Sunday, 22 December 2024 - 2 : 33 pm
kanda_002
OIC_001
data-no-lazy="1"
kanda_002
OIC_001

ดอลลาร์ล้นตลาดดันเงินเฟ้อทั่วโลก หลายชาติเริ่มเทขายทิ้ง

ผลกระทบจากโรคระบาดโควิค-19 ในเดือนมีนาคม พ.ศ.2563 ธนาคารกลางสหรัฐ(Fed)ได้ออกมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณหรือ QEด้วยมูลค่า 7 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ตั้งแต่นั้นมา ก็มีการดำเนินนโยบายผ่อนคลายเชิงปริมาณแบบไม่จำกัดจำนวนเงิน เพื่ออัดฉีดสภาพคล่องจำนวนมากเข้าสู่ตลาด ข้อมูลที่เปิดเพยแสดงให้เห็นว่าสินทรัพย์และหนี้สินของเฟดอยู่ที่ 7.36 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ณ เดือนธันวาคมปีที่แล้ว ในขณะที่ต้นเดือนมีนาคมปีที่แล้ว ตัวเลขนี้อยู่ที่ 4.29 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ งบดุลปัจจุบันของธนาคารกลางสหรัฐฯ(Fed)คิดเป็นผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศโดยประมาณ (GDP) 34% นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายอย่างต่อเนื่องทำให้ธนาคารกลางสหรัฐฯต้องเผชิญกับความเสี่ยงจากหนี้สาธารณะและฟองสบู่ครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ณ เดือนมีนาคม 2564

หนี้สาธารณะของสหรัฐฯเกิน 28 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ และธนาคารกลางสหรัฐฯ(Fed)ยังคงรักษาระดับการซื้อธนบัตรไว้ที่ 120,000 ล้านดอลลาร์ต่อเดือน การออกธนบัตรที่มากมายมหาศาลทำให้อัตราเงินเฟ้อในประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ข้อมูลจากกระทรวงแรงงานสหรัฐประกาศเมื่อวันที่ 10 มิถุนายนนี้แสดงให้เห็นว่า CPI ของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 5% จากปิที่แล้ว  ในเดือนพ.ค.CPI ของสหรัฐเพิ่มขึ้น 0.6% เมื่อเทียบกับเดือนก่อน หากไม่รวมราคาอาหารและพลังงานแล้ว CPI หลักเพิ่มขึ้น 0.7% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนและ เพิ่มขึ้น 3.8% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ.2535 

สำหรับสหรัฐอเมริกา นโยบายการผ่อนคลายทางการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ(Fed)สามารถทำให้ตลาดการเงินของสหรัฐมีเสถียรภาพได้ในในระยะสั้น แต่จะก่อให้เกิดความเสี่ยงในการชำระหนี้กับรัฐบาลและวิสาหกิจของสหรัฐฯ และเป็นอุปสรรคต่อห่วงโซ่อุปทาน ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อยังคงสูงขึ้น ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ส่วนใหญ่ในสหรัฐอเมริกาได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดความกังวลอย่างกว้างขวางในหมู่ประชาชน การสำรวจล่าสุดโดยนิตยสาร “ฟอร์จูน” ของสหรัฐอเมริกาพบว่า 87% ของผู้ใหญ่ชาวอเมริกันกังวลเกี่ยวกับเงินเฟ้อ และ 58% บอกว่า “กังวลมาก” เว็บไซต์ “Business Insider” ของสหรัฐอเมริกาอ้างคำพูดของ ศาสตราจารย์ Siegel ที่มีชื่อเสียงด้านเศรษฐศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียสาขาธุรกิจวอร์ตันว่า “อัตราเงินเฟ้อในสหรัฐอเมริกาจะเกิน 20% ในอีกสองหรือสามปีข้างหน้า ซึ่งเทียบเท่ากับสภาพเหตุการณ์ของสหรัฐอเมริกาในทศวรรษ 1970 ” 

อัตราเงินเฟ้อไม่เพียงแต่ทำให้เกิดการอภิปรายในหมู่นักเศรษฐศาสตร์เท่านั้น แต่ยังกลายเป็นประเด็นหลักทางการเมืองอย่างรวดเร็ว ซึ่งก่อให้เกิดการโจมตีนโยบายการใช้จ่ายเงินขนาดใหญ่ของประธานาธิบดีไบเดนของพรรครีพับลิกันในสภาคองเกรส ตามรายงานจากเว็บไซต์ของข่าวการเมืองสหรัฐฯ Politico พรรครีพับลิกันพยายามใช้ข้อมูลเงินเฟ้อเพื่อโจมตีนโยบายการผ่อนคลายทางการเงินของประธานาธิบดีไบเดนและเรียกร้องให้ธนาคารกลางสหรัฐหยุดอัดฉีดเงินจำนวนมากเข้าสู่ระบบการเงิน 

