Friday, 27 December 2024 - 8 : 00 am
kanda_002
OIC_001
data-no-lazy="1"
kanda_002
OIC_001

อาเซียนฮาลาลเอ็กซ์โป2023ปลุกเศรษฐกิจชายแดนใต้

ปัตตานีเตรียมจัดงานมหกรรมอาเซียนฮาลาลเอ็กซ์โป 2566 (ASEAN HALAL EXPO 2023 AHEX 2023) คาดมีเงินหมุนเวียนกว่า 50 ล้านบาท มีผู้ประกอบการไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม และสิงคโปร์ กว่า 200 บูธ

ที่ ศูนย์การค้าอาเซียนมอลล์ปัตตานี อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี นางพาตีเมาะ สะดียามู ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี พร้อมด้วย ดาโต๊ะ ฮัจญี จามาล (Datuk Haji Jamal Mohd Amin) ประธานห้างอาเซียนมอลล์ฯ ร่วมแถลงข่าว งาน ASEAN HALAL EXPO 2023 ครั้งที่ 2 (AHEX 23) โดยจะจัดขึ้นในวันที่ 29 พ.ย.- 3 ธ.ค.66 มีผู้ประกอบการไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม และสิงคโปร์กว่า 200 บูธ เตรียมร่วมแสดงงาน ASEAN HALAL EXPO 2023 คาดมีเงินหมุนเวียนกว่า 50 ล้านบาท

มหกรรมอาเซียนฮาลาลเอ็กซ์โป 2566 (ASEAN HALAL EXPO 2023 – AHEX 2023) จัดโดยศูนย์การค้าอาเซียนมอลล์ปัตตานี, UNITI Asia Link Sdn Bhd ร่วมกับสมาคมธุรกิจอาหารจังหวัดปัตตานี, มหาวิทยาลัยฟาฏอนี, สถาบันฮาลาล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สหกรณ์อิบนูอัฟฟาน, สถาบันอัส-สลาม, ทรู คอร์ปอเรชั่น, และหน่วยงานอื่นๆ เป็นงานแสดงสินค้าที่เน้นพันธ์กิจในการพัฒนาอุตสาหกรรมฮาลาลในกลุ่มประเทศอาเซียน จัดขึ้นโดยการผสมผสานระหว่างองค์กรธุรกิจ การศึกษา องค์กร และหน่วยงานภาครัฐ เช่น One Stop Center Co. Ltd. (บริษัทนำเข้าในประเทศไทย) UNITI Asia Link Sdn Bhd (บริษัทส่งออกในมาเลเชีย) สถาบันฮาลาลมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และศูนย์การค้าปัตตานีอาเซียนมอลล์ ได้รับเลือกให้เป็นสถานที่จัดงานในปีนี้ตามวิสัย เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชนโดยเฉพาะในภาคใต้ของประเทศไทยที่ต้องการขยายตลาดสินค้าฮาลาลในกลุ่มประเทศอาเซียน เช่น ไทย มาเลเซีย เวียดนาม กัมพูชา อินโดนีเซีย และอื่นๆ ภายในงานจะมีการจัดกิจกรรมต่างๆ ตลอดงาน เช่น นิทรรศการจำหน่ายสินค้าฮาลาลจากประเทศในกลุ่มอาเซียน เสวนาธุรกิจ การจับคู่ธุรกิจ นำเสนอธุรกิจ กิจกรรมท้องถิ่น การแข่งชัน Malay Aroiรวมถึงธุรกิจกับธุรกิจ (B2B) และธุรกิจกับลูกค้า (B2C)

ดาโต๊ะ ฮัจญี จามาล (Datuk Haji Jamal Mohd Amin) ประธานห้างอาเซียนมอลล์ฯ กล่าวว่า งาน AHEX 2023 ได้รับการสนับสนุนจากหลายหน่วยงานในมาเลเซียคือ องค์กรพัฒนาการค้าระหว่างประเทศมาเลเซีย (Matrad) กระทรวงเกษตรและความมั่นคงทางอาหาร, กระทรวงการพัฒนาการค้าขายและสหกรณ์, FAMA, ACO Bangkok ตลอดจนหน่วยงานรัฐต่างๆ อาทิเช่น เคดาห์ ปีนัง เปอร์ลิส และกลันตัน

