลดพื้นที่การใช้งานลงให้เกิดความกระชับตามจำนวนเที่ยวรถ และมีการคืนที่ดินให้กับการรถไฟ เพื่อลดค่าใช้จ่าย และมีการปรับปรุงห้องขายตั๋วให้มีความทันสมัยขึ้น ให้มีความสะอาด ปลอดภัย และมีภาพลักษณ์ที่ดีขึ้น นอกจากนี้ยังได้ดำเนินการโครงการเออลี่รีไทร์ ปรับขนาดองค์กรลง แต่เพิ่มประสิทธิภาพพนักงาน การขับเคลื่อนตามแผนงานก็ทำได้ในระดับหนึ่งแล้ว ในปี 2564 สามารถตัดค่าใช้จ่ายออกไปรวมกับการลดค่าใช้จ่ายด้านอื่นๆ ซึ่งเป็นรายได้ที่ยังไม่สมควรต้องจ่าย เช่นการจ่ายค่าล่วงเวลาพนักงานหรือ โอที ก็จะไม่มีการจ่าย แต่จะใช้วิธีสลับกันทำงาน มาตรการเหล่านี้สามารถลดค่าใช้จ่ายได้เกือบ 100 ล้านบาทเลยทีเดียว ดังนั่นในปี 2565 ก็จะทำให้ต้นทุนคงที่ ( fixed cost) ลดลง คาดว่าจะสามารถตัดค่าใช้จ่ายออกไปได้ ประมาณ 60-70 ล้านบาท

นอกจากนโยบายที่กล่าวมาข้างต้น ยังมีนโยบายสำคัญอีกหนึ่งเรื่องที่จะทำการพัฒนาปรุงปรุง คือการรับส่งพัสดุภัณฑ์ ภายใต้แนวคิดไม่ได้ทำการแข่งขันกับเอกชน แต่พยายามเติมเต็มในส่วนที่เอกชนไม่ได้ทำ เช่น การขนส่งพัสดุชิ้นใหญ่ๆ , สินค้าชุมชน เป็นต้น โดยนโยบายของ บขส.คือ “One Day Service ส่งเช้าถึงเย็น ส่งค่ำถึงเช้า ก็จะสะดวก ถือเป็นจุดเด่น และเป็นทางเลือกในการบริการ โดยวางแผนไว้ดำเนินการจัดส่งในรูปแบบ Hup to Hup ด้วยการหาพันธมิตรมาร่วมมือกันในหลายมิติ ให้ครอบคลุมและเข้าถึงผู้ใช้บริการ เพื่อเพิ่มความสะดวกสบาย แต่ก็ยังมีจุดอ่อนตรงที่ยังไม่สามารถส่งตรงถึงประตู่บ้านได้ ในอนาคตกำลังมองหาพันธมิตรเข้ามาร่วม เพื่อขนส่งถึงหน้าประตูบ้านได้เลยเช่นกัน ซึ่งทั้งหมดนี้คือ สิ่งที่จะเกิดขึ้นในปี 2565 นี้

ลดรายจ่าย-เพิ่มรายได้แก้ขาดทุน

นอกจากการลดค่าใช้จ่ายและหาช่องทางเพิ่มรายได้ อีกภารกิจหนึ่ง ที่ บขส. ได้ให้ความสำคัญไม่น้อยเลยก็คือ การจัดจัดทริปท่องเที่ยว เป็นการกระตุ้นการส่งเสริมการท่องเที่ยวตามนโยบายของรัฐบาล โดยเปิดให้บริการจัดรถรับส่งบริการไปเช้าเย็นกลับ โดยทำร่วมกับพันธมิตรที่มีประสบการณ์ทำธุรกิจนำเที่ยว อย่างไรก็ตามก็จะเปิดให้บริการท่องเที่ยวแบบค้างคืนด้วยเช่นกัน ตามที่ผู้ใช้บริการเสนอแพ็คเก็จเข้ามา จากที่ได้ดำเนินการในเรื่องทริปท่องเที่ยว ตามรอยพระพุทธบาทเขาคิชฌกูฎ และทริปทำบุญไหว้พระ 9 วัดอยุธยา ก็ได้รับความพึ่งพอใจและชื่นชอบอย่างมาก เพราะราคาไม่แพงและมีความมั่นใจในตัวพลขับที่มีมาตรฐานสูง

ไม่เพียงเท่านั้น บขส.ยังหาช่องทางเพิ่มรายได้เพิ่มอีกช่องทาง โดยให้ศูนย์ซ่อมบริการรถ ซึ่งมีศูนย์ใหญ่อยู่ที่รังสิต เปิดให้บริการแก่ภาคเอกชนและประชาชนทั่วไป ทั้งรถส่วนบุคคล และรถขององค์กร โดยให้นโยบายกับศูนย์บริการไว้ว่า กรณีที่ผู้ใช้บริการเป็นพันธมิตรกัน ก็จะมีส่วนลด จากเลตราคาในการให้บริการปกติ ซึ่งภารกิจนี้ได้มีการเจรจากับ ขสมก. ให้ส่งรถมาใช้บริการที่ศูนย์ซ่อม บขส. ซึ่งอยู่ในระหว่างการทำรายละเอียด MOU นอกจากนี้ยังได้มีการพูดคุยเจรจากับอีกหลายองค์กร

