Saturday, 2 November 2024 - 3 : 08 pm
kanda_002
OIC_001
data-no-lazy="1"
kanda_002
OIC_001

มะระขี้นกพารวยแปรรูปขายกก.ละ220บาท

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรชาววัง ต.วังท่าช้าง อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี รวมกลุ่มปลูกมะระขี้นก ส่งขายโรงงานแปรรูปทำยาทางโรงงานรับซื้อผลมะระขี้นกสดราคา กก.15 บาท ตากแห้งรับซื้อกิโลกรัมละ 220 บาท ซึ่งตลาดต้องการมะระขี้นกจำนวนไม่อั้น

น.ส.หนึ่งฤทัย อาจยางคำ เจ้าของฟาร์ม ศักดิ์-อุบลฟาร์ม บอกว่า กลุ่มเกษตรกรชาววัง รวมตัวกันปลูกมะระขี้นกเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดที่รับซื้อในราคาสูง โดยสมาชิกกลุ่มเกษตรกรจะต้องมีที่ดินปลูกมะระขี้นกแบบอินทรีย์ ปราศจากการใช้สารเคมีโดยเด็ดขาด ก่อนปลูกจะมีการตรวจคุณภาพดินว่ามีสารตกค้างของสารเคมีหรือไม่ หากพื้นที่ใดพบว่าสารเคมีอยู่ในดินจะไม่ให้ปลูกมะระขี้นกโดยเด็ดขาด

น.ส.หนึ่งฤทัย บอกกว่า สำหรั ศักดิ์-อุบลฟาร์ม แบ่งที่ดินปลูกมะระขี้นกครั้งแรก 4 ไร่ และเตรียมขยายพื้นที่ปลูกอีกเป็นระยะๆเพื่อให้ทันต่อการป้อนส่งโรงงาน โดยมะระขี้นกอายุ 26 วันจะออกลูกและเก็บได้เมื่อมีอายุ 48 วัน และทยอยเก็บได้ 2 เดือนต่อหนึ่งรุ่น การเก็บมะระขี้นกจะเก็บตอนเช้าถึงเที่ยง จากนั้นก็จะนำมะระขี้นกมาล้างน้ำและใส่ตะกร้าเข้าเครื่องตัด จะตัดเป็นชิ้นๆแนวเฉียง หลังจากตัดมะระเป็นชิ้นๆแล้วนำใส่ตะกร้าไปตากแดดไว้ 2 แดด จากนั้นบรรจุใส่ถุงส่งโรงงานนำไปแปรรูปเป็นตัวยาต่อไป

สภาพแวดล้อมในการผลิต มะระขี้นก ดินสามารถขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิด แต่ดินที่ปลูกได้ผลดีที่สุด คือ ดินร่วนปนทราย ซึ่งมีการระบายน้ำดี ความเป็นกรดเป็นด่างของดินเป็นกรดเล็กน้อยถึงปานกลาง แสงแดด ชอบแสงแดดเต็มที่ตลอดวัน ความชื้น ในดินสูงสม่ำเสมอเพียงพออุณหภูมิช่วงที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง18 – 25 องศาเซลเซียส สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี

การเตรียมดิน แปลงปลูก มะระขี้นกเป็นผักที่มีระบบรากลึกปานกลาง ควรไถดินลึกประมาณ 20 – 25 เซนติเมตร ตากดินทิ้งไว้ 7 – 10 วัน ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้วเข้าไปให้มาก เพื่อปรับปรุงสภาพทางกายของดิน แล้วยกร่องเล็ก ๆ ยาวไปตามพื้นที่่ระบบปลูก นิยมระบบแถวคู่ระยะปลูก ระยะที่เหมาะสมคือ ระยะระหว่างต้น 50 – 75 เซนติเมตร และระยะระหว่างแถว 1 เมตร

วิธีปลูกและการปฏิบัติดูแลรักษา หยอดเมล็ดโดยตรงลงในแปลง หลุมละ 3 – 4 เมล็ด ลึกลงไปในดินประมาณ 2.5 – 3.5 เซนติเมตร ลบด้วยปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมักที่สลายตัวแล้ว หรือดินผสม รดน้ำให้ชุ่ม คลุมฟางแห้งหรือหญ้าแห้งที่สะอาดให้หนาพอควร เมื่อต้นกล้ามีใบจริง2 ใบ ถอนแยกต้นที่อ่อนแอไม่สมบูรณ์ทิ้ง เหลือไว้หลุมละ 2 ต้นเมื่อมะระเริ่มเลื้อยหรือต้นมีอายุประมาณ 15 วัน

ควรทำค้างเพื่อให้ต้นเลื้อยเกาะขึ้นไป อาจทำได้ 2 แบบ คือ แบบที่ 1 ปักไม้ค้างยาวประมาณ 2 – 2.5 เมตร ทุก ๆ หลุมแล้วเอนปลายเข้าหากัน ผูกมัดปลายไว้ แล้วใช้ไม้ค้างพาดขวางประมาณ 2 – 3 ช่วง

