Sunday, 5 January 2025 - 4 : 49 pm
kanda_002
OIC_001
data-no-lazy="1"
kanda_002
OIC_001

รพ.สุโขทัย นำร่อง Platform Social Telecare ดูแลผู้ป่วยกลุ่มเปราะบาง-คนพิการ รวดเร็ว ตรงเป้าหมาย

โรงพยาบาลสุโขทัย นำร่อง Platform Social Telecare ดูแลผู้ป่วยกลุ่มเปราะบาง คนพิการ สนับสนุนการทำงานทีมสหวิชาชีพ ทำให้การเข้าถึง ส่งต่อ ช่วยเหลือเคส รวดเร็ว ตรงเป้าหมาย

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และภาคีเครือข่าย จัดทำโครงการพัฒนาเสริมสมรรถนะกลไกและเครือข่ายการดูแลทางสังคมของสหวิชาชีพ โดยใช้ Platform Social Telecare เป็น 1จาก 12 Sandbox ซึ่งพัฒนาเครือข่ายการดูแลทางสังคมกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นคนพิการ เพื่อสนับสนุนระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิของโรงพยาบาลสุโขทัย จัดบริการแบบการจัดการรายกรณี กลุ่มคนพิการที่มีภาวะพึ่งพิงปานกลาง ซึ่งได้ข้อมูลจากการใช้ Platform Social Telecare ทำงานได้คล่องตัวขึ้น เข้าถึงเป้าหมายที่ต้องการความช่วยเหลือ และจัดการช่วยเหลือได้ตรงตามปัญหา ทำให้การทำงานเป็นระบบ ไม่เสียเวลาในการค้นหาข้อมูล การช่วยเหลือไม่ซ้ำซ้อน สามารถต่อยอดการดูแลได้รวดเร็ว

นพ.มาโนช อู่วุฒิพงษ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสุโขทัย ระบุว่า ปัจจุบันการดูแลผู้ป่วยในระดับปฐมภูมิ บุคลากร ต้องทำงานเชิงรุก นักสังคมสงเคราะห์ซึ่งแต่เดิมเคยตั้งรับอยู่ในโรงพยาบาลต้องมีภารกิจเชิงรุกออกไปนอกโรงพยาบาล ลงไปเชื่อมต่อกับสถานบริการปฐมภูมิ ทั้งกับ อสม.และนักวิชาชีพอื่นที่จะช่วยกันดูแลผู้ป่วย เนื่องจากผู้ป่วยจำนวนมากเดินทางมาใช้บริการที่โรงพยาบาล หรือการเข้าถึงการให้บริการค่อนข้างยากลำบาก Platform Social Telecare นี้ ทำให้เจ้าหน้าที่ทำงานได้สะดวกขึ้น เชื่อมต่อกันได้ง่ายขึ้น จะทำให้ทีมสหวิชาชีพที่เกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงข้อมูลในระดับหนึ่งเพื่อเป็นประโยชน์ในการดูแลรักษาพยาบาล และฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยกลุ่มนี้ต่อไป

นางพรรณิภา ช่วยเพ็ญ นักสังคมสงเคราะห์ชำนาญการ หัวหน้ากลุ่มงานสังคมสงเคราะห์ โรงพยาบาลสุโขทัย ระบุว่า จากการวิเคราะห์ข้อมูลผู้ป่วยคนพิการย้อนหลังระยะ1ปี ด้วยPlatform Social Telecare พบว่า ระดับความรุนแรงของปัญหากลุ่มคนพิการทางการเคลื่อนไหวและร่างกายเพื่อออกแบบบริการที่เหมาะสม แบ่งเป็น 3 กลุ่มหรือ 3 ระดับคือ กลุ่มสีแดง ได้แก่กลุ่มคนพิการติดเตียง สีเหลือง ได้แก่กลุ่มคนพิการติดบ้าน และสีเขียว กลุ่มคนพิการที่มีความสามารถในการใช้ชีวิตประจำวันได้ บางคนทำงานได้

จากการดำเนินงานกับกลุ่มสีเหลือง พบว่าเป็นกลุ่มของผู้สูงอายุ มีปัญหาในเรื่องของสุขภาพร่วม แผนการจัดบริการประกอบด้วยการฟื้นฟูการทำกิจวัตรประจำวัน การฟื้นฟูสมรรถภาพด้านกายภาพบำบัด จัดหาอุปกรณ์ เครื่องช่วยความพิการที่จำเป็น ซ่อมแซม ปรับสภาพแวดล้อมในบ้าน ที่สำคัญคือต้องดูแลสุขอนามัย และโรคร่วมโดยทีมสหวิชาชีพ ของโรงพยาบาลสุโขทัย และสถานีอนามัยเมืองเก่าเฉลิมพระเกียรติ กรณีเร่งด่วนที่มีภาวะในเรื่องของสุขภาพจิตที่มีความเสี่ยงในการฆ่าตัวตาย ทีมจิตเวชก็จะเข้าไปให้การช่วยเหลือทันที ทั้งนี้ จากทำงานโดยใช้ Platform Social Telecare พบว่าจากเดิมที่ข้อมูลในรูปแบบเอกสารเสี่ยงสูญหาย เมื่อเป็นการป้อนข้อมูลเข้าระบบทำให้บริการจัดการข้อมูลเรียบร้อยขึ้น การประสานข้อมูลเพื่อส่งต่อผู้ป่วยทำได้รวดเร็ว

ด้านนางศิริพร ไร่นุ่น ผู้อำนวยการศูนย์บริการคนพิการจังหวัดสุโขทัย ระบุว่า Platform Social Telecare ทำให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นทั้งคนพิการและครอบครัวที่อาจจะอยู่ในทั้งกลุ่มสีแดง สีเหลืองและสีเขียว ทำให้การพัฒนาศักยภาพทั้งคนพิการและผู้ดูแลทั้งครอบครัวให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นก็ผู้ดูแลทั้งครอบครัวให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นได้อย่างรวดเร็ว และตรงตามความต้องการจำเป็นของคนพิการและครอบครัว และเห็นว่าควรมีการขยายผลในพื้นที่อื่น ๆ ให้ครอบคลุมทั่วทั้งจังหวัด

นพ.มาโนช อู่วุฒิพงษ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสุโขทัย

นางสาวปุณฎีกา เทียนเส็ง นักพัฒนาชุมชน อบต.เมืองเก่า กล่าวว่า การเข้ามามีส่วนร่วมของหลายภาคส่วนการดูแลบริการสำหรับประชาชน การพัฒนาคุณภาพชีวิต ทั้งในกลุ่มผู้สูงอายุและผู้พิการ อบต.เมืองเก่า ได้รับและตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นทำให้ทราบถึงปัญหาของผู้ป่วย และประสานงานเพื่อของบประมาณจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ในกรณีที่มีคนพิการที่ต้องปรับสภาพที่อยู่อาศัยให้เหมาะสม ท้องถิ่นได้รับรู้ข้อมูลและทำงานประสานกับทีมสหวิชาชีพของโรงพยาบาลสุโขทัยและเครือข่าย ทำให้การทำงานรวดเร็วยิ่งขึ้น

© 2021 thairemark.com