ภาวะ “ลานิญา” มาแล้วน้ำมากกว่าแล้ง อานิสงส์การเกษตรพืชผัก ปาล์มน้ำ ยางพารา ทุเรียน มังคุด กล้วย มะพร้าว อ้อย กลุ่มทำทุเรียน มังคุด นอกฤดูผวา ลานิญา
นายจิระวัฒน์ ภักดี ที่ปรึกษาสภาเกษตรกร จ.พัทลุง และผู้ประกอบทางด้านการเกษตร เปิดเผยว่า ภาวะเอลนิโญได้สิ้นสุดลงและเข้าสู่ภาวะลานิญาเมื่อเดือนสิงหาคม 2567 และจะส่งผลให้เกิดฝนตกมากและน้ำมากกว่าภาวะเอลนิโญ ซึ่งจะเกิดฝนตกน้อยและแห้งแล้งลากยาวเมื่อปี 2566-2567 ที่ผ่านมา
ภาวะลานิญา จะเป็นผลบวกกับด้านเกษตรพืชผลไม้ยืนต้นและพืชผัก ตั้งแต่ปาล์มน้ำมัน ยางพารา ทุเรียน มังคุด มะพร้าว เงาะ ลองกอง ข้าว กล้วย อ้อย ฯลฯ จะเกิดความสมบูรณ์เพราะได้รับน้ำ และจะมีปริมาณผลผลิตจะกลับเพิ่มขึ้นมาเหมือนเดิม
เขายังกล่าวอีกว่า คราวเกิดภาวะเอลนิโญในปีที่ผ่านมาได้เกิดภาวะแล้งร้อนจัดลากยาว ได้ส่งผลกระทบต่อปริมาณผลผลิตมีปริมาณที่ลดลงมากประมาณถึง 50 % โดยเฉพาะทุเรียนต้นขนาดเล็กยืนต้นตายไปประมาณ 10-20 % กล้วยทุกชนิดขาดแคลนเกินกว่า 50 % สำหรับทางภาคใต้โดยพื้นที่ปริมาณน้ำไม่พอที่สำรองไว้
“และจากได้รับผลผลิตปริมาณที่ต่ำมาก เช่น พวกกล้วยทุกประเภทขาดแคลนราคาได้ปรับตัวสูงถึงเท่าตัว กล้วยหอมราคาปกติกประมาณ 10 บาท / กก. ได้ปรับตัวสูงขึ้น 20 – 30 บาท / กก. ถ้าเป็นหวีละ 80 บาท 100 บาท และพืชราคาได้ปรับตัวสูงขึ้นทุกตัว”
นายจิระวัฒน์ กล่าวอีกว่า และจากภาวะลานิญาที่เกิดขึ้นแล้ว ฝนตกดีน้ำดีจะส่งผลให้ไม้ยืนต้นเกิดความสมบูรณ์ก็จะให้ผลผลิตปริมาณกลับสู่สภาพเดิม ตั้งแต่ปาล์มน้ำมัน ยางพารา ข้าว ทุเรียน มังคุด กล้วย อ้อย ฯลฯ ตลอดจนพืชผัก ส่วนผลเสียคือจะเกิดภาวะน้ำท่วม และพื้นที่ลุ่มที่เกิดน้ำท่วมซ้ำซากจะเกิดน้ำท่วมขัง จะสร้างความเสียหายให้กับการเกษต
“และอย่างนาข้าวก็จะได้รับความเสียหายหากเป็นที่ลุ่ม แต่ปัญหาที่แก้ไขได้เมื่อฝนแล้งก็กลับมาปลูกข้าวใหม่ต่อได้”
นายจิระวัฒน์ กล่าวอีกว่า แต่ในขณะเดียวกันจากภาวะลานิญา ก็จะส่งผลกระทบต่อเกษตรกรที่ทำนอกฤดูทั้งทุเรียน และมังคุดได้ เพราะมีฝนตกที่ไม่แน่นอนเมื่อฝนตกลงมาก็กระชากดอกร่วงหล่นออก โดยทุเรียนนอกฤดูจะทำกันมากสำหรับทางจังหวัดภาคใต้ที่ จ.ชุมพร จ.สุราษฎร์ธานี และ จ.นครศรีธรรมราช จะทำมังคุดกันมาก ทั้งหมดส่งออกต่างประเทศจีน ญี่ปุ่น และกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง
“ทำนอกฤดูกาลภาวะลานิญาจะเกิดความเสี่ยงกับเกษตรกรนอกฤดู แต่ภาวะเอลนิโญ นอกฤดูจะเป็นผลดี ภาวะผลไม้นอกฤดูจะได้ราคาสูงกว่าฤดูปกติมาก”
นายไพรวัลณ์ ชูใหม่ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ เกษตรจังหวัดพัทลุง และที่ปรึกษารับทำสวนการเกษตร เปิดเผยว่า ภาวะลานิญาได้เข้ามายังภาคเหนือ ภาคอีสานก่อน และได้เข้าสู่ภาคใต้เมื่อเดือนกันยายน ซึ่งจะเกิดฝนตกชุกและปริมาณน้ำมากกว่าภาวะปกติ แต่สำหรับเกษตรกรจะเป็นบวกจากมีน้ำที่สมบูรณ์ แต่มีความเสี่ยงเรื่องภาวะน้ำท่วม และน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มก็มี ที่จะส่งผลลบต่อการเกษตร
“ในปีนี้ภาคใต้จะมีฝนซ้ำซ้อนกันทั้งจากภาวะลานิญาและฝนตามฤดูกาลตั้งแต่เดือนตุลาคม พฤศจิกายน และธันวาคม”
นายไพรวัลย์ กล่าวอีกว่า ที่น่างกังวลก็คือผลไม้ที่ทำผลผลผลิตออกนอกฤดู มีทุเรียน มังคุด เพราะอาจจะประสบกับปัญหาบางรุ่นได้ที่จะออกผลผลิตประมาณเดือนมกราคม 2568 ไปจนถึงกลางเดือนกุมภาพันธุ์ 2568 เพราะการทำทุเรียนนอกฤดูใช้เวลาประมาณไม่เกิน 6 เดือนจะให้ผลผลิตโดยเฉพาะในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2568 และเทศกาลตรุษจีน 2568 การทำผลไม้นอกฤดูจะได้ราคาที่สูงมาก
“งจากภาวะลานิญาว่าจะมีผลกระทบต่อทุเรียน มังคุด นอกฤดูหรือไม่สำหรับภาคใต้ ชุมพร สุราษฎร์ธานี และ จ.นครศรีธรรมราช ที่มีการทำกันมากผลิต ส่วนจังหวัดอื่น ๆ ทำสวนทุเรียน มังคุดนอกฤดูกาลยังน้อย เช่น จ.พัทลุง เป็นต้น”