Friday, 27 December 2024 - 4 : 29 am
kanda_002
OIC_001
data-no-lazy="1"
kanda_002
OIC_001

เปิดใจ”หมอธีระวัฒน์”ปมงานเฝ้าระวังโรคอุบัติเหตุใหม่

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดใจก่อนเข้าให้การต่อคณะกรรมการสอบสวน ว่า ตนต้องชี้แจงกรณีทำให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อระบบ แต่ไม่ได้ระบุว่าจะสอบสวนประเด็นใด ซึ่งผิดปกติในการสอบสวน โดยได้ตั้งข้อสังเกตของการสอบสวนเนื่องจากได้ประกาศยุติการศึกษาการนำไวรัสจากสัตว์ป่า โดยเฉพาะของค้างคาวมาศึกษาต่อว่า มีแนวโน้มจะเข้ามนุษย์หรือไม่ ที่ผ่านมา ศูนย์วิทยาศาสตร์ฯ ที่ตนเป็นหัวหน้านััน ได้เข้าร่วมโครงการตั้งแต่ปี 2011 ผ่านความเห็นชอบจาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและคณะแพทยศาสตร์และตนเป็นผู้รับผิดชอบโครงการ ซึ่งได้ทุนวิจัยจากองค์กรต่างประเทศ และได้ยุติโครงการเมื่อปี 2020 การศึกษาที่ผ่านมาศึกษาเชื้อไวรัสที่ไม่ทราบชื่อ โดยนำมาถอดรหัสพันธุกรรมดูแนวโน้มว่าจะเกิดโรคได้หรือไม่ ไม่ได้เพาะไวรัสให้เพิ่มขึ้น ไม่ได้ตัดต่อพันธุกรรม และไม่ได้ส่งไวรัสเหล่านี้ไปต่างประเทศ และได้เริ่มที่จะทำลายเชื้อในปี2023 จากนั้น รพ.จุฬาฯ ได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนในเดือนกรกฎาคม ทั้งนี้ได้วางแผนในการทำลายตั้งแต่สิ้นสุดความร่วมมือกับสหรัฐในปี 2020 แต่ต้องรับผิดชอบในการตรวจโควิดเป็นจำนวนหลายหมื่นตัวอย่างตลอดจนโครงการสมองและลองโควิด

“มีการคาดการณ์จากผลของการสอบสวน อาจจะนำไปสู่การยุบศูนย์ฯ หรือตัวผมเองอาจจะถูกตัดสินให้ออกจากปฏิบัติการในคณะแพทย์ศาสตร์  รพ.จุฬาฯ  แต่เรื่องนี้ไม่ได้สำคัญเท่ากับประชาชนทุกคนต้องรับทราบความจริง”

มาถึงขั้นนี้ ที่จริงต้อขอขมาผมด้วย

ที่เราจำเป็นต้องยุติการศึกษาไวรัสจากค้างคาวและสัตว์ป่า ข้อสำคัญคือไม่เกิดประโยชน์ในการคาดคะเนว่าไวรัสใหม่ๆ นี้ ตัวใดจะก่อโรคในมนุษย์ และยังมีมีความเสี่ยงจากภารกิจ ทั้งในส่วนของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานภาคสนามที่ต้องเกี่ยวข้องกับค้างคาว และการทำงานในห้องปฏิบัติการ หนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์ได้ตีพิมพ์เผยแพร่ และต้องถือว่าองค์กร ของเรา เป็นหน่วยงานแรกๆ ที่ยุติบทบาทก่อนเพื่อน  ซึ่งมาหยุดภารกิจอย่างแท้จริงในปี2020 ที่ผ่านมา  ช่วงนั้น มีหลากหลายองค์กรที่พยายามเข้ามาผลักดันให้มีการนำเอาไวรัสจากค้างคาว ไปตัดแต่งพันธุกรรม อย่างเช่น Eco Health Alliance

ในปัจจุบัน ก็มีการกังขากันอยู่ว่า  องค์กรหน่วยงานระดับประเทศ หรือนานาชาติบางแห่ง ได้มีภารกิจในการนำไวรัสจากค้างคาวไปตัดแต่งพันธุกรรมใหม่หรือไม่ ซึ่งอาจส่งผลให้มีโควิดรอบต่อไปได้ ผมขอยืนยันว่า เมื่อจบสิ้นโครงการแล้ว  ศูนย์ของเราก็มีสิทธิ์ที่จะจัดการทุกประการที่เกี่ยวข้องกับโครงการ รวมถึงการทำลาย ตัวไวรัสค้างคาวที่มีการเก็บมาก่อนหน้า โดยไม่จำเป็นต้องขออนุมัติจากองค์กรใด หรือฝ่ายใดก็ตาม