“หากสถานการณ์เข้าสู่สภาวะปกติ จากนโยบายลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มรายได้ ก็คาดว่าจะทำให้ บขส.มีรายได้เพิ่ม ซึ่งจากการทำแผนงานไว้ คาดว่าในปี 2566 บขส.จะมีกำไรประมาณ 60 กว่าล้านบาท ซึ่งยังไม่ประเมินสถานการณ์ได้ว่าในปีนั้น สถานการณ์วิกฤตจะเป็นอย่างไร แต่ยืนยันได้ว่าถ้าทำตามแผนที่กำหนดไว้ ก็จะสวิ้งกลับมามีกำไร จากเดิมในปีที่ผ่านมา ที่ขาดทุนในระดับ 1000 ล้านบาท ทำให้ใน 2 ปีที่เกิดวิกฤติโควิค เงินสะสมหายไปเยอะมาก โดยปีที่ 2563 ก่อนผมมาบริหารขาดทุนไป มากกว่า 500 ล้านบาท และในปี 2564 ขาดทุนไปเกือบ 1,000 ล้านบาท ซึ่งมีผลกระทบต่อกระแสเงินสด แต่เราไม่ได้ลดมาตรฐานการบริการ ”

ส่วนเป้าหมายการดำเนินการในปี 2565 นั้น ดร.สัญลักข์ ปัญวัฒนลิขิต มีความตั้งใจจะต่อยอดนำเอาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศหรือระบบดิจิทัล มาใช้พัฒนาและยกระดับคุณภาพการบริการให้ได้มาตรฐานมีประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึงความสะดวก รวดเร็ว ทันสมัย ปลอดภัย และจำทำการเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างทางบก ทางน้ำ ทางรางและทางอากาศ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้โดยสารได้มากยิ่งขึ้น และมีเรื่องสำคัญอีกเรื่องหนึ่ง คือเรื่องของ Feeder Service ซึ่งเป็นนโยบายของ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ) ที่มอบหมายให้ดำเนินการ ตามภารกิจที่ว่า รถไฟความเร็วสูงไปถึงไหน บขส.ก็ต้องพยายามจะขนส่งคนไปเชื่อมต่อ รวมถึงทางอากาศ บขส.ก็ต้องจัดการเดินรถให้เชื่อมต่อกับสนามบินต่าง ๆ ซึ่ง บขส.ก็รับนโยบายตรงนี้มาดำเนินการต่อ รวมทั้งทำการเชื่อมโยงไปยังประเทศเพื่อนบ้าน บขส. ก็พร้อมเปิดให้บริการเดินรถโดยสารระหว่างประเทศ เพราะ บขส.มีเที่ยววิ่งรถไป ส.ป.ป.ลาว และกัมพูชาอยู่แล้ว แต่ต้องรอนโยบายเปิดประเทศ

ปรับสู่โหมดรถพลังงานไฟฟ้า (EV)

สำหรับนโยบายสำคัญ ที่จะทำให้ บขส.เกิดการเปลี่ยนแปลงองค์กรครั้งใหญ่กันเลยทีเดียว ก็คือการนำรถพลังงานทางเลือก เช่นรถพลังงานไฟฟ้า (รถ EV) มาให้บริการ โดยมีการศึกษาในเรื่องจุดคุ้มทุน ซึ่ง บขส.มีแนวทางจะนำรถไฟฟ้ามาใช้แทนรถใช้น้ำมันทั้งหมด คาดว่าภายใน 2-3 เดือน อาจจะได้เห็นรูปร่างของ ทีโออาร์ ออกมาให้เอกชนประมูล และคาดว่าจะสามารถดำเนินการได้ในปี 2566 เป็นต้นไป

“ขอฝากถึงผู้ใช้บริการด้วยว่า ทาง บขส. ผมขอยืนยันว่าจะให้บริการประชาชนอย่างเต็มที่ตามความสามารถในการให้บริการ ความปลอดภัย การดูแลพี่น้องประชาชนในการเดินทางต่างๆ ในเรื่องของความ สะอาด สะดวก ปลอดภัย ซึ่งคณะกรรมการบริษัท ได้มีฉันทามติกันว่า หลังจากที่เราได้ทำตามนโยบายที่วางไว้ โดยพยายามทำการลดรายจ่ายกันแล้ว ภายใต้การบริหารต้นทุนที่ดี ก็น่าจะทำให้กิจการ บขส.ดีขึ้นได้ และหากสถานการณ์ โควิคคลี่คลาย ประชาชนกลับมาใช้บริการสู่สภาวะปกติ บขส.ต้องดีขึ้นอย่างแน่นอน คาดว่าภายในปีที่ 3 ของการทำงานของผม จะมีความสมบูรณ์ทุกระบบและการให้บริการด้วยความเป็นมิตร โดยเฉพาะการให้บริการขนส่งผู้โดยสารด้วยความปลอดภัย ซึ่งเป็น นโยบายในลำดับแรกๆที่ถือเป็นเรื่องสำคัญ”

© 2021 thairemark.com