นางสาวเพ็ญภักดิ์ ลีกระจ่าง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทรัพย์ยั่งยืน จำกัด กล่าวถึงการจัดงานบวงสรวงและสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ บริเวณด้านหน้าอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง จ.บุรีรัมย์ว่า เพื่อเป็นสิริมงคลให้กับบริษัท เนื่องตนมีความเชื่อหากได้กระทำสิ่งที่ดีคู่บ้าน คู่เมือง จะนำสิ่งดีๆกลับมาสู่องค์กร ส่งผลให้ตลอดระยะช่วงที่ผ่านมา บริษัททำธุรกิจเติบโตอย่างต่อเนื่อง
ดังนั้น การเข้ามารุกตลาดจังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งในอนาคตกำลังศึกษา ที่จะจัดตั้งเป็นเซ็นเตอร์ให้กับสมาชิกอีกแห่ง หากมีศักยภาพที่ดีจะพัฒนาคัดเลือกตัวแทนได้ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่ปัจจัยหลายๆด้าน ทั้งเรื่องยอดขายและสมาชิก จากจุดนี้จะเห็นว่าบริษัทฯเข้าไปลงทุนในจังหวัดไหน ต้องทำพิธีบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพื่อเสริมสิริมงคลให้กับบริษัทประสบผลสำเร็จทางธุรกิจ
“ทุกๆครั้งที่เราเข้าไปทำธุรกิจในแต่ละภูมิภาค เราต้องจัดทำพิธีบวงสรวง ก่อนหน้าที่เคยไปทำพิธีบวงสรวงฯที่จังหวัดภูเก็ตมาแล้ว ซึ่งแต่ละครั้งจะมีรูปแบบที่แตกต่างกันไป ตามประเพณี ความเชื่อในแต่ละท้องถิ่น มารอบนี้จัดที่บริเวณด้านหน้าปราสาทหินพนมรุ้ง ถือว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์สืบทอดมาตั้งแต่สมัยโบราณ ซึ่งสถานที่ดังกล่าวนี้ อันมีพระศิวะ แกนหลักเป็นที่เคารพนับถือทางศาสนาพราหมณ์จากในอดีตจนมาถึงยุคปัจจุบัน
ด้านปู่ถาวร ผู้ทำพิธีครั้งนี้กล่าวเสริมว่าการได้มาร่วมบวงสรวงสักการะปราสาทหินพนมรุ้ง และร่วมรำถวาย ต่อหน้าองค์พระศิวะ เพื่อขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เทพเจ้าผู้เป็นใหญ่ในสามโลก นับว่าเป็นมงคลชีวิต เพื่อให้ธุรกิจเจริญรุ่งเรือง ตามความเชื่อหากใครที่มีเรื่องทุกข์ใจ ติดขัดเรื่องใด ถ้าหากมากราบไหว้พระศิวะ จะส่งผลให้ชีวิตประสบผลสำเร็จ
เนื่องจากสถานที่ดังกล่าวเป็นที่เคารพสักการะ ตามหลักศาสนาพราหมณ์ โดยที่อันเชิญพญานาคา พญานาคี พร้อมนำสิ่งของเครื่องไหว้บูชามาถวาย รวมทั้ง จัดเตรียมบายศรีพญานาค 9 เศียร,บายศรีเทพ,บายศรีเปิดเขาพนมรุ้ง และบายศรีธรรมจักร เพื่อสื่อถึงเทพเจ้าและเทวดาผู้ปกป้อง
พร้อมกันนั้น จัดชุดนางรำกว่า 20 ชีวิต มารำชุด เจ้านางน้อย เกี่ยวเกี่ยวโยงกับสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์, รำเปิด เรือนอัปสรานาฎลีลาคีตา และได้ร่วมรำหมู่อย่างพร้อมเพียงกัน ส่วน ไฮไลฟ์งานนี้ ทางเพ็ญภักดิ์ ประธานบริษัท ได้ออกมารำเดี่ยว เพื่อบูชาพระศิวะอีกด้วย ซึ่งนางรำแต่ละคนแต่งกายย้อนยุค สวมเครื่องประดับ สวยงามตระกาลตา
ด้านนายภาคภูมิ อยู่พูล หัวหน้าอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.บุรีรัมย์ กล่าวถึงสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ ปราสาทหินพนมรุ้งว่า สถานที่ดังกล่าวคนสมัยโบราณสืบทอดประเพณีมาถึงปัจจุบัน ที่ได้เข้ามาเรียนรู้ศิลปะและวัฒนธรรม เนื่องประดิษฐ์ฐานเทวาลัยศักดิ์สิทธิ์ และในสมัยโบราณเคยใช้ทำพิธีกรรมต่างๆมากมายตามประวัติศาสตร์ที่ปรากฎ ผู้ที่มาบวงสรวงได้ทำการขอนุญาติจากทางเจ้าหน้าที่ ตามกฎระเบียบข้อห้ามอุทยานอย่างเคร่งครัด โดยจัดสถานที่ไว้ให้ด้านนอกอุทยาน
ซึ่งนักท่องเที่ยว 2 กลุ่มคือ กลุ่มแรก เดินทางมาชมความงดงามของปราสาทหิน และศึกษาประวัติศาสตร์ อีกกลุ่ม นักท่องเที่ยวมาร่วมสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามหลักทางศาสนาพราหมณ์ ตามความเชื่อ ความศรัทธาของแต่ละบุคคล เนื่องจากตามประวัติศาสตร์ ปราสาทหินพนนมรุ้ง เคยเป็นโบสถ์พราหมณ์ ศาสนาอินดู ลัทธิไศวะ ซึ่งนับถือพระศิวะ เป็นเทพเจ้าสูงสุด
ดังนั้น เขาพนนมรุ้งเปรียบเสมือนเขาไกรลาสที่ประทับของพระศิวะ สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งราชอาณาจักรขอม