Saturday, 7 December 2024 - 9 : 44 am
kanda_002
OIC_001
data-no-lazy="1"
kanda_002
OIC_001

ต้นทุนพุ่ง แบกรับภาระไม่ไหว เกษตรกรเลิกเลี้ยงโคนม ฉุดน้ำนมดิบขาดแคลน กระทบเป็นแซ่ลูกโซ่

สถานการณ์น้ำนมดิบขาดแคลนอย่างหนักทำให้ร้านสะดวกซื้อ ร้านค้าต่างๆ แม้กระทั่งร้านชานม และร้านกาแฟ นมสดพร้อมดื่มไม่มีจำหน่ายเหมือนปกติเช่นเดิมวิกฤติหนักในรอบหลายสิบปี ส่งผลให้ผู้ประกอบการต้องปรับกลยุทธ์พยุงธุรกิจหันไปใช้วัตถุดิบอื่นแทนน้ำนมสด แต่กระแสตอบรับจากกลุ่มไม่ดีเท่าที่ควรเนื่องจากรสชาติความอร่อยไม่เหมือนน้ำนมดิบ

นายคำพันธ์ ไชยหัด ประธานสหกรณ์โคนมขอนแก่น จำกัด ตั้งอยู่บนถนน มิตรภาพ ต.บ้านค้อ อ.เมือง จ.ขอนแก่น บอกว่า การเลี้ยงโคนมของทางสหกรณ์นั้นเข้าขั้นวิกฤติ เนื่องจากเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมเกือบทั้งระบบ จากการประชุมทั่วประเทศที่ผ่านมาที่มีเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมส่วนใหญ่เจอปัญหาเดียวกัน คือ เลี้ยงล้วมีแต่ขาดทุน ส่วนใหญ่เกษตรที่ยังเลี้ยงโคนมอยู่ล้วนรอความหวังจากรัฐบาลใหม่จะเข้ามาโอบอุ้มทั้งด้านการสนับสนุนและลดต้นทุนการผลิต

” ก่อนยุบสภา ได้มีการปรับน้ำนมขึ้น 2 บาทกว่า และมีการเสนอให้ปรับขึ้นราคาแต่ถูกยุบสภาและเรื่องยังค้างอยู่ จึงเป็นสาเหตุที่ เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมต้องรอ หากการปรับราคาน้ำนมดิบขึ้น ก็เชื่อว่าจะสามารถทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมสู้ต่อได้ แต่ทั้งนี้ก็ต้องปรับราคานมโรงเรียนตามไปด้วย ซึ่งเรามีบทเรียนมาแล้วช่วงเดือน ต.ค.2565 มีมติปรับขึ้น 50 สตางค์ แต่ไม่ได้ปรับในส่วนของนมโรงเรียน ต้องแบกรับต้นทุนในส่วนต่างที่ปรับขึ้นถึงถุงละ 31 สตางค์”

นายคำพันธ์ บอกต่อว่าในระยะเวลา 3 เดือนสหกรณ์โคนมขอนแก่นขาดทุนไปกว่า 2 ล้านบาท ซึ่งหากมีการขึ้นราคาตามมติมิลค์บอร์ดที่ยื่นไปเมื่อ 14 มี.ค.2566 หากผ่านการเห็นชอบก็จะช่วยเกษตรกรได้อีกระดับหนึ่ง การปรับราคานั้นก็เป็นส่วนหนึ่ง แต่อยากให้มีการควบคุมราคาวัตถุดิบด้วย โดยเฉพาะวัตถุดิบที่มีการนำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งเราเองก็มีการช่วยเหลือเบื้องต้นให้กับสมาชิกโดยเฉพาะการปรับลดกำไรในส่วนของวัตถุดิบต่างๆที่เรานำเข้ามา ซึ่งจะคิดกำไรอยู่ที่ร้อยละ 3 บาทก็ปรับลดเหลือร้อยละ 2 บาท พร้อมทั้งหาแหล่งเงินทุนมาหมุนเวียนในฟาร์มชะลอการเลิกเลี้ยงของเกษตรกร และแนวโน้มสมาชิกตอนนี้ยังรอดูท่าทีทีมเศรษฐกิจรัฐบาลชุดใหม่ ว่าจะมีแนวทางอย่างไรในการช่วยเหลือเกษตรกร ที่เกี่ยวเนื่องกับอาหารสัตว์หรือต้นทุนต่างๆ