“ปีนี้เราพร้อมมากขึ้น มีผู้ประกอบการทั้งไทยและมาเลเซียที่เข้าร่วมจำหน่ายสินค้าและจัดบูธกว่า 200 แห่ง รวมถึงเจ้าของผลิตภัณฑ์ ผู้ผลิต และผู้ค้าส่งจากหลากหลายประเทศ เช่น ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม และสิงคโปร์ มีการลงนามความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการการท่องเที่ยวมาเลเซีย อินโดนีเซีย และในพื้นที่ชายแดนใต้ สร้างความเชื่อมั่นใหผู้ประกอบการต่างประเทศ ได้ยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของคนในพื้นที่ เห็นศักยภาพอีกหลายด้านของปัตตานีที่คุ้มค่าในการลงทุน”

ดาโต๊ะ ฮัจญี จามาล( Datuk Haji Jamal Mohd Amin) ประธานห้างอาเซียนมอลล์ฯ กล่าวต่ออีกว่า ปัตตานีได้รับเลือกให้เป็น “ประตู” หรือ “เกตเวย์” สำหรับประกอบธุรกิจในการส่งออกผลิตภัณฑ์จากไทยสู่มาเลเซีย และจากมาเลเซียสู่ไทย และประเทศอื่นๆ ในอาเซียน ดังนั้นบทบาทของศูนย์การค้าอาเซียนและเมืองมาดินาตุสซาลามแห่งนี้จะทำให้ปัตตานีและสาม จังหวัดภาคใต้ชายแดนภาคใต้ของไทยเกิดการพัฒนาด้านการผลิตและส่งออกสินค้า นำไปสู่การแข่งขันในตลาดได้มากขึ้นในอนาคต

“นอกจากภาคเกษตรกรรม ประมง และอาหาร ปัตตานียังเป็นทำเลยุทธศาสตร์ที่จะใช้เป็นประตูเพื่อการค้า การท่องเที่ยว และการศึกษาระหว่างประเทศในอาเซียนในอนาคต จากปัจจัยหลายประการที่เป็นจุดแข็งของปัตตานี

ปัจจัยแรกคือ “ประชากร” ปัตตานีเป็นจังหวัดที่มีประชากรมุสลิมมากที่สุดในภาคใต้ของประเทศไทย จำนวนประชากรทั้งหมด 700,000 กว่าคน (ข้อมูลในปี 2561) ขณะที่ประชากรภาคใต้ของประเทศไทยมีจำนวนถึง 9.4 ล้านคน จากประชากรทั้งหมด 71.6 ล้านคน และประชากรของประเทศแถบอินโดจีนทั้งหมด 257 ล้านคน นับเป็นตลาดขนาดใหญ่สำหรับผู้ประกอบการในอาเซียน

ปัจจัยที่สองคือ “ศักยภาพ” ปัตตานียังมีศักยภาพทางเศรษฐกิจที่ดี จะกลายเป็นศูนย์กลางฮาลาลและเป็นศูนย์กลางธุรกิจที่เชื่อมโยงประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซียกับประเทศในกลุ่มอาเซียนโดยเฉพาะภูมิภาคอินโดจีน มีศักยภาพสูงที่ผู้ประกอบการในไทยและมาเลเซียสามารถขยายธุรกิจได้ ปัจจัยที่สามคือ “โลจิสติกส์” ปัตตานีและภาคใต้ของไทยจะเป็นศูนย์กลางและเส้นทางธุรกิจที่เชื่อมระหว่างไทย มาเลเซีย และอินโดจีน สิ่งนี้จะทำให้ผู้ประกอบการมีความสะดวกในการจัดการด้านโลจิสติกส์ ซึ่งการขนส่งสินค้าทางบกในภาคใต้ของประเทศไทยนั้นถูกกว่าและง่ายกว่ามากเมื่อเทียบกับเส้นทางอื่น ช่วยเร่งกระบวนการนำเข้าและส่งออกระหว่างประเทศเหล่านี้โดยเฉพาะมาเลเซียและไทย” ปัจจัยสุดท้ายปัจจัยด้าน “ภาษา” ถือเป็นข้อได้เปรียบสำหรับคนภาคใต้ของประเทศไทยที่สามารถพูดได้อย่างน้อยสอง 2 ภาษา คือ ภาษามลายูและไทย ช่วยอำนวยความสะดวกในการสื่อสารภารกิจนำเข้าและส่งออกระหว่างประเทศอาเซียน ในการจัดงานในครั้งนี้ คาดว่าจะมีเงินหมุนเวียนกว่า 50 ล้านบาท ตลอดทั้ง 5 วันของการจัดงาน

© 2021 thairemark.com