Monday, 23 December 2024 - 6 : 51 pm
kanda_002
OIC_001
data-no-lazy="1"
kanda_002
OIC_001

วช. นำเสนอผลงาน ต้นแบบอาคารคาร์บอนต่ำ ในงาน NRCT Talk

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดเวทีแถลงข่าว NRCT Talk Phase 2 ครั้งที่ 1 ผลงานวิจัย “อาคารคาร์บอนต่ำ” โดย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานในพิธีเปิดงาน ซึ่งเป็นผลงานวิจัยของ ผศ.ดร.ณรงค์ฤทธิ์ จินต์จันทรวงศ์ หัวหน้าโครงการวิจัย และ ดร.มนสินี อรรถวานิช ผู้ร่วมโครงการ และคณะ จากคณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง พร้อมด้วย นายกฤษฎา พลทรัพย์ บริษัท กรีนสเปซ อาคิเทค จำกัด และ นายระพี บุญบุตร ห้างหุ้นส่วนจำกัด อาทิตย์ เวนติเลเตอร์ เป็นผู้ร่วมเสวนาดังกล่าว ณ ศูนย์จัดการความรู้การวิจัย อาคาร วช.1 

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. ส่งเสริมงานวิจัยที่นำมาใช้ประโยชน์ในการเพิ่มประสิทธิภาพในหลากหลายมิติ โดยโครงการอาคารคาร์บอนต่ำถือเป็นก้าวสำคัญ ในการนำงานวิจัยและนวัตกรรมนำการออกแบบอาคารให้สอดคล้องกับหลักการการพัฒนาอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โครงการนี้สามารถเป็นต้นแบบที่มีคุณค่าให้กับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ในการนำไปใช้ต่อยอดและปรับปรุงโครงสร้างที่มีอายุการใช้งานมานาน มาดำเนินการเป็นพื้นที่ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน ในการนี้จึงเป็นโอกาสสำคัญที่จะได้เผยแพร่ความสำเร็จของโครงการที่ได้นำงานวิจัยและนวัตกรรมมาปรับปรุงอาคารเก่าที่มีอายุกว่า 30 ปี ให้กลายเป็นอาคารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง

ผศ.ดร.ณรงค์ฤทธิ์ จินต์จันทรวงศ์ หัวหน้าโครงการวิจัย กล่าวว่า แนวคิดการปรับปรุงและการพัฒนาอาคารคาร์บอนต่ำเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนให้เป็นศูนย์ เริ่มตั้งแต่กระบวนปรับปรุง การใช้วัสดุธรรมชาติอย่างไม้ยางพาราซึ่งโมเดลอาคารคาร์บอนต่ำ การตรวจวัดและคำนวณที่สามารถแสดงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากถึง 25 เท่า เมื่อเทียบกับกระบวนการปรับปรุงแบบเดิม โดยคาดว่าอาคารคาร์บอนต่ำจะสามารถใช้งานได้ต่อเนื่อง 40 – 50 ปี ซึ่งเป็นผลงานสร้างสรรค์ที่เป็นการแสดงถึงศักยภาพของงานวิจัยและนวัตกรรมที่ส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วยวิจัยและนวัตกรรม

ทั้งนี้ การแถลงข่าว NRCT Talk Phase 2 ครั้งนี้ เป็นการนำเสนอความสำเร็จของงานวิจัยสถาปัตยกรรมที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม และเป็นเวทีแห่งการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ เพื่อพัฒนาแนวทางการสร้างอาคารลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนอย่างยั่งยืนอย่างแท้จริง มุ่งสู่คุณภาพชีวิตที่ดีของคนเมือง

© 2021 thairemark.com