นอกจากนั้นแล้ว ตัวอย่างไวรัสที่ได้มีการ Outsource ไปทำงานโดยกรมอุทยาน หรือฝ่ายวนศาสตร์  มีการระบุไว้อย่างชัดเจนว่า เมื่อภารกิจเสร็จสิ้น แล้วก็ต้องทำลายทิ้งให้หมด สถาบัน NIH สหรัฐ ได้ประกาศเป็นทางการแล้วว่า งดการสนับสนุนทุนที่จะให้มีการศึกษา ทำงานเกี่ยวกับไวรัสที่มาจากสัตว์ วารสารการแพทย์ของอังกฤษยืนยันว่าสถาบัน NIH  มีการหยุดการสนับสนุนแล้วแต่ถึงตอนนี้  หากองค์กรใดนำเรื่องนี้ไปทำการแบบลับๆ จะมีความเสียหายเกิดขึ้น และถูกเพ่งเล็งประณามจนถึงถูกสอบสวน

การกล่าวหา ฝ่ายที่ทำต้องตระหนักในสิ่งที่ทำก่อน  แต่ก็ดีใจ ที่มีเรื่องนี้ขึ้นที่ทำให้สาธารณะรับรู้เรื่องนี้ขึ้นมา  ทำให้ผมเสื่อมเสียมากไป ถึงตระกูลผมด้วย ทางทีมงานกฎหมายก็ดูเกี่ยวกับเรื่องนี้ บอกว่ายอมรับไม่ได้  ตอนนี้กลุ่มทำงานทางด้านโควิดติดตามเรื่อง การตัดแต่งพันธุกรรม  ยื่นหนังสือถึงคณบดีคณะแพทย์และให้ยุติบทบาทการสนับสนุนการนำไวรัสจากค้างคาวมาตัดต่อพันธุกรรมแล้ว ขอคำตอบเกี่ยวกับเรื่อง การยุบศูนย์ รวมถึงมีการนำเสนอไปยังกระทรวงสาธารณสุข ด้วย

การสอบสวนไม่ได้ระบุว่ามีประเด็นใดบ้าง ซึ่งผิดปกติของการสอบสวน แต่เชื่อว่าการตั้งคณะกรรมการสอบเกิดจากการที่ศูนย์ฯ ซึ่งตนเป็น  หัวหน้าได้ประกาศยุติการศึกษาเชื้อไวรัสจากค้างคาวว่า มีแนวโน้มจะเข้าในมนุษย์ได้หรือไม่ โดยที่ผ่านมาได้เริ่มเข้าร่วมโครงการตั้งแต่ปี 2011 ผ่านความเห็นชอบจาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและคณะแพทยศาสตร์ได้ทุนวิจัยจากองค์กรต่างประเทศ โดยตนถือเป็นผู้รับผิดชอบ จนกระทั่งตัดสินใจยุติโครงการเมื่อปี 2020 และได้ทำรายงานแจ้งไปทางคณบดีคณะแพทย์ศาสตร์ และรพ.จุฬาฯ เมื่อปี 2021 และแจ้งไปยังเครือข่ายขององค์การอนามัยโลก (WHO) จึงเชื่อมั่นว่ากระบวนการขั้นตอนการยุติการร่วมโครงการเป็นไปตามระเบียบ

ยุบ ความร่วมมือกับสหรัฐเพราะหวั่นไวรัสไปติดผู้คน

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าวว่า สาเหตุที่ต้องยุติการร่วมโครงการอีกประการที่สำคัญมากก็คือ ย้อนไปเมื่อปี 2019 มีการทาบทามจากองค์กรที่ชื่อว่า Eco health Alliance ที่ได้รับทุนมาจากสหรัฐอเมริกา องค์กรนี้ได้มาติดต่อ ว่าจะให้เราร่วมตั้งเป็นศูนย์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเราต้องนำไวรัสที่เก็บเอาไว้ก่อนหน้านี้ รวมถึงไวรัสที่ต้องเก็บใหม่ ส่งไปยังต่างประเทศ เพื่อศึกษาว่าไวรัสสามารถเข้าในมนุษย์ได้หรือไม่ หรือทำให้เกิดโรคหรือไม่ ซึ่งหากการศึกษาเข้าได้ไม่ดีก็จะมีการตัดต่อพันธุกรรมเพิ่มเพื่อมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งตรงนี้เป็นหลักฐานสำคัญที่เราตัดสินใจทำลายตัวอย่างทั้งหมดในปี  2023 โดยไม่กระทบกับตัวอย่างอื่นในการศึกษาวิจัยที่ไม่อันตราย เพราะเราไม่พบประโยชน์ในการคาดคะเนว่าเชื้อจะเข้ามนุษย์ได้หรือไม่ จากงานที่ทำตั้งแต่ปี 2011 อีกประการคือ ความสุ่มเสี่ยงที่จะติดเชื้อในขณะที่ลงพื้นที่นำเชื้อมาศึกษา รวมถึงการติดเชื้อในห้องปฏิบัติการ ซึ่งเป็นความกังวลว่าอาจจะมีการติดเชื้อในชุมชนและทั่วไปได้ ต่อมาเราก็ได้ทราบว่า รพ.จุฬาฯ ได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวน

“ต้องถามว่าการกระทำในลักษณะนี้เป็นการป้องกันอันตรายอย่างเข้มงวดไม่ให้เกิดการระบาดในประเทศไทย เราไม่ต้องการให้มีการระบาดแบบอู่ฮั่น 2 ซึ่งขณะนี้พบความเชื่อมโยงการเกิดโควิด 19 จากเครือข่ายเหล่านี้ โดยการให้ทุนของสหรัฐฯ กับประเทศต่างๆ รวมถึงสถาบันวิจัยไวรัสในอู่ฮั่น และหลังจากที่ประเมินแล้ว โควิด 19 นั้นไม่มีหลักฐานยืนยันได้ว่าเกิดขึ้นจากธรรมชาติ แต่หลักฐานทั้งหลายพุ่งตรงไปที่มีการตัดต่อพันธุกรรมและหลุดออกมาจากห้องปฏิบัติการ เรื่องนี้ผมไม่ได้พูดเองแต่เป็นเรื่องของการสืบสวนจากสภาคองเกรส ซึ่งเป็นที่รับทราบในสื่อมวลชนทั้งหลาย ขณะเดียวกันก็มีการสอบสวนบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องในเรื่องนี้ซึ่งเป็นบุคคลในองค์กรที่ให้ทุนเรา” ศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าว

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าวว่า หลังจากทำลายตัวอย่างเหล่านี้หมด ก็ยังมีการติดต่อมาขอตัวอย่าง ทำให้เราตั้งข้อสังเกตว่าอาจจะมีการเอาตัวอย่างไปศึกษาต่อ หรือส่งต่อไปต่างประเทศหรือไม่ ซึ่งอาจจะนำไปสู่การตัดต่อพันธุกรรมหรือไม่ หากเป็นเช่นนั้นแล้วถ้าเกิดการระบาดในต่างประเทศ แล้วมีการสืบสวนมาว่าเชื้อนั้นมาจากประเทศไทย ก็จะทำให้ประเทศเราตกเป็นผู้ต้องหาและต้องรับผิดชอบต่อการเกิดโรคระบาดครั้งใหม่ ซึ่งการสอบสวนในวันนี้ตนจะเอาหลักฐานทั้งหมดให้กรรมการรับทราบและพิจารณาว่าต้องยุติความร่วมมือกับสถาบันต่างๆ เหล่านี้โดยเด็ดขาด

จับตาที่มีอยู่มีแนวโน้มเป็นการตกแต่งพันธุกรรม

ถามว่ามีกี่หน่วยงานที่ยังมีความเกี่ยวข้องกับการศึกษาไวรัสในไทย ศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าวว่า อาจจะต้องถามทางคณบดีคณะแพทยศาสตร์ และ ผอ.รพ.จุฬาฯ ที่มีการเซ็นสัญญากับต่างประเทศ ซึ่งทุนการศึกษานี้ก็มีความเกี่ยวข้องกับกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ด้วย แม้ว่าไม่มีการประกาศว่าจะมีการตัดต่อพันธุกรรม แต่มีประเด็นซ่อนเร้นอยู่หรือไม่ ซึ่งเราเรียกร้องให้ยุติโดยเด็ดขาด ส่วนกังวลหรือไม่ที่เปิดหน้าชน หากไม่เปิดหน้าชนก็เท่ากับไม่ซื่อสัตย์ต่อตนเอง ซึ่งตนได้ทำชื่อเสียงให้ประเทศชาติ แม้กระทั่งในวัคซีนพิษสุนัขบ้าที่ฉีดรอบสะดือ คณะเราเป็นคนที่ทำให้องค์การอนามัยโลก (WHO) เปลี่ยนการฉีดวัคซีนรอบสะดือ มาเป็นการใช้วัคซีนฉีดเข้าทางผิวหนังแทน   การยุบศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าวว่า เป็นเพียงการคาดการณ์จากผลของการสอบสวนวันนี้ ก็อาจจะนำไปสู่การยุบศูนย์ฯ เพื่อนำศูนย์ไปเป็นฐานปฏิบัติการในการเก็บไวรัส และการส่งออกนอกประเทศโดยผ่านหน่วยงานที่เป็นหน่วยงานทางการแพทย์และหน่วยงานทางการศึกษา

