Wednesday, 24 April 2024 - 5 : 30 pm
kanda_002
OIC_001
data-no-lazy="1"
kanda_002
OIC_001

ส่องอาชีพภูมิปัญญาชาวบ้านนครพนมนักล่าจั๊กจั่นบนยอดไม้สูงสร้างรายได้วันละพัน

ในช่วงนี้ถึงแม้หลายพื้นที่จะได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้ง ไม่สามารถทำการเกษตรสร้างรายเสริม แต่สำหรับชาวบ้านที่ จ.นครพนม กลับมีอาชีพหาของป่าฤดูแล้ง ถือว่าเป็นโอกาสทอง เนื่องจากเป็นช่วงฤดูกาลของ จั๊กจั่น อาหารป่าหายาก 1 ปีมีครั้งเดียวจะสามารถออกล่านำมาขาย สร้างรายได้ ประกอบเมนูเด็ดอีสาน เช่นเดียวกันกับชาวบ้าน ในพื้นที่ ต.ปลาปาก อ.ปลาปาก จ.นครพนม ถือเป็นอีกหมู่บ้านชาวบ้านส่วนใหญ่ จะมีอาชีพล่าจั๊กจั่นในช่วงฤดูแล้ง ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี จนถึงฤดูฝนมาเยือนโดยทุกเช้าจะเดินทางเข้าป่า ไปล่าจั๊กจั่น ที่อยู่ตามต้นไม้สูงป่าเต็งรัง เนื่องจากเป็นที่อยู่อาศัยของ จั๊กจั่น ตามธรรมชาติ

การล่าจักจั่นถือว่าเป็นอาชีพภูมิปัญญาชาวบ้าน ที่สืบสานกันมาจากรุ่นสู่รุ่น โดยจะมีการนำยางไม้ คือ ยางต้นโพธิ์ ผสมกับยางต้นมะเดื่อ ทำให้เกิดความเหนียว นำมาใส่กระบอกไม้ไผ่ ใช้ไม้พันกับยางที่เหนียวได้ที่ และเสียบกับไม้ไผ่ ยาวประมาณ 10 เมตร เพื่อนำเป็นอุปกรณ์ล่าจั๊กจั่น ที่เกิดจากความชำนาญตามภูมิปัญญาชาวบ้าน สังเกตจากเสียง และใช้ความชำนาญจากสายตา เมื่อพบเห็นจั๊กจั่น จะใช้ความชำนาญ นำยางไม้ติดปีกจั๊กจั่นทีละตัว ที่ต้องมีความพยายาม สายตาต้องดี และมีความชำนาญสูง ส่วนราคาซื้อขาย ตกตัวละประมาณ 1 -2 บาท บางรายมีความสามารถสูง สามารถสร้างรายได้วันละ 500 -1,000 บาท

อย่างไรก็ตาม ในช่วงนี้ พบว่าตามตลาดสด และตลาดของป่าในพื้นที่ อำเภอต่างๆ คึกคักไปด้วย พ่อค้า แม่ค้ามารับซื้อ จั๊กจั่นมาวางจำหน่าย สร้างเงินหมุนเวียนสะพัดปีละครั้ง เนื่องจากเป็นเมนูหายาก 1 ปีมีครั้งเดียว เพราะจั๊กจั่นแต่ละตัวมีวัฏจักรวงจรชีวิต ตั้งแต่วางไข่อาศัยอยู่ใต้ดินกว่าจะขึ้นมาบนต้นไม้ ต้องใช้เวลา ประมาณ 5 – 7 ปี ทำให้ชาวบ้าน นิยมนำไปปรุงเป็นเมนูอาหารป่ารสเด็ด สามารถนำไปตำป่น ใส่เครื่องเคียง หัวหอม ต้นหอม มะม่วงรสเปรี้ยว รวมถึงนำไปคั่ว ทอด แกงใส่ผักหวาน ได้สารพัดเมนู ตามความชอบ กินได้ทั้งสุกและดิบ ยิ่งหากขึ้นร้านอาหารอีสาน ตกราคาจานละ 200 -300 บาท นับวันยิ่งหายาก เพราะบางรายมีการขุดไข่จั๊กจั่น และตัวอ่อน มาขายราคาดี

นายเกษา คำวัน อายุ 39 ปี ชาวบ้านหนองบัว ต.ปลาปาก อ.ปลาปาก จ.นครพนม เปิดเผยว่า อาชีพล่าจั๊กจั่น ถือเป็นอาชีพภูมิปัญญาชาวบ้าน ที่สืบทอดมาจากรุ่นสู่รุ่น สร้างรายได้เสริมในช่วงฤดูแล้ง ไม่ไม่สามารถทำการเกษตรได้ จึงออกหาของป่า รวมถึงล่าจั๊กจั่น ที่อาศัยอยู่ในป่าเต็งรัง ตามไร่นาและป่าชุมชน จะหาได้มากในปีที่มีความอุดมสมบูรณ์ไม่แห้งแล้ง เนื่องจากวัฏจักรของจั๊กจั่น ในช่วงฤดูแล้งตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ทุกปี ก่อนถึงฤดูฝน จะฟักตัวขึ้นมาจากใต้ดิน ขึ้นมาลอกคราบตามต้นไม้ เพื่อออกมาผสมพันธุ์ และวางไข่บนต้นไม้ ก่อนตกลงในพื้นดินตามธรรมชาติ และอาศัยอยู่ในดินในช่วงฤดูฝน ตามธรรมชาติ

จากข้อมูลพบว่า แต่ละตัวใช้เวลาการฟักตัวจากไข่ ก่อนจะออกมาเป็นตัว ใช้เวลา 5 – 7 ปี หมุนเวียนเป็นวงจรชีวิต ทำให้นับวันยิ่งหายาก ส่วนการล่าต้องใช้ความชำนาญพอสมควรเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่นำยางไม้ ต้นโพธิ์กับต้นมะเดื่อ และยางไม้ที่ปลอดสารพิษ มาเป็นอุปกรณ์ในการล่า ด้วยการนำมาพันกับปลายไม้ไผ่ยาวประมาณ 10 เมตร เพื่อนำไปติดกับปีกจั๊กจั่น ที่อยู่บนต้นไม้ ต้องใช้ความชำนาญเป็นพิเศษ และสายตาต้องดี ถึงจะมองเห็น เพราะตัวจั๊กจั่น จะพรางตัวคล้ายกับเปลือกไม้ จะต้องออกไปล่าแต่เช้า เพราะจักจั่น จะอยู่ตามโคลนต้นไม้ พอสายมาจะขึ้นที่สูงหากใครชำนาญ จะสามารถหาได้วันละ 500 -1,000 ตัว มีราคาซื้อขายตัวละ 1 -2 บาท ถือเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ดีพอสมควร ถึงจะหายากแต่คุ้มดีกว่าไปทำงานรับจ้าง ส่วนใหญ่จะนำไปขาย และนำมาปรุงเป็นเมนูกินเองบางส่วน

สำหรับ เมนูเด็ด ทำได้ทั้งดิบและสุก ก่อนประกอบอาหารจะนำมาเด็ดปีกออกก่อน นำมาตำป่น ใส่มะม่วงเปรี้ยว รวมถึงนำไปคั่ว ทอด แกง ตามความชอบ ถือเป็นเมนูหายากหนึ่งปีมีครั้งเดียว และเป็นของป่าที่สร้างรายได้ดีพอสมควร

ข่าว/ภาพ : พัฒนพงษ์ ศรีเพียชัย ผู้สื่อข่าวจังหวัดนครพนม

© 2021 thairemark.com