สำหรับเศรษฐกิจโลก การรักษาเสถียรภาพของตลาดการเงินสหรัฐจะเอื้อต่อการรักษาเสถียรภาพความเชื่อมั่นของตลาดในประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ในระดับหนึ่ง แต่โดยรวมแล้ว นโยบายนี้ก่อให้เกิดความเสี่ยงอย่างสูงต่อเศรษฐกิจ โดยเฉพาะประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ ประการแรกคือความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อนำเข้า นโยบายผ่อนคลายเชิงปริมาณของธนาคารกลางสหรัฐฯ(Fed)จะนำไปสู่สภาพคล่องที่มากเกินไปในตลาดโลก ทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นของราคาทรัพยากรรอบใหม่ และนำความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อกับประเทศผู้นำเข้าทรัพยากร ตั้งแต่เดือนเมษายน 2020 ถึงปัจจุบัน ราคาน้ำมันดิบได้เพิ่มขึ้น 2.5 เท่า ราคาทองแดงและแร่เหล็กเพิ่มขึ้นสองเท่า ราคาถ่านหินเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่า และราคาอาหารก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นกัน ทีมวิจัยของ Deutsche Bank เตือนว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ(Fed)เพิกเฉยต่อความเสี่ยงของเงินเฟ้อเพื่อแสวงหาการฟื้นตัวเต็มที่จะส่งผลกระทบที่เลวร้าย การระบาดของเงินเฟ้อจะทำให้เศรษฐกิจโลกอยู่ใน “ไทม์บอมบ์” ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะถดถอยอย่างรุนแรงและก่อให้เกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินทั่วโลก นอกจากนี้แล้วสำหรับประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ “เงินร้อน” ของดอลลาร์สหรัฐฯ จำเป็นต้องได้รับการป้องกันอย่างเร่งด่วน เมื่อการถอน “เงินร้อน” อาจทำให้เกิดความวุ่นวายทางการเงิน ประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่จะประสบปัญหา เช่น ค่าเงินอ่อนค่าและตลาดสินทรัพย์ที่ตกต่ำ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจมหภาคอย่างรุนแรง  

เพื่อทนต่อความเสี่ยงที่เกิดจากนโยบายการเงินที่ไม่รัดกุมมากของธนาคารกลางสหรัฐฯ(Fed) ประเทศเศรษฐกิจในตลาดเกิดใหม่บางแห่งได้สูญเสียความเชื่อมั่นในค่าเงินดอลลาร์สหรัฐและต้องหันหน้าไปหามาตรการอื่นแทน ธนาคารกลางของรัสเซีย บราซิล และตุรกีได้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยก่อนกำหนดเพื่อรับมือกับแรงกดดันจากค่าเงินอ่อนค่า ในขณะเดียวกัน ประเทศต่างๆทั่วโลกก็กำลังเร่ง “การลดค่าเงินดอลลาร์” เช่นกัน เช่น รัสเซียและอิหร่านได้ละทิ้งการแลกเปลี่ยนสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐในการกำหนดราคาสำหรับธุรกรรมน้ำมันในเดือนมีนาคม ธนาคารกลางทั่วโลกลดการถือครองพันธบัตรสหรัฐฯ เกือบ 50.5 หมื่นล้าน และยังดำเนินการต่อ รัสเซียขายพันธบัตรสหรัฐฯ 97% อีกด้วย และมีเมียนมาร์ กัมพูชา และมาเลเซียขายออกทั้งสิ้น 3.865 พันล้านดอลลาร์ ปัจจุบัน 29 ประเทศได้ทิ้งหนี้ของสหรัฐ และมากกว่า 40 ประเทศกำลังเร่ง “การลดค่าเงินดอลลาร์” ข้อมูลล่าสุดที่เผยแพร่โดย World Banking, Financial Telecommunications Association (SWIFT) แสดงให้เห็นว่าในการจัดอันดับสกุลเงินสำหรับการชำระเงินทั่วโลกในเดือนพฤษภาคม ค่าเงินยูโร ดอลลาร์สหรัฐ ปอนด์อังกฤษ และเยนญี่ปุ่น อยู่ในอันดับสูงสุดที่ 39.03%, 38.35% 5.78% และ 3.02% ตามลำดับ 4 อันดับแรกนี่เป็นครั้งแรกที่ส่วนแบ่งการชำระบัญชีทั่วโลกของยูโรได้แซงหน้าดอลลาร์สหรัฐในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา และมีความสำคัญอย่างยิ่งในฐานะทิศทางลม 

สำหรับประเทศที่ต้องพึ่งพาการส่งออกต่างประเทศในระดับสูง เช่น ประเทศไทย หากเงินดอลลาร์สหรัฐยังคงออกมากเกินไปและอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง เงินบาทจะถูกบีบให้แข็งค่าขึ้น ซึ่งจะส่งผลอย่างมากต่อการส่งออก และการค้าต่างประเทศ ในขณะเดียวกัน หากเงินดอลลาร์สหรัฐไหลเข้าไทยจำนวนมาก ก็จะก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจฟองสบู่ เมื่อสหรัฐฯ ถอนตัวจากนโยบายผ่อนคลายเชิงปริมาณและขึ้นอัตราดอกเบี้ยในอนาคต ก็จะดึงดูด “เงินร้อน” จากเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งจะเป็นการกระตุ้นต่อเศรษฐกินและการเงินของประเทศ ในปี 2541 มีการถอนเงินทุนต่างประเทศออกจากประเทศไทยซึ่งทำให้อัตราแลกเปลี่ยนของไทยลดลงและก่อให้เกิดวิกฤตการณ์ทางการเงิน ดังนั้นรัฐบาลไทยและสถาบันการเงินควรให้ความใส่ใจและดำเนินมาตรการป้องกันอย่างเหมาะสม

© 2021 thairemark.com