Wednesday, 4 December 2024 - 12 : 47 am
kanda_002
OIC_001
data-no-lazy="1"
kanda_002
OIC_001

ปปส.ปรับกระบวนทัพปราบยาเสพติด ยึดโมเดล ‘ซีลชายแดน’ ทั่วประเทศ

ปัญหา ยาเสพติด”  ถือว่าเป็นปัญหาสำคัญที่มีการหยิบยกขึ้นมาจากทุกฝ่ายให้เป็น วาระแห่งชาติที่ต้องระดมสมอง ความสามารถ  และความพร้อมด้านงบประมาณ กำลังพล ในการดำเนินการป้องกันและปราบปรามอย่างจริงจัง  

สำนักงาน คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด องค์กรที่เป็นแกนกลางในการแก้ไขปัญหานี้  ตระหนักดีถึงปัญหาด้านนี้ จึงมีวิสัยทัศน์ สำคัญในการแก้ไขปัญหาด้านนี้  ด้วยการตั้งเป้าหมายเพื่อสร้างสังคมที่ปลอดภัยจากยาเสพติด และพัฒนากลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพในการป้องกัน ปราบปราม และบำบัดฟื้นฟู โดยได้วางแนวทางไว้ 

“ถอยหลังครึ่งก้าว หนุน 28 หน่วยงาน” 

พลตำรวจโท ภาณุรัตน์ หลักบุญ เลขาธิการ สำนักงาน คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ปปส.) กล่าวว่า  “การขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ที่ผ่านมาประกอบด้วย 26 หน่วยงาน 26 หน่วยงานขึ้นกับ 8 กระทรวง ส่วนอีก 2 คือ ตำรวจและ ปปง.ขึ้นตรงกับท่านนนายกฯ ในประมวลกฎหมายป้องกันและปรามยาเสพติดเดิม ปี 2564  กำหนดบทบาทให้ปปส. เป็นหน่วยงานประสานงานติดตาม ประเมินผล  ถือว่าเป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด  จึงทำให้ ปปส.อยู่ข้างหน้า  หน่วยงานที่เหลือจะอยู่แถวหลังซ้ายขวา จึงทำให้ ปปส.ต้องคิดอ่านในการแก้ไขปัญหานี้ ด้วยตัวเอง เพราะถือว่าเป็นตัวหลักในการดำเนินการ  ไม่ค่อยได้ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เหลือ ทำให้ต้องมีการประเมินผลว่า เหตุใดการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ จึงไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร”  เลขาฯปปส.กล่าว 

ทางปปส.จึงต้องถอยหลังกลับมาครึ่งก้าว เพื่อให้อยู่ทัดเทียมกับ หน่วยงานที่เหลือ ซ้ายขวา ไม่มีใครอยู่ล้ำหน้าใครอีกต่อไป นั่นคือ เน้นทางการทำงานร่วมกันมากขึ้น ไม่มีใครเป็นหน่วยงานหลักอีกต่อไป เน้นมาที่การบูรณาการ และความร่วมมือหลักร่วมกัน  ปปส.ในฐานะคนกลาง ก็จะเอามือยาว ๆ ไปโอบหน่วยงานซ้ายขวา หากพบว่า องค์กรหรือหน่วยงานใด ขับเคลื่อนไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ก็จะใช้มือยาวๆ โอบเข้าไป ถามว่า มีข้อติดขัดอย่างไร

ดังนั้น ปปส.จึงต้อปรับวิสัยทัศน์ การทำงานของตัวเอง ให้เป็นผู้ประสานงาน ติดตามประเมินผล

เลขา ปปส. เมื่อพูดถึง มาตรการหลักของรัฐบาลในทุกชุดที่ผ่านมา จนถึงตอนนี้ เกี่ยวกับการป้องกันและปรามยาเสพติด คือการป้องกัน  ปราบปราม  ยึดทรัพย์สิน  การบำบัด ความร่วมมือระหว่างประเทศ  การบริหารจัดการ ด้านงบประมาณ  ปปส.จึงมีหน้าที่ประสานงานติดตามประเมินผล ในมาตรการที่กล่าวมา  ขณะที่ปปส.มีคนอยู่เพียง 1,600 คน ที่เป็นเจ้าหน้าที่และลูกจ้างประจำ จึงมีบทบาทหลักเป็นเสนาธิการในการป้องกันและปรามยาเสพติดนั่นเอง 

“ที่ผ่านมาเมื่อมีการประชุม บอร์ด ปปส.  โดยผมเป็นเลขานุการของบอร์ดปปส.นั้น ตามวิสัยทัศน์เดิมพบว่า จะเป็นการสั่งการลงไป แต่ยังขาดการประสานติดตามประเมินผลที่ดี จึงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนวิสัยทัศน์”

ให้ประชาชนมีจิตสำนึกร่วมแก้ไขปัญหา

เราเข้าใจร่วมกันมานานแล้วว่า ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาทางด้านสังคม ไม่ใช่เป็นปัญหาทางด้านความมั่นคง  การใช้มาตรการรุนแรงเข้ามาจัดการ   ถ้าใช้อำนาจบังคับบัญชา สั่งการลงมาแต่ละขั้นเหมือนเดิม จึงไม่ได้ผล  เราต้องอาศัยการประสานเข้าแก้ไขและรับรู้ปัญหาทางด้านสังคม ด้วย

