Friday, 27 December 2024 - 3 : 54 am
kanda_002
OIC_001
data-no-lazy="1"
kanda_002
OIC_001

กรมวิทยาศาสตร์ฯ เปิดตัวชุดตรวจกัญชา “Test Kann”

หลังกระทรวงสาธารณสุขออกประกาศปลดล็อก กัญชาออกจากพืชยาเสพติดไปเมื่อวันที่ 9 มิ.ย.เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้าน สังคมห่วงใยผลกระทบต่อเด็กๆ เยาวชนที่จะพากันใช้กัญชาไม่ถูกทาง เพราะเข้าถึงได้ง่าย รวมถึงกระแส ทางการเมือง เนื่องจากกัญชาเสรีเป็นนโยบายของ พรรคภูมิใจไทย เมื่อช่วงค่ำ วันที่ 21 มิ.ย. นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ร่วมสนทนาในเพจแคร์ คิด เคลื่อนไทย ตอน “เศรษฐกิจพังยับ ประยุทธ์รับมือ ไม่ไหว?!” ระบุถึงประเด็นกัญชาเสรีว่า ตอนฝิ่นออกมาใหม่ๆก็บอกมีสรรพคุณทางยาเยอะ แต่สุดท้าย เสพติดกันเยอะ กัญชาก็เหมือนกันมีสารเสพติดอยู่ในตัว มีสรรพคุณทางยาด้วย แต่ต้องสกัดให้ถูกต้อง ฉะนั้นการเตือนกับเยาวชนต้องมาพร้อมกับให้เสรี ต้องดูให้ครบวงจร ไม่ใช่อยากหาเสียงว่าปลูกกัญชาได้แล้ว บอกว่าชนะแล้ว วันนี้มีการใช้ใส่กระทั่งใน ไข่เจียว เพี้ยนกันใหญ่ อย่าทำเป็นเล่นไป ทุกอย่าง มีโทษและประโยชน์

วันเดียวกัน ที่โรงแรมริชมอนด์ จ.นนทบุรี นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แถลงเปิดตัวชุดตรวจกัญชา “Test Kann เทส กัญ” ภายในงานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ครั้งที่ 30 ว่า แม้จะปลดล็อกทุกส่วนของกัญชา กัญชงออกจากยาเสพติด แต่ยังยกเว้นสารสกัด THC เกิน 0.2% กรมได้พัฒนาการตรวจ พิสูจน์ “เทส กัญ” นำไปใช้ทดสอบสาร THC ในน้ำมัน กัญชา เป็นอุปกรณ์คล้าย ATK ที่ตรวจโควิด-19 มีตลับทดสอบ 1 อัน กับหลอดบรรจุสารสกัดที่ 1 และหลอดสารสกัดที่ 2 วิธีใช้โดยนำน้ำมันกัญชาหยดใส่ หลอดที่ 1 เขย่าให้เข้ากันแล้วนำไปผสมกับหลอดที่ 2 เขย่าให้เข้ากัน ก่อนนำไปหยดใส่ในตลับ รอผล ภายใน 15 นาที ถ้าขึ้นแถบสีม่วงแดง 2 ขีด ที่ตำแหน่ง C และ T แสดงว่า มี THC ไม่เกิน 0.2% แต่ถ้าขึ้นแถบ สีม่วงแดง 1 ขีดที่ตัว C แสดงว่า มี THC เกิน 0.2% แต่ผลจากชุดตรวจไม่สามารถนำไปดำเนินคดีทางกฎหมายได้ ต้องส่งยืนยันผลทางห้องปฏิบัติการอีกครั้ง

นพ.ศุภกิจกล่าวว่า กรมได้เตรียมผลิตชุด “เทส กัญ” จำนวน 1.5 หมื่นชุดไว้เพื่อแจก และจะ ถ่ายทอดเทคโนโลยีให้บริษัทเอกชนที่สนใจนำไปผลิต เพื่อจำหน่ายต่อไป มีต้นทุนชุดละ 100 บาท ส่วนการ ตรวจหาสารสกัดกัญชาในอาหารและเครื่องดื่มนั้นจะพัฒนาในขั้นต่อไป ขณะนี้กำลังทดสอบในระดับห้องปฏิบัติการ ค่าใช้จ่ายครั้งละ 5,000 บาท รวมทั้ง การตรวจหากัญชาในตัวคนนั้นจะร่วมมือกับ รพ.ขนาดใหญ่เก็บตัวอย่างเลือดผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบจากกัญชามาทดสอบหาปริมาณสาร THC เพื่อเป็นข้อมูลใช้ในการรักษาต่อไป โดยศูนย์วิทยาศาสตร์ฯ ทั่วประเทศ 15 ศูนย์ ใช้ต้นทุนในการทดสอบ 1,400 บาท ต่อ 1 ตัวอย่าง และต้องนำเสนอเป็นโครงการวิจัย ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการจริยธรรมทาง การแพทย์ เพราะเป็นการวิจัยในคน

ขณะที่ นพ.มานัส โพธาภรณ์ รองอธิบดีกรม การแพทย์ เปิดเผยว่า หลังปลดล็อกเมื่อวันที่ 9 มิ.ย.เป็นต้นมา มีผู้ป่วยเข้าห้องฉุกเฉินจากการใช้กัญชาไม่ถูกต้องหรือไม่ถูกขนาด จาก รพ.นพรัตน์ รพ.เลิดสิน และ รพ.ราชวิถี รวม 9 คน อาการที่พบมากมีผลต่อ 3 ระบบในร่างกาย คือ 1.ระบบหลอดเลือดและหัวใจ หลอดเลือดสมอง หัวใจเต้นเร็ว ความดันขึ้นๆลงๆ ชีพจรเต้นไม่เป็นจังหวะ 2.ระบบประสาท วิงเวียน มึน และ 3.พบประปรายในระบบทางเดินอาหาร คลื่นไส้อาเจียน แต่กลุ่มใช้ทางการแพทย์ที่ถูกต้องยังไม่พบปัญหา ส่วนใหญ่จะพบในกลุ่มที่สนใจทดลอง ทั้งอาหาร และสันทนาการ อีกส่วนเกิดจากการบริโภค โดยไม่รู้ตัว เช่น ผสมส้มตำ หน่อไม้ กาแฟ คุกกี้ เป็นต้น ดังนั้น ขอให้ระมัดระวังโดยเฉพาะเด็กอายุต่ำกว่า 20 ปี หญิงตั้งครรภ์ หรือสงสัยว่าตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร ผู้มีโรคประจำตัวโดยเฉพาะกลุ่มโรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง โรคระบบประสาท และผู้ป่วยจิตเวช หรือครอบครัวที่มีประวัติป่วยจิตเวช ผู้ขับขี่ยานพาหนะทุกประเภท ผู้ทำงานกับเครื่องจักร ร้านค้าต้องติดป้ายแจ้งลูกค้าถึงส่วนผสมของเมนูกัญชา สำหรับอาการไม่พึงประสงค์จากกัญชา สังเกตเบื้องต้นได้ คือ หายใจและชีพจรเต้นผิดปกติ หาก เริ่มไม่รู้สึกตัว ผู้ใกล้ชิดต้องเรียกรถฉุกเฉินทันที ที่สำคัญ ต้องให้ข้อมูลที่เป็นจริงกับแพทย์ ไม่ต้องกังวลเรื่องกฎหมายจะได้รักษาได้ทันท่วงที

© 2021 thairemark.com