ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ รมว.ดีอีตอบกระทู้ “สว.เปรมศักดิ์ เพียยะระ”ถึงแนวทางแก้ปัญหาผู้สูงอายุตกเป็นเป้าหมายถูกหลอกลวงทางออนไลน์ ยกมีหลายมาตรการที่ทำแล้ว โดยเฉพาะได้ร่วมมือกับหลายหน่วยงานเพื่อสกัดกั้นมิจฉาชีพใช้เทคโนโลยีใหม่าตุ๋นผู้สูงวัย
นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ ดีอีได้ตอบกระทู้ถามของ นพ.เปรมศักดิ์ เพียยุระ สมาชิกวุฒิสภา (สว.) ในราชกิจจานุเบกษา หน้า 39 เล่ม 142 ตอนพิเศษ 23 เรื่อง แนวทางในการแก้ไขปัญหาผู้สูงอายุตกเป็นเป้าหมายในการถูกหลอกลวงทางออนไลน์
นายประเสริฐ ตอบถึงการแก้ปัญหาว่า กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม มีมาตรการและแนวทางในการแก้ไขปัญหาละเมิด ความเป็นส่วนตัวบนโซเชียลมีเดียที่เกิดขึ้น เมื่อผู้สูงอายุแชร์ข้อมูลส่วนตัวลงบนแพลดฟอร์มออนไลน์ แบบสาธารณะ ซึ่งเสี่ยงต่อการถูกสอดแนม ขโมยข้อมูล หรือโจมตีทางไซเบอร์จากผู้ไม่หวังดี ปัญหาการละเมิดความเป็นส่วนตัวบนโซเชียลมีเดียที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุมีสาเหตุมาจาก หลายปัจจัยสําคัญ ได้แก่ การขาดความชํานาญในการใช้เทคโนโลยี เช่น ขาดความรู้และความเข้าใจ เกี่ยวกับการตั้งค่าความเป็นส่วนตัว การหลงเชื่อข้อมูลหลอกลวง เช่น ฟิชชิง (Phishing) หรือการแชร์ ข้อมูลส่วนตัวโดยไม่ระมัดระวัง ผู้สูงอายุอาจไม่ตระหนักถึงความเสี่ยงจากการถูกสอดแนม ขโมยข้อมูล หรือโจมตีไซเบอร์ อีกทั้งการใช้งานเทคโนโลยีที่ไม่คล่องตัวหรือระบบที่ซับซ้อนบนแพลตฟอร์มออนไลน์ ซึ่งอาจนําไปสู่การแชร์ข้อมูลสําคัญโดยไม่ได้ตั้งใจ
ปัจจัยเหล่านี้ชี้ให้เห็นถึงความจําเป็นในการสร้าง ความตระหนักรู้เพื่อปกป้องข้อมูลส่วนตัวของผู้สูงอายุในโลกออนไลน์ โดยปัจจุบันกระทรวงดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคม สร้างความตระหนักรู้ให้กับประชาชนทุกกลุ่มและทุกช่วงวัยถึงภัยอาชญากรรมออนไลน์ ในรูปแบบต่าง ๆ รวมถึงประชาสัมพันธ์ให้ทราบรูปแบบของการหลอกลวงออนไลน์รูปแบบใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง ทั้งรูปแบบการลงพื้นที่ เพื่อให้ความรู้เพิ่มทักษะในการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัล การให้ข้อมูลผ่านข่องทางออนไลน์ โดยการบูรณาการการทํางานร่วมกันของศูนย์แก้ไขปัญหาอาชากรรมออนไลน์ (Anti Online Scam Operation Center : AOC) กับศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมประเทศไทย (Anti-Fake News Center Thailand: AFNC
ประเสริฐ จันทรรวงทอง รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ ดีอี
