ในช่วงใกล้เทศกาลออกพรรษาของทุกปี ชาวบ้านช่อระกา 3 หมู่บ้าน หมู่ 9,17,18 พร้อมใจออกมาวัดเร่งจัดทำต้นกระธูปโบราณให้สวยงาม เพื่อนำไปจุดถวายสักการะองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในคำคืนวันที่ 16 ตุลาคมนี้
เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2567ก่อนถึงช่วงเทศกาลออกพรรษา ปี 2567 ทีวัดดาวเรือง บ้านช่อระกา ต.นาฝาย อ.เมือง จ.ชัยภูมิ พ.ต.อ.สรวิศ มาอินทร์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาฝาย ได้นำชาวบ้านช่อระกาทั้ง 3 หมู่บ้าน ทั้งหมู่ 9,17 และหมู่ 18 ทั้งผู้สูงอายุ คนหนุ่มสาว รวมกลุ่มจัดหาเปลือกมะพร้าวที่นำมาตากให้แห้ง และขยี้เอาเฉพาะผงของกาบมะพร้าว ให้เป็นผงธูปนำมาพันด้วยกระดาษสีให้เป็นลวดลายต่าง ๆ ประกอบเป็นต้นรูปทรงฉัตรเป็นที่สวยงามแปลกตา ช่วยกันทำต้นกระธูปแบบโบราณ ที่เกิดจากการร่วมแรงของชาวบ้าน มาช่วยกันขยี้กาบมะพร้าวจนร่วงออกมาเป็นผง
ผสมกับสมุนไพรหลายชนิดเพื่อให้เกิดความหอมทั้งใบทองพันชั่ง ใบอ้ม ใบเนียม ใบแน่งมานึ่ง แล้วนำไปตากแดด แล้วนำมาบดอีกครั้ง จะได้ฝุ่นไม้ที่มีกลิ่นหอมแล้วนำมาผสมกับปุ๋ยมะพร้าวห่อด้วยกระดาษให้ได้รูปทรงยาวเหมือนธูป นำกระดาษที่มีสีมาประดับพันให้เป็นลวดลายที่สวยงาม แล้วนำไปมัดติดกับดาวที่ทำจากใบลาน แล้วนำมาติดมัดกับคันที่ทำจากไม้ไผ่คล้ายคันเบ็ด ทำไว้มาก ๆ เสร็จแล้ว จะนำเข้าไปเสียบเข้าไปรูรอบปล้องไม้ไผ่ ทำเป็นชั้นขึ้นไปเหมือนฉัตร ประดับตกแต่งงดงาม ก่อนที่จะนำออกไปจุดในวันเวียนเทียนออกพรรษา
นายประการ งาคชสาร อายุ 80 ปี ปราญชาวบ้านซึ่งเป็นผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้าน ที่นำพาลูกหลานทำต้นกระธูปโบราณ เล่าว่าประเพณีการทำต้นกระธูป มีการทำทำมานานตั้งแต่สมัยโบราณ ก่อนออกพรรษาประมาณ 1 เดือน ชาวบ้านจะออกมามาวัดนำเอาเปลือกมะพร้าวที่นำมาตากให้แห้ง และขยี้เอาเฉพาะผงของกาบมะพร้าว ให้เป็นผงธูปนำมาพันด้วยกระดาษสีให้เป็นลวดลายต่าง ๆ ประกอบเป็นต้นรูปทรงฉัตรเป็นที่สวยงามแปลกตา ช่วยกันทำต้นกระธูปแบบโบราณ ที่เกิดจากการร่วมแรงของชาวบ้าน เมื่อถึงวันออกออกพรรษา ชาวบ้านจะนำต้นกระธูปมาจุดถวายเป็นพุทธบูชา ซึ่งจัดเป็นประจำนับร้อยปีมาแล้ว และปีนี้ชาวบ้านช่อระกาจัดใหญ่กว่าทุกปี ทั้งต้นกระธูปที่มีมากกว่าทุกปี และรูปแบบการจัดงานยิ่งใหญ่กว่าทุกปี เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่อีกด้วย
โดยชาวบ้านช่อระกา ทั้ง 3 หมู่บ้าน จะมีการจัดงานบุญกระธูปโบราณออกพรรษา วันที่ 16,17นี้ ที่วัดดาวเรือง บ้านช่อระกา ตำบลนาฝาย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ จะนำต้นกระธูปโบราณ ทีสร้างขึ้นจากพลังศรัทธาของชาวบ้าน นำออกไปจุดถวายเป็นพุทธบูชาในช่วงก่อนออกพรรษา จุดแล้วย่อมส่งกลิ่นหอมฟุ้งขจรขจายไปยังทิศต่างๆ กลิ่นหอมนี้ย่อมเป็นที่ชื่นใจแก่มนุษย์ทั้งปวงที่ได้สัมผัสกลิ่น ย่อมเกิดปิติและความสุขความเบิกบาน และมีการทำภาชนะสำหรับจุดไฟมาใช้ในประเพณีนี้ โดยนำ “ลูกตูมกา” ที่มีลักษณะคล้ายส้ม มีเปลือกแข็ง นำมาผ่าครึ่ง เอาเนื้อออก แล้วใส่งาหรือใช้น้ำมันพืชเป็นเชื้อเพลิง ใส่ด้ายที่ควั่นเป็นรูปตีนกา เป็นชนวนในการจุดไฟ