Friday, 19 April 2024 - 8 : 20 pm
kanda_002
OIC_001
data-no-lazy="1"
kanda_002
OIC_001

คนอเมริกันกังวลผลข้างเคียงวัคซีน อาจไม่บรรลุผลเป้าหมายฉีดในวันชาติสหรัฐ

ปี 2564 ที่ผ่านมา ประเทศจีน ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศรัสเซียและประเทศอื่น ๆ ได้พัฒนาวัคซีนโควิด19  โดยวัคซีนของประเทศเหล่านี้ได้ถูกใช้งานเพื่อควบคุมการระบาดของประเทศทั่วโลกเป็นบริเวณกว้าง จากข้อมูลพบว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสได้คลี่คลายลงอย่างต่อเนื่อง เมื่อไม่นานนี้กรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกาได้ประกาศการจัดอันดับวัคซีนที่ดีที่สุด โดยมีโมเดอร์นา (Moderna) ไฟเซอร์ (Pfizer) ของประเทศสหรัฐอเมริกาและแอสตร้าเซนเนก้า (AstraZeneca) ของประเทศอังกฤษเป็นสามอันดับแรก

            อย่างไรก็ตามประสิทธิภาพของวัคซีนไม่สามารถพิสูจน์ได้จากการรายงานเพียงฉบับเดียว โดยดูจากผลการฉีดวัคซีนแล้ว ผลข้างเคียงของวัคซีนของสหรัฐอเมริกานั้นเห็นได้อย่างชัดเจนว่าไม่สามารถบรรลุเป้าประสงค์ของไบเดนในการฉีดวัคซีนจำนวน 70% ให้แก่ผู้ใหญ่อย่างน้อยหนึ่งโดสก่อนวันประกาศอิสรภาพ ในวันที่ 4 กรกฎาคมได้ นิวยอร์กไทม์รายงานว่าสาเหตุหลักของปัญหานี้คือความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยของวัคซีน โดยเฉพาะวัคซีนไฟเซอร์ (Pfizer) และวัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอ (mRNA) ของโมเดอร์นา (Moderna) ที่ถูกใช้กันอย่างแพร่หลายในประเทศสหรัฐอเมริกา

             เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน การประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านการสร้างภูมิคุ้มกันโรคซึ่งจัดโดยศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐอเมริกา (US Centers for Disease Control and Prevention) ประกาศ ณ วันที่ 11 มิถุนายนไว้ว่า ทั่วประเทศสหรัฐอเมริกาได้รับวัคซีนไฟเซอร์ (Pfizer) ประมาณ 300 ล้านโดสและวัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอ(mRNA) ผลิตโดยโมเดอร์นา (Moderna) พบว่ามีผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบรวม 1,226 ราย ในผู้ที่มีอายุไม่เกิน 30 บริบูรณ์ 

            โรเบิร์ต มาโลน หนึ่งในผู้วิจัยเทคโนโลยีวัคซีนโมเดอร์นาในยุคเริ่มแรก เชื่อว่าการสