Wednesday, 15 January 2025 - 10 : 03 pm
kanda_002
OIC_001
data-no-lazy="1"
kanda_002
OIC_001

ดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้กับรัฐบาลใหม่ ต้องการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 5 พันบาท/เดือน

ผศ.ดร.วิวัฒน์ จันทร์กิ่งทอง ผู้จัดการศูนย์วิจัยนวัตกรรมทางธุรกิจ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ รายงานผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนโดยรวมเดือนกุมภาพันธ์ 2566 (44.80) ปรับตัวเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมกราคม2566 (44.60) และเดือนธันวาคม 2565 (44.30) โดยดัชนีที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น

ได้แก่ ภาวะเศรษฐกิจโดยรวมรายได้จากการทำงานรายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นในครอบครัวฐานะการเงิน (รายได้หักรายจ่าย) การออมเงินการรักษามาตรฐานค่าครองชีพ การลดลงของหนี้สิน ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ

โดยปัจจัยบวกที่สำคัญได้แก่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่มีปัจจัยหนุนสำคัญจากภาคการท่องเที่ยว ซึ่งจะก่อให้เกิดการจ้างงานและรายได้ในประเทศเพิ่มขึ้นรวมถึงการประกาศเปิดประเทศเต็มรูปแบบของประเทศจีนในช่วงต้นปีส่งผลให้นักท่องเที่ยวจีนกลับมาท่องเที่ยวในไทยเร็วขึ้น และนักท่องเที่ยวชาวจีน ที่ออกเดินทางกลุ่มแรกส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูงและกลุ่มคนรุ่นใหม่

นอกจากนี้นักท่องเที่ยวจากชาติอื่น ๆ ที่เดินทางมาไทยก็มีแนวโน้มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ความต้องการท่องเที่ยวของคนทั่วโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และภาคใต้ของประเทศไทย นับเป็นจุดหมายปลายทางแห่งหนึ่งที่นักท่องเที่ยวต่างชาติให้ความสนใจ

ผศ.ดร.วิวัฒน์ จันทร์กิ่งทอง

ซึ่งการเข้ามาของนักท่องเที่ยวต่างชาติ จะช่วยส่งเสริมให้ธุรกิจภาคการท่องเที่ยวและบริการ รวมถึงธุรกิจที่เกี่ยวข้อง อาทิ ธุรกิจโรงแรม สายการบิน บริษัททัวร์ รถเช่า สถานที่และกิจกรรมท่องเที่ยว ร้านค้า ร้านอาหาร และสปา รวมถึงบริการทางการแพทย์ ซึ่งส่งผลให้การจ้างงานในภาคการท่องเที่ยวและภาคบริการฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่อง ทำให้รายได้ของผู้ประกอบการและแรงงานของธุรกิจเหล่านี้ปรับตัวดีขึ้นตลอดจนการบริโภคของภาคเอกชนก็ขยายตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม การเข้ามาท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอีกนั้น ผู้ประกอบการภาคการท่องเที่ยว บริการ และธุรกิจที่เกี่ยวข้องทั้งหมดควรเตรียมความพร้อม และเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยวให้เพียงพอต่อจำนวนนักท่องเที่ยวรวมถึงสร้างจุดแข็งให้กับสินค้าและบริการให้มีอัตลักษณ์ที่โดดเด่น เพื่อสร้างความประทับใจให้แก่นักท่องเที่ยวโดยพิจารณา 4 แนวทางที่สำคัญ ดังนี้

1.การเตรียมความพร้อมขยายขีดความสามารถในการให้บริการเพื่อบรรเทาปัญหาภาวะคอขวด ซึ่งเป็นผลจากการปรับโครงสร้างต้นทุนค่าใช้จ่ายในช่วงที่ผู้ประกอบการต้องเผชิญกับวิกฤตโควิด-19 ดังนั้น ผู้ประกอบการต้องเร่งปรับตัวและขยายขีดความสามารถการบริการ เพื่อให้สามารถรองรับปริมาณนักท่องเที่ยวที่เข้ามาใช้บริการได้อย่างเพียงพอ ได้แก่ การเปิดบริการห้องพักโรงแรม การเพิ่มจำนวนรถที่ให้บริการขนส่ง การเพิ่มพนักงาน ที่ให้บริการในร้านค้าและร้านอาหาร

  1. การยกระดับสินค้าและบริการให้มีคุณภาพที่ดีและมีความน่าสนใจ ทั้งมาตรฐานของสินค้าและบริการ รูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์ ราคาที่เหมาะสมและคุ้มค่าในการซื้อ และช่องทางการจ่ายเงินที่หลากหลายรวมถึงการกำหนดรูปแบบการรองรับนักท่องเที่ยวในแต่ละประเทศอย่างเหมาะสม เพื่อสร้างความประทับใจให้กับนักท่องเที่ยว อันจะนำไปสู่การเข้ามาท่องเที่ยวซ้ำและแนะนำบอกต่อในทางบวก
  2. การกำหนดแพ็กเกจการให้บริการท่องเที่ยวแบบครบวงจรในราคาที่เหมาะสม เพื่อรองรับแนวโน้มการท่องเที่ยวยุคใหม่ที่เน้นการท่องเที่ยวเพื่อสร้างประสบการณ์ อีกทั้ง การออกแบบแพ็กเกจที่นำเสนอต่อนักท่องเที่ยว ควรมีความยืดหยุ่นเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของนักท่องเที่ยวในแต่ละกลุ่มที่แตกต่างกัน
  3. การโปรโมทผ่านสื่อสังคมออนไลน์และอินฟลูเอนเซอร์ชื่อดัง พร้อมทั้งสร้างช่องทางการขายออนไลน์จะช่วยส่งเสริมให้สินค้าและบริการเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวในวงกว้าง สามารถเข้าถึงได้ง่าย และสร้างประสบการณ์ที่ดีให้เกิดกับนักท่องเที่ยวได้มากยิ่งขึ้น

จากการสัมภาษณ์ประชาชนภาคใต้ในหลายสาขาอาชีพ เพื่อรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดขึ้น แนวทางการแก้ไข และความคิดเห็นต่อมาตรการต่าง ๆ ของภาครัฐ รวมถึงข้อเสนอแนะต่าง ๆ มีดังนี้

1.การเลือกตั้งรัฐบาลที่กำลังจะเกิดขึ้นในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า ประชาชนได้มีการติดตามการเมืองที่มีความชัดเจนมากขึ้น ทั้งการสังกัดพรรคการเมืองและนโยบายหาเสียงที่สร้างความหวังให้กับประชาชน หากชนะการเลือกตั้งครั้งหน้า

ทั้งนี้ ประชาชนต้องการให้พรรคการเมืองที่มีโอกาสได้เข้าไปบริหารประเทศได้ดำเนินโนบายตามที่หาเสียง โดยให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม

2.ประชาชนมีความกังวลกับราคาสินค้าและบริการที่มีราคาสูงขึ้น และมีค่าครองชีพเพิ่มขึ้น โดยครัวเรือนส่วนมากยังมองว่าค่าใช้จ่ายโดยรวมสูงขึ้น ค่าสาธารณูปโภค ไฟฟ้า และบริการสาธารณะ รวมถึงสินค้าอุปโภคบริโภคมีการปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ ประชาชนต้องการให้ภาครัฐหาวิธีในการช่วยเหลือค่าครองชีพของประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง กลุ่มผู้ใช้แรงงาน กลุ่มเกษตรกร และกลุ่มมนุษย์เงินเดือน เป็นต้น

  1. รัฐบาลควรมีมาตรการส่งเสริม สนับสนุนการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น โดยการให้เศรษฐกิจขยายตัวไปในทุกพื้นที่ของประเทศ และทุกภาคส่วนธุรกิจ

ผลคาดการณ์ในอีก 3 เดือนข้างหน้า พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่เชื่อว่าภาวะเศรษฐกิจโดยรวม และรายได้จากการทำงานจะเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 36.10 และ 35.80 ตามลำดับ ส่วนความเชื่อมั่นต่อรายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคที่จำเป็นในครัวเรือน และรายจ่ายด้านการท่องเที่ยว ในอีก 3 เดือนข้างหน้า จะเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 37.40 และ 34.10 ตามลำดับ ส่วนความเชื่อมั่นด้านความสุขในการดำเนินชีวิต การแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และการแก้ปัญหาเศรษฐกิจในอีก 3 เดือนข้างหน้า จะเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 36.2032.90และ31.30 ตามลำดับ

สิ่งที่ประชาชนส่วนใหญ่ต้องการให้ภาครัฐดำเนินการโดยเร่งด่วน คือ 1 การช่วยลดค่าครองชีพ อาทิ ลดค่าสาธารณูปโภค และบริการสาธารณะ และ 2 การปราบปรามธุรกิจผิดกฎหมาย อาทิการพนันออนไลน์ การค้ายาเสพติด ในส่วนของปัญหาที่ประชาชนต้องการได้รับความช่วยเหลือจากภาครัฐ คือ 1 การช่วยเหลือค่าครองชีพ อาทิ โครงการคนละครึ่ง การเพิ่มเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ และ 2 การช่วยเหลือภาระหนี้สินแก่กลุ่มเกษตรกร และผู้ประกอบการหาบเร่แผงลอย

มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ยังเปิดเผยรายงานต่อว่า นอกจากนี้ ความคาดหวังของประชาชนที่ต้องการให้รัฐบาลชุดใหม่ทำในอนาคต คือ 1 การเพิ่มเบี้ยยังชีพให้แก่ผู้สูงอายุเดือนละ 5,000 บาท 2 การนำพลังงานแสงอาทิตย์เข้ามาใช้ทดแทน เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายของประชาชน และ 3 การปฏิรูปโครงสร้างตำรวจทั้งระบบอีกทั้ง การไม่ให้ตำรวจมีอำนาจในการปรับและเรียกรับเงินเข้าหน่วยงานตำรวจโดยตรง.

© 2021 thairemark.com