Friday, 26 April 2024 - 6 : 54 am
kanda_002
OIC_001
data-no-lazy="1"
kanda_002
OIC_001

แรงงานกรีดยาง เริ่มทิ้งสวนยางภาคใต้ อพยพหางานอื่นทำเหตุรายได้ไม่คุ้มค่าใช้จ่าย

แนวโน้ม “กรีดยาง”วิกฤติ ขาดแคลนแรงงานสวนยาง พบปัจจัยรอบด้านเริ่มทิ้งสวนยาง รายได้ไม่สมดุลรายจ่ายยางโรคใบร่วง ปุ๋ยราคาสูง เข้าหน้าฝน น้ำยางหดตัวครึ่งจอกต่อต้น

นายประยูรสิทธิ์ คณานุรักษ์ กรรมการเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางระดับประเทศ การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เปิดเผยว่า ภาวะยางในภาคใต้ตอนล่าง ขณะนี้ 1. วันกรีดน้อยลงเพราะเข้าฤดูฝน 2. ยางเกิดโรคใบร่วงน้ำยางหดตัวมาก 3. สวนยางไม่ได้ใส่ปุ๋ยบำรุง เพราะปุ๋ยราคาปรับตัวสูง ส่งผลให้ปริมาณยางจึงออกสู่ตลาดน้อย

ะสำหรับการใช้ยางเพื่ออุตสาหกรรม อุตสาหกรรมยานยนต์ ก็ไม่น่าจะดรอปมากนัก แต่ทางด้านกำลังการผลิตถุงมือยาง ที่มีความต้องการใช้ยางน้ำสดน้อยลง เพราะสถานการณ์โรคโควิด 19 ได้คลี่คลายลง การใช้ถุงมือยางก็ลดกำลังการผลิต การใช้น้ำสดก็น้อยลง

กลุ่มเกษตรกรชาวสวนยาง เปิดเผยว่า ภาวะยางตอนนี้ประสบปัญหา โรคใบร่วงส่งผลให้น้ำยางสดหดตัวไปประมาณครึ่งถ้วยหรือ 50 เปอร์เซ็นต์ 2. ปุ๋ยราคาสูงไม่ได้ใส่ปุ๋ยส่งผลให้น้ำยางหดตัวเช่นกันและ 3. เริ่มเข้าสู่ฤดูฝนวันกรีดยางน้อยลง

และตอนนี้แรงงานยางเริ่มทยอยออกจากแรงงานกรีดยาง โดยเฉพาะพื้นที่สวนยางบนลูกควน ภูเขา เพราะพื้นที่ไม่สะดวกจากรายได้ไม่คุ้มกับรายจ่าย จึงหันไปประกอบอาชีพอื่น จะส่งผลต่อยางและเจ้าของสวนยางที่ยางจะขาดไปและรายได้หดหายไปด้วย

ตอนนี้ชาวสวนยางในกลุ่มต่างหารือกัน และต่างปรับลดสวนยางรณรงค์ทำสวนผสม โดยเฉพาะตอนนี้ปลูกหมากทดแทนทั้งปลูกแซมและเชิงเดี่ยว และปลูกหมากมองเห็นว่าตอนนี้ การตลาดยังไม่น่าเสี่ยงเพราะยังไม่มีการผูกขาดจากประเทศอินเดีย และประเทศจีน ฯลฯ และมีโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปหมาก มาลงตั้งในประเทศไทยพื้นที่หลายโรงงาน จ.พัทลุง จ.สงขลา ยะลา และ จ.ระยอง อีกทั้งหมากต้นทุนการผลิตต่ำต้นทุนเวลาต่ำ และปลูกแซมได้ทุกพื้นที่

© 2021 thairemark.com