สมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทย (TTIA) และสมาคมการค้าอาหารสัตว์เลี้ยงไทย (TPFA) โดย ดร.ชนินทร์ ชลิศราพงศ์ นายกสมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทยและสมาคมการค้าอาหารสัตว์เลี้ยงไทย ดร.พจน์ อร่ามวัฒนานนท์ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์สมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทยและสมาคมการค้าอาหารสัตว์เลี้ยงไทย ในนามรองประธานกรรมการ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ได้เข้าร่วมงานสัมมนา Bio-Circular-Green (BCG) Economy: Pathways to Enhanced Partnerships between Thailand and Latin America and the Caribbean ณ โรงแรม Royal Orchid Sheraton จัดโดย กรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้ กระทรวงการต่างประเทศ ดร.ชนินทร์ ให้ข้อมูลหลักการ BCG ของสมาคมฯ และให้ความเห็นเพิ่มเติมดังนี้
- นโยบายและมาตรการส่งเสริมการค้าการลงทุนด้าน BCG ของประเทศในภูมิภาคลาตินอเมริกา มีดังนี้
- BCG ในภูมิภาคลาตินอเมริกาจะเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงการผลิตและวิถีชีวิตไปสู่กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การปรับปรุงคุณภาพสิ่งแวดล้อม, เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและน้ำ, การเปลี่ยนแปลงการผลิตและการบริโภค, ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม เป็นต้น
- การใช้นโยบาย BCG เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านพลังงานและทรัพยากร หลีกเลี่ยงการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพและบริการระบบนิเวศ และลดการว่างงาน
- BCG เป็นแนวคิดเศรษฐกิจสมัยใหม่ที่เน้นการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เป็นแนวทางเศรษฐกิจเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนในอุตสาหกรรมต่างๆ
- ในภาพรวมภูมิภาคลาตินอเมริกามีศักยภาพทางเศรษฐกิจมาก เป็นคู่ค้าที่ไทยและอาเซียนให้ความสำคัญ โดยเฉพาะตั้งแต่ช่วงโควิด-19 ที่ผ่านมา มีประชากรกว่าร้อยละ 8.2 ของโลก และมี GDP กว่าร้อยละ 6 มีศักยภาพรอบด้าน อาทิ ทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ บุคลากรรุ่นใหม่ พลังงานสะอาด การแพทย์ เทคโนโลยี นวัตกรรม ตลอดจนนโยบายและแนวปฏิบัติที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับการพัฒนา เศรษฐกิจ BCG ของไทย
- ในส่วนกระบวนการ BCG ของปลาทูน่านั้น ในส่วนวัตถุดิบทูน่าได้ใช้ทุกส่วนของปลาอย่างมีคุณค่าสูงสุด เป็นการลดขยะได้มาก โดยส่วนที่เหลือจากอาหารมนุษย์ก็นำสร้างมูลค่าเพิ่ม เช่น น้ำนึ่งปลา ในอุตสาหกรรมทูน่านำมาสกัดใช้เพิ่มความน่ากินของอาหาร ในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์เลี้ยง ส่วนที่เป็นกระดูก ก้าง เป็นวัตถุดิบของอุตสาหกรรมอาหารสัตว์