นายประเสริฐ ชี้แจงว่า 2.กระทรวงดิจิทัลฯ มีมาตรการและแนวทางในการแก้ไขปัญหาภัยคุกคาม ทางออนไลน์ที่ถือเป็นเรื่องที่ท้าทายขึ้นเมื่อผู้สูงอายุหลายคนต้องเผชิญกับภัยคุกคามที่มีความชับซ้อน และเป็นอันตรายมากขึ้นอย่างไร กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม มีมาตรการในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และปราบปราม ช่องทางการหลอกลวงประชาชน โดยาศัยอํานาจตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ในการเฝ้าระวัง ตรวจสอบเนื้อหาที่เข้าข่ายหลอกลวง รวมถึงเว็บไซต์ที่ปรากฏลิงก์ให้ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันที่อยู่นอกแอปสโตร์ เพื่อดําเนินการปิดกั้นแอปพลิเคชัน ที่ผิดกฎหมายออกจากระบบคอมพิวเตอร์ และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจสอบเพื่อปิดกั้นให้เกิดความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
“กระทรวงดิจิทัลฯ ได้ศึกษาวิเคราะห์รูปแบบ ของเว็บไซต์หรือแพลดฟอร์มออนไลน์ เพื่อกำหนดมาตรการตรวจสอบเพื่อดําเนินการปิดกั้น เว็บไซต์หลอกลวงเหล่านั้น โดยกระบวนการทางอิเล็กทรอนิกส์ตั้งแต่กระบวนการตรวจสอบ ค้นหาเว็บไซต์ด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์ AI การพัฒนาระบบตรวจสอบหลักฐาน การส่งคําร้องต่อศาล ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ การส่งคําสั่งศาลให้ผู้ให้บริการดําเนินการระงับการเข้าถึงเว็บไซต์ตามคําสั่งศาล ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อความรวดเร็วอีกด้วย”นายประเสริฐตอบ
นพ.เปรมศักดิ์ เพียยุระ สมาชิกวุฒิสภา (สว.)
นอกจากนี้ กระทรวงดิจิทัลฯ ยังได้ดําเนินการขอความร่วมมือกับ บริษัท Google ในการปราบปรามและป้องกันการติดตั้งแอปพลิเคชันที่เป็นอันตราย และมีความเสี่ยงจากแทลพี่ที่ไม่รู้จักโดยอัตโนมัติ บนสมาร์ทโฟนระบบ Android ด้วยฟีเจอร์ Google Play Protect ซึ่งเป็นการสกัดช่องทางการก่อเหตุของมิจฉาชีพที่หวังดูดเงิน หรือข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งาน Goosle ในประเทศไทยด้วยอีกทางหนึ่ง กระทรวงดิจิทัลฯ ตระหนักถึงความสําคัญในการแก้ไขปัญหา การหลอกลวงออนไลน์ที่ทวีความรุนแรงและเปลี่ยนรูปแบบใหม่ ๆ เสมอ โดยมีเป้าหมายการหลอกลวง กลุ่มของประชาชนที่ขาดความตระหนักรู้ หรือรู้ไม่เท่าทันมิจฉาชีพ โดยทราบดีว่าความร่วมมือ ของทุกภาคส่วนในการสร้างความตระหนักรู้ภัยออนไลน์ที่สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชน เป็นเรื่องสําคัญเร่งด่วน
นายประเสริฐ ชี้แจงว่า กระทรวงดิจิทัลฯ ได้ดําเนินโครงการ “Digital Vaccine” ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง กระทรวงดิจิทัล ฯ สํานักงานตํารวจแห่งชาติ กรมสอบสวนคดีพิเศษ กรมประชาสัมพันธ์ ธนาคารแห่งประเทศไทย สํานักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ สํานักงานคณะกรรมการ การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ สมาคมธนาคารไทย และ สมาคมโทรคมนาคม แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ในการจัดทําสื่อประชาสัมพันธ์ พร้อมทั้งเผยแพร่สื่อประชาสัมพันธ์ ในรูปแบบต่าง ๆ โดยมุ่งหวังว่าการประชาสัมพันธ์จากหน่วยงานพันธมิตรเหล่านี้จะช่วยสร้างความตระหนัรู้ ให้กับประชาชนทุกกลุ่ม ทุกช่วงวัย ในหลากหลายช่องทาง