Wednesday, 15 January 2025 - 4 : 47 pm
kanda_002
OIC_001
data-no-lazy="1"
kanda_002
OIC_001

ก่อสร้างภาครัฐแห่ดูดงบฯท่ามกลางวิกฤติจัดสรรให้ทัพเรืออีก 400 ล้านสายไฟ้ลงดิน

โครงการนำสายไฟลงดินของกองทัพเรือโผล่อีก 400 กว่าล้านบาท หลังยอมถอดถอนงบเรือดำน้ำจากกระแสคัดค้านของประชาชน ขณะที่โครงการจัดจ้างหลายหน่วยงานของภาครัฐยังคงยื่นประมูลช่วงชิงงบกลางกันฝุ่นตลบ สำนักวิเคราะห์เศรษฐกิจในต่างประเทศ คาดปีนี้โตติดลบ และหากสถานการณ์ยังเป็นแบบนี้เศรษฐกิจปีหน้าหมดหวังฟื้นตัว ขณะที่ยอดคงค้างหนี้ครัวเรือนของไทยขยับขึ้นมาอยู่ที่ 14.13 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 90.5% ต่อจีดีพี สูงสุดในรอบ 18 ปีหลังจากที่ก่อนหน้านี้กองทัพเรือได้ถูกคัดค้านจากสังคม ในการซื้อเรือดำน้ำจากประเทศจีน ที่ต้องจ่ายในปีงบประมาณ 2565 จนในที่สุดก็ต้องถอดถอนออกไป

รายงานล่าข่าวระบุว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้กองทัพเรือได้จัดเสนอทำโครงการนำสายไฟลงดินเพื่อส่งเสริมสภาพพื้นที่สำหรับเมืองการบินภาคตะวันออก และคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 6 ก.ค.2564 ได้มีมติอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เพิ่มเติม งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงิน 451.36 ล้านบาท ให้กองทัพเรือ (ทร.) เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการนำสายไฟลงใต้ดินเพื่อส่งเสริมสภาพพื้นที่สำหรับเมืองการบินภาคตะวันออก (โครงการฯ) ในส่วนของงานจ้างนำสายไฟลงใต้ดิน จำนวน 3 เส้นทาง ตามที่กระทรวงกลาโหม (กห.) เสนอ ประกอบด้วย1. ปากทางเข้าสนามบินนานาชาติอู่ตะเภา

  1. แยกวงเวียนอู่ตะเภา
  2. แยกอู่ราชนาวีมหิดล รวมระยะทางทั้งสิ้น 5.2 กิโลเมตร
    ซึ่งงบดังกล่าวอยู่ภายใต้การบริหารของนายกรัฐมนตรี ในปี 2564 ที่จัดสรรไว้ถึง 6 แสนล้าน มีวัตถุประสงค์เพื่อไว้ใช้ในกรณีที่วิกฤติฉุกเฉิน หรือจำเป็นเท่านั้น เช่นกรณีสถานการณ์โควิด- 19 ในขณะนี้
    ก่อนหน้านี้รัฐบาลออกมาเปิดเผยว่า มีเงินหน้าตักใช้เพื่อแก้สถานการณ์โควิดไม่มาก และในทางการเมืองก็เรียกร้องให้มีการพิจารณาจัดสรรงบประมาณใหม่ โดยเฉพาะงบกลาง ซึ่งจากการตรวจสอบ ณ สิ้น ก.ค. งบกลางยังคงเหลืออยู่ราว 2 แสนล้านบาทเท่านั้น

แต่ปรากฎว่ามีโครงการจัดซื้อจัดจ้าง โดยเฉพาะงานก่อสร้างหลาย ๆ ของหน่วยงานภาครัฐยื่นขอประมูลเข้ามาเป็นจำนวนมาก และหนึ่งในนั้นก็คือ โครงการนำสายไฟลงดินของกองทัพเรือที่ครม.อนุมัติไป หลายฝ่ายจึงมองว่ามีความจำเป็นเร่งด่วนมากน้อยเพียงใด

สำนักวิเคราะห์เศรษฐกิจในต่างประเทศ ได้คาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจปี 2564 ของประเทศไทยน่าจะต่ำกว่า 0 % หรือติดลบ และหากสถานการณ์เป็นเช่นนี้ก็ไม่มีความหวังว่าปีหน้า เศรษฐกิจจะฟื้นตัวโดยเร็ว

ขณะที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้วิเคราะห์สถานการณ์หนี้ครัวเรือนของไทย มียอดคงค้างหนี้ครัวเรือนไทยในไตรมาส 1/2564 ขยับขึ้นมาอยู่ที่ 14.13 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 90.5% ต่อจีดีพี สูงสุดในรอบ 18 ปีตามสถิติที่มีการเก็บรวบรวมของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และสูงขึ้นต่อเนื่องจากระดับ 89.4% ต่อจีดีพี ในไตรมาสที่ 4/2563 โดยหนี้ครัวเรือนที่ขยับขึ้นในไตรมาส 1/2564 มาจากหนี้ใน 3 กลุ่ม ได้แก่ หนี้บ้าน หนี้ประกอบอาชีพ และหนี้เพื่อใช้จ่ายชีวิตประจำวัน
ข้อมูลอ้างอิง : http://www.phuketlocal.go.th/files/com_news_law/2019-10_ea4372f6817c38e.pdf
https://govspending.data.go.th/dashboard/3
:: ศูนย์ข้อมูลจัดซื้อ จัดจ้าง สอบราคา ประกวดราคา :: (navy.mi.th)

© 2021 thairemark.com