“บอกตามตรงว่าเกษตรกรต้องการเลิกเลี้ยงหลายคนแต่ก็ประสบปัญหาในเรื่องราคาวัวตกต่ำ จึงเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ไม่กล้าขาย ทำได้เพียงประคับประคอง หากราคาวัวดีขึ้นก็อยากขายและเลิกเลี้ยง แต่หากราคาน้ำนมดิบดีขึ้นก็จะช่วยบรรเทาได้ ตอนนี้น้ำนมดิบขาดแคลนในรอบหลาย 10 ปี และปีนี้ราคาน้ำนมดิบตกต่ำมาก ใน ปี2565 สหกรณ์ได้น้ำนมดิบ อยูที่ 3,500 ตันต่อวัน ปัจจุบัน เหลืออยู่ที่ 2,600-2,700 ตันต่อวัน ลดลงมาก โดยจากการพูดคุยกับสหกรณ์โคนมที่ต่างๆก็ประสบปัญหาน้ำนมดิบขาดแคลนเช่นกัน จึงได้จัดหาในส่วนนม UHT มารักษาสิทธิ์ของ อสค.ไปก่อน”

ด้ายนางบุญเรียน บุตรโคตร อายุ 56 ปี บ้านเลขที่ 680 ม.20 บ้านซำจาน ต.บ้านค้อ อ.เมือง จ.ขอนแก่น เกษตรกรเลิกเลี้ยงวัวนม กล่าวว่า สาเหตุที่เลิกเลี้ยงเพราะ อาหารขึ้นทุกสัปดาห์ สหกรณ์มีเงินช่วยเหลือ แต่ก็ไม่อยากเป็นหนี้ เพราะนมถ้าเราไม่มีคุณภาพก็ไม่ได้ราคา ตอนนี้ยังอยากเลี้ยงเหมือนเดิม ทุกอย่างมีเพราะการเลี้ยงวัว แต่ทนแบกรับต้นทุนไม่ไหว ราคานมก็ตกต่ำ แม้แต่ฟาง ก้อนละ 25 บาท ตอนนี้ราคาขึ้นก้อนละ 30-40 บาท จึงคัดสินใจไปกู้เงิน ธกส.มาทำไร่มัน ขายวัว 3 ตัว ได้แค่ 20,000 บาท แต่จำเป็นต้องขายเพราะไม่มีเงินเลี้ยงให้ได้คุณภาพของสหกรณ์ที่รับซื้อ เนื่องจากต้องดูส่วนประกอบต่างๆไม่ใช่แค่น้ำนมดิบ เพราะจะมีค่าไขมัน ค่าข้อมูลอื่นๆอีกมากมายถึงจะได้คุณภาพตามที่สหกรณ์ต้องการ ลูกหลานก็ไม่อยากทำเพราะว่าทำแล้วไม่ได้เงิน ก็ไปทำงานอย่างอื่น

“ตอนนี้ต้องรอดูเศรษฐกิจ อยากให้มีรัฐบาลไวๆ จะรอดูว่าจะช่วยเหลือเกษตรกรเลี้ยงวัวนมอย่างไร จึงชะลอการเลี้ยง หากเศรษฐกิจดีขึ้นก็จะกลับมาทำเหมือนเดิมและที่ผ่านมามีการหยิบยืมเงินมาทำฟาร์มโคนม ตามมาตรฐานการเลี้ยง จึงจะสามารถเลี้ยงได้ และการให้อาหารการเลี้ยงดู ต้องเลี้ยงตามขั้นตอนที่ทางสหกรณ์แนะนำ เพื่อให้ได้น้ำนมดิบตามคุณภาพจะได้ขายได้ราคา ก็ต้องใช้วัตถุดิบอย่างดี ต้นทุนต้องใช้ตามคำแนะนำจึงจะได้น้ำนมดิบคุณภาพตามราคาที่ประกาศ”

© 2021 thairemark.com