“ต้องพยายามให้ประชาชน มีจิตสำนึกด้วยว่า ปัญหายาเสพติด ไม่ใช่เป็นปัญหาของภาครัฐ ฝ่ายป้องกัน และปราบปรามเท่านั้น แต่อยู่ที่ประชาชนทุกคนที่ต้องเข้ามามีส่วนร่วมด้วย  ซึ่งต้องใช้เวลาอยู่พอสมควร”

ในการประชุมร่วมกับบอร์ด ปปส. ที่มีท่านอดีตนายกฯ เศรษฐา ทวีสิน จึงเรียนท่านว่า ใช้วิธีการดำเนินการแบบเดิม ไม่ได้อีกแล้ว จะต้องนำเอา จังหวัดกลุ่มเป้าหมายหลักประมาณ 25 จังหวัดที่มีปัญหาด้านนี้มากที่สุด มานั่งคิดนั่งทำงานร่วมกัน ไม่ใช่การสั่งการแบบเดิม ๆ 

“ท่านนายกฯ เศรษฐา จึงให้ผมเป็น ผู้อำนวยการ คณะทำงาน ของศูนย์ปฏิบัติการ เร่งรัดการแก้ไขปัญหายาเสพติดใน 25 จังหวัด  จึงได้มีการเร่งรัดแก้ไขปัญหายาเสพติดกับท่านผู้ว่าฯ ทุกวันอังคาร  มีการกำหนดตัวชี้วัดให้ทุกองค์กร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง”

 เมื่อทำครบ 3 เดือน ทางสำนักงานสถิติแห่งชาติ ซึ่งเป็นหน่วยงานกลางที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดแต่อย่างใด ได้จัดสำรวจความคิดเห็นประชาขนใน 25 จังหวัด เกี่ยวกับการป้องกัน และปราบปรามยาเสพติด ว่าสถานการณ์เป็นอย่างไร พบว่าประชากรส่วนใหญ่ กล่าวว่า สถานการณ์ดีขึ้น ปัญหาลดลง

เมื่อ นายกฯ แพทองธาร มาดำรงตำแหน่ง ก็ประชุมร่วมกับบอร์ด ปปส. มาแล้ว 2  ครั้ง ก็มีรายงานว่า แหล่งผลิต ยาเสพติด ไม่ได้อยู่ในเมืองไทย เราไม่สามารถแทรกแซงเมียนมาร์ได้ เพราะมีปัญหาชนกลุ่มน้อยมาก ที่ ไทยสามารถทำได้คือการ บล็อกชายแดน  จะทำอย่าง อเมริกาที่สร้างกำแพง ล้อมรอบไม่ให้คนอพยพจากเม็กซิโกข้ามชายแดนคงไม่ได้ 

เราจึงต้องใช้ประมวลกฎหมาย ป้องกัน ปราบปรามยาเสพติดมาตรา 5 วงเล็บ 10 ให้มีการซีล ชายแดน ซึ่งต่างคนต่างทำในอดีต ให้มีบูรณาการในเรื่องนี้ร่วมกัน มีเอกภาพในการบังคับบัญชา โดยให้ทหารรับเรื่องนี้ไป อาศัยเทคโนโลยี ยุคใหม่ เช่นโดรนบินตรวจสอบ แทนที่จะใช้คนเดินตรวจเหมือนอดีต เมื่อมีเครื่องมือให้กับทางทหาร จึงจับยาบ้า ยาเสพติดมากขึ้น เป็น 900 ล้านเม็ดในปีนี้

ยึดโมเดล “ซีลชายแดน” ทั่วประเทศ

ในช่วงนี้ที่ท่านนายกฯ แพทองธารขึ้นมา ก็มีการซีลชายแดนเพิ่มเติมคือที่ท่าสองยาง แม่ระมาด อุ้มผาง  เป็น 13 จังหวัด 51 อำเภอ  คือ ตาก แม่ฮ่องสอง เชียงใหม่ เชียงราย น่าน พะเยา เลย หนองคาย บึงกาฬ  นครพนม มุกดาหาร อำนาจ เจริญ อุบลราชธานี 

“ต่อไปจะเอาโมแดลนี้ ไปทำให้ครบทั้ง 72 จังหวัด  จะเป็นการแก้ไขปัญหาให้เข้ากับแต่ละจังหวัดที่มีข้อแตกต่าง ไม่ใช่แบบการแก้ไขแบบเหมารวมที่ผ่านมา”

ปีนี้ ปปส.ได้งบเพิ่มเติมจากปีที่ผ่านมา ๆ ได้เป็น 351 ล้าน  ปปส.จะเป็นผู้ประสานด้านงบประมาณ ในการป้องกันและปราบปรามด้วย  หาก จังหวัดขาดงบไปบ้าง เราก็พร้อมจะเติมให้   แต่ต้องชี้ช่องไปก่อนว่า จะไปรับงบเพิ่มเติมที่ใด

ประการหนึ่งที่สำคัญที่พยายาม เรียนให้ผู้ว่าฯ แต่ละจังหวัดได้ทราบคือ  ผู้ว่าต้องร่วมทำงานกับนายก อบจ.ของแต่ละจังหวัดอย่างมีบูรณาการคือ ต่างฝ่ายต่างเข้าใจกัน ผู้ว่าอาจต้องถอยบ้าง เพราะนายกฯ อบจ. มาจากการเลือกตั้ง และเป็นผู้ที่ถืองบประมาณอยู่ด้วย

© 2021 thairemark.com