แบบที่ 2 ปักไม้ค้างยาวประมาณ 2 – 2.5 เมตร ทุก ๆ ระยะ 1.5 – 2 เมตร ขนานกับแถวปลูก ใช้เชือกผูกขวางทุก ๆ ระยะ 30 เซนติเมตร รวมทั้งผูกทะแยงไปมาด้วย

การรดน้ำ รดเช้า-เย็น ควรให้อย่างสม่ำเสมอ แต่ไม่ถึงกับเปียกแฉะ ไม่ควรขาดน้ำ โดยเฉพาะช่วงออกดอกติดผล

การพรวนดิน กำจัดวัชพืช ควรปฏิบัติในระยะแรก เมื่อต้นยังเล็กอยู่ เพื่อไม่ให้วัชพืช ระวังอย่าให้กระทบกระเทือนถึงระบบราก

ประโยชน์ทางยา ลดน้ำตาลในเลือด รักษาโรคเบาหวาน หั่นเนื้อมะระตากแห้งชงน้ำดื่ม ถ้าต้องการกลบรสขมให้เติมใบชาลงไปด้วยขณะที่ชง ดื่มต่างน้ำชา นอกจากนี้น้ำต้มผลมะระ สามารถลดการเกิด ต้อกระจก ซึ่งเป็นอาการข้างเคียงในคนที่เป็นโรคเบาหวานได้

รักษาโรคเอดส์ต้านเชื้อ HIV (ไมตรี, 2542) ใช้ผลอ่อนทำเป็นน้ำคั้น หรือบดเป็นผงใส่แคปซูล หรือยาลูกกลอน การใช้น้ำคั้นจากผลดื่มได้ผลดีกว่ากินสดหรือต้ม แต่การสวนทวารด้วยน้ำคั้นมะระจะได้ผลดีกว่าการดื่ม เพราะสารสำคัญ MAB 30 เป็นสารโปรตีนที่จะถูกทำลายโดยกรดและน้ำย่อยอาหารในกระเพาะอาหารได้

ฤทธิ์ต้านมะเร็ง (แสงไทย, 2544) สารสำคัญที่ออกฤทธิ์ต้านมะเร็ง คือ guanylate cyclase inhibitor สกัดได้จากผลสุก MAB 30 สกัดจากเนื้อผลสุกและเมล็ด momorchrin สกัดจากเมล็ด ผลและเมล็ดต้มน้ำดื่ม ช่วยเจริญอาหาร ใช้เนื้อของผลที่ยังไม่สุกไม่จำกัดจำนวน ใช้ประกอบเป็นอาหาร ผักจิ้ม ต้ม แกง ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ ใช้ใบสดมะระขี้นก 20-30 ใบ หั่นใบชงด้วยน้ำร้อนเติมเกลือ เล็กน้อย ช่วยกลบรสขม ดื่มแต่น้ำ ใช้ได้ดีสำหรับถ่ายพยาธิเข็มหมุด นอกจากนี้ยังใช้เมล็ด 2-3 เมล็ด

รับประทานขับพยาธิตัวกลมทำให้อาเจียน ใช้เถาสด 1/3 กำมือ หรือ 6-20 กรัม เติมน้ำพอท่วมต้มให้เดือด 5-10 นาที ดื่มแต่น้ำรักษาชันนะตุและศีรษะเป็นเม็ดผื่นคัน ใช้ผลสดที่ยังไม่สุกหั่นเนื้อมะระแล้วตำคั้นเอาแต่น้ำ เติมดินสอพองลงในพอสมควร ใช้ทาบริเวณที่เป็นชันนะตุ (ดารณี, 2544)เป็นยาแก้ไข ใช้ผลมะระต้มน้ำแล้วดื่ม อาการตัวร้อนจะหายไป แก้ไข้ที่เกิดจากกระทบความร้อน ใช้ผลสด 1 ผล ควักไส้ในออกใส่ใบชาเข้าไปแล้วประกบกันนำไปตากให้แห้งในที่ร่ม รับประทานครั้งละ 6-10 กรัม

โดยต้มน้ำดื่มหรือชงน้ำดื่มต่างชา ก็ได้แผลสุนัขกัด ใช้ใบสดตำพอกแก้ปวดฝี ใช้ใบแห้ง บดเป็นผงชงเหล้าอื่น แก้ฝีบวมอักเสบใช้ใบสดตำคั้นเอาน้ำทาบริเวณที่เป็นหรือใช้รากแห้งบดเป็นผงผสมน้ำพอก แก้ปวดฟัน ใช้รากสดตำพอก แก้คัน แก้หิด และโรคผิวหนังต่างๆ ใช้ผลแห้งบดเป็นผง ใช้โรยแผลแก้คันหรือทำเป็นขี้ผึ้ง ใช้ทาแก้หิดและโรคผิวหนังต่างๆ

© 2021 thairemark.com