- อาหารสัตว์เลี้ยง อุตสาหกรรมอาหารสัตว์เลี้ยง ได้นำ by product ที่เป็นสินค้าปศุสัตว์ เช่น tuna red meat เครื่องใน โครงไก่ มาเพิ่มมูลค่า เป็นวัตถุดิบผสมในอาหารสัตว์เลี้ยง การใช้บรรจุภัณฑ์จาก bioplastic ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สินค้าอาหารสัตว์เลี้ยงเติบโตขึ้นประมาณ 20% ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากสถานการณ์โควิด19 ทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป มีการอยู่บ้านเลี้ยงสัตว์เสมือนครอบครัวกันมากขึ้น จึงคาดการณ์ว่าในปี 2567 สินค้าอาหารสัตว์เลี้ยงจะส่งออกเป็นอันดับ 1 ของโลก ด้วยโมเดล BCG เนื่องจากประเทศไทยมี supply chain สินค้าปศุสัตว์เพียงพอต่อการผลิตเพื่อส่งออกและเริ่มมีบริษัทต่างชาติเข้ามาตั้งฐานผลิตในไทยอีกด้วย
- สิ่งสำคัญที่จะช่วยเพิ่มมูลค่าสินค้าของไทย และส่งเสริมการค้าการลงทุนได้คือ การพัฒนาเทคโนโลยี R&D, การเร่งเจรจาจัดทำ FTA Thai-EU โดยการเจรจาฯ หัวข้อหลักจะมิใช่การลดภาษีเพียงอย่างเดียว จะเจรจากันถึงแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนในด้านต่างๆ รวมถึงประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมด้วย
- ไทยและลาตินอเมริกา สามารถแลกเปลี่ยนความรู้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับโอกาสทางเศรษฐกิจสำหรับสินค้า และสาขาธุรกิจของทั้งสองประเทศ เพื่อสนับสนุนนโยบายแสวงหาตลาดที่มีศักยภาพ โดยประเทศไทยมีจุดแข็งในด้านสินค้าเกษตรและอาหารที่ดีอยู่แล้ว อีกทั้ง สามารถใช้นโยบายเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy: BCG) เป็นแนวทางในการฟื้นฟูเศรษฐกิจระหว่างประเทศได้
- ผลิตภัณฑ์ หนึ่งในสามของไทยที่อยู่อันดับต้นๆของโลกคือ ผลิตภัณฑ์อาหารทะเล เช่น ปลาทูน่า ปลาซาร์ดีน และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวก็ยึดตามแนวทางของ BCG ทั้งสิ้น โดยผลิตภัณฑ์อาหารทะเลของไทยที่ไปสู่ตลาดโลกนั้น ประมาณ 1.5 ล้านตันต่อปี
-ทั้งนี้ ส่วนมากเกือบทั้งหมดของอาหารทะเล ที่ไทยส่งออกเป็นการนำเข้าจากต่างประเทศทั้งสิ้น คือประมาณ 95% เพราะเรือประมงของไทยมีขนาดกลางถึงเล็กเท่านั้น โดยปลาแซลมอนนั้นมาจาก ชิลี และเปรู สมัยแรกในอุตสาหกรรมการผลิตอาหารทะเลของไทย จะเป็นการผลิตเป็นอาหารกระป๋องเสียส่วนใหญ่ ซึ่งจะมีการเพิ่มมูลค่าการผลิตภัณฑ์บ้าง โดยเป็นปลาทูน่าในซอสมายองเนส ในขั้นต้นนั้น พบว่าผลประกอบการที่ได้มาไม่สูงมากนัก
ขั้นต่อมาที่นำเอาผลิตภัณฑ์อาหารทะเลมาแปรรูปเพิ่มเติมคือ ผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์เลี้ยง โดยนำเอาผลิตภัณฑ์ ที่เป็นผลพลอยได้จาก ปลาทูน่าและปลาอื่นๆ ที่ไม่สามารถใช้ประโยชน์เป็นอาหารของคนได้แล้ว ขั้นต่อมาก็เป็น ส่วนที่เหลือของอาหารทะเลที่เป็นน้ำมัน จนสามารถพูดได้ว่า ในปลาทะเลทุกส่วน เราสามารถนำมาใช้เป็นประโยชน์ได้ถึง 99%
จนในปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์จาก ปลาทูน่า แซลมอน ซาร์ดีน สามารถทำเงินได้สูงถึง 3.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ จนถือได้ว่าไทยเป็นประเทศที่ผลิตอาหารทะเลอย่างยั่งยืนใหญ่ที่สุดของโลก ซึ่งเป็นไปตามแนวทางของ สหประชาชาติ ในส่วนของการผลิตผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อความยั่งยืน และสำหรับประเทศแถบละตินอเมริกา ก็มีความเชื่อมั่นว่า จะได้มีแนวทางความร่วมมือในพันธกิจร่วมกัน เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อความยั่งยืน ร่วมกันในอนาคต ยกตัวอย่างเช่น ไทยกับชิลีก็มีพันธกิจเพื่อความยั่งยืนในอุตสาหกรรมอาหารทะเลร่วมกัน มาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว ซึ่งเชื่อว่าประเทศในกลุ่มละตินอเมริกาอื่นๆ เช่น บราซิล อาร์เจนติน่าจะได้เข้ามาร่วมกับไทยด้วย
สำหรับอุตสาหกรรมอาหารสัตว์เลี้ยงไทย นั้น เป็นอุตสาหกรรมที่โตอย่างต่อเนื่อง ไทยก้าวไปสู่อันดับสอง ของโลกในอุตสาหกรรมด้านนี้ โดยได้เดินหน้าพันธกิจด้านนี้มากว่า 10 ปี และมีผลประกอบการมากถึง 4 พันล้านเหรียญสหรัฐ อาหารสัตว์เลี้ยงถือว่าเป็นการผนึกพลังของ อุตสาหกรรมในทะเล ในปัจจุบันถือว่าอุตสาหกรรมอาหารสัตว์เลี้ยงเป็น Product Champion ในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา ด้วยอัตราเติบโต 20% และเป็นอุตสาหกรรมที่ทำให้ผลิตภัณฑ์ส่วนเหลือจากทั้ง อาหารทะเล สัตว์ปีก และปศุสัตว์ มีหนทางเติบโตอย่างยั่งยืน
เราต้องให้ความสำคัญกับสัตว์เลี้ยง เพราะในเวลาที่ ประชากรโลกมีถึง 7 พันล้านคน และจะเติบโตไปเป็น 8 พันล้าน ในอีกไมช้านี้ โดยจำนวนประชากรของสัตว์เลี้ยงซึ่งคิดเป็น 25% ของคน จะทำให้มีประชากรของสัตว์เลี้ยงมากถึง 2 พันล้านตัวทีเดียว ไม่สามารถมองข้ามได้ นอกจากนั้น คงต้องขอบคุณรัฐบาล ที่ให้การส่งเสริมและ จูงใจกับอุตสาหกรรมด้านนี้ ในการก่อตั้งโรงงาน โดยงบลงทุนในพันธกิจด้านนี้มีมากถึง 1 พันล้านเหรียญในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา มีรายใหญ่จากต่างชาติ เช่น เนสท์เลย์ได้เข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์เลี้ยง
ดังนั้น สิ่งที่พึงกระทำอย่างยิ่งคือ ต้องเร่งกระตุ้นให้ความสำคัญกับต้นแบบ BCG ที่ให้ทุกฝ่ายเห็นความสำคัญในเรื่องสิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศวิทยา เพื่อความยั่งยืนของอุตสาหกรรมทั้งหลาย ไม่ใช่แต่เพียงอุตสาหกรรมสัตว์เลี้ยง
อนึ่ง ในงาน สัมมนา Bio-Circular-Green (BCG) Economy: Pathways to Enhanced Partnerships between Thailand and Latin America and the Caribbean ทาง TTIA/TPFA ได้ออกบูธ เพื่อประชาสัมพันธ์โบรชัวร์ สินค้าของสมาชิกฯ ให้ผู้เข้าร่วมงานได้รับทราบ รวมถึงมีสมาชิก กลุ่ม SeaValue Group ร่วมออกบูธภายในงานอีกด้วย
โดยมีบริษัทที่สนใจเข้าร่วมเป็นสมาชิกวิสามัญได้แก่
- MARSUKO CONSULTING & TRADING CO.,LTD. บริษัทนำเข้า-ส่งออก petfood
- MITR PHOL SUGAR CORP, LTD. บริษัทผลิต pre-biotic
- บริษัท ไทยโพลิเอททีลีน จํากัด SCGC บริษัทผลิตบรรจุภัณฑ์ bioplastic
ภาครัฐและบริษัททั่วไปที่เข้ามาเยี่ยมชมบูธสมาคมฯ - คุณอุรีรัชต์ เจริญโต อธิบดี กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ
- BECIS Berkeley Energy Commercial Industrial Solutions บริษัทพลังงาน
- Circularity Co., Ltd. บริษัทให้เช่าเฟอร์นิเจอร์
- Royal Orchid Sheraton Hotel & Towers โรงแรมจัดงานสัมมนา