เท่าที่ได้เคยตรวจสอบมา เชื้อโควิดโดยสมบูรณ์นั้น ไม่มีแต่อย่างใดในธรรมชาติ มีแต่ใกล้เคียงเท่านั้น และไม่ได้ก่อโรคในมนุษย์ การตรวจสอบถึงปัจจุบัน ไวรัสที่มาจากธรรมชาติร้อยเปอร์เซ็นต์นั้น ไม่มีคุณสมบัติเพียบพร้อมอย่างโควิดและมีข้อมูลของ การตกแต่งพันธุกรรม เพื่อให้สามารถเข้ากับคนได้ ที่ว่าไม่ใช่เรื่องลับ  เป็นของสภาคองเกรส ความยาว 302 หน้า เมื่อมกราคม 2023 โดยออกรายงานสรุปก่อนหน้านั้นในเดือนตุลาคม 2022 มีเอกสารอ้างอิงต่างๆ มากมาย มีการป้ายสีมาก่อนหน้าจากคณะบุคคลที่ได้รับทุนและมีส่วนร่วมในการตัดต่อพันธุกรรมว่าการหลุดจากห้องปฏิบัติการเป็นเรื่องโคมลอย แต่อันที่จริงแล้ว เป็นการร่วมมือกัน หน่วยงานหรือกระทรวงกลาโหมของสหรัฐก็รับรู้เรื่องนี้  ส่งการสนับสนุนไปยังอู่ฮั่น

ปัจจุบัน ยังมีการให้ทุนซึ่งอาจเป็นการภายในลับอยู่ในประเทศต่างๆ เป็นโครงการที่หาไวรัสจากค้างคาว  ที่น่ากลัวคือ คัดสรรไวรัสผ่านขั้นตอนที่ 1 ไปแล้ว  จนไปถึงขั้นตอนที่ต้องมีการตัดแต่งพันธุกรรม ให้เข้ากับมนุษย์ได้มากขึ้น  ตกแต่งให้มากจนสามารถเข้ากับร่างมนุษย์ ได้ ซึ่งคงต้องพัฒนาจากการเอาเข้าไปในสัตว์ประเภทต่างๆ ก่อน

คำสั่งจากคณบดีแพทย์ศาสตร์จุฬา

ด้าน รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ให้สัมภาษณ์กรณีที่มีการตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง ศ.นพ.ธีระวัฒน์   ว่า คณะกรรมการดังกล่าวไม่ได้เป็นการสอบสวนอะไรแต่เป็นการหาข้อเท็จจริง กรณีที่ นพ.ธีระวัฒน์ มีห้องปฏิบัติการ (แล็บ) และมีการเก็บตัวอย่างเชื้อ (Specimens) เอาไว้ตามกระบวนการศึกษาวิจัย แต่ได้มีการทำลายตัวอย่างเชื้อเหล่านั้นโดยไม่ได้แจ้งหน่วยงาน ซึ่งตรงนี้มีความสำคัญเนื่องจากตัวอย่างหลายชิ้นก็อยู่ในโครงการอื่นของหน่วยงานอื่นนอก รพ.จุฬา  ดังนั้นการทำลายตัวอย่างเชื้อถือเป็นการทำลายทรัพย์สิน โดยไม่ได้ผ่านขั้นตอนการขออนุมัติ เพราะหากจะมีการทำลายตัวอย่างเชื้อที่เก็บไว้นั้นก็ควรจะมีการขออนุญาตดำเนินตามขั้นตอน และแจ้งผู้ที่เกี่ยวข้อง

 “ดังนั้นเมื่อตัวอย่างเชื้อนั้นถูกทำลายไปแล้ว เราก็ต้องมาหาว่าเชื้อถูกทำลายไปอยู่ที่ไหน เพราะตัวอย่างเชื้อทุกอย่างมีที่มาที่ไป เรื่องนี้จึงไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องของการยุติโครงการอะไร ซึ่งต้องเน้นย้ำว่าโครงการเหล่านี้มีคณะกรรมการพิจารณาอยู่แล้ว” รศ.นพ.ฉันชาย กล่าว และว่า   ส่วนประเด็นข้อสงสัยอื่นๆ ที่สื่อมวลชนให้ความสนใจนั้น ตนจะมีการแถลงข่าวอย่างเป็นทางการต่อไป”

© 2021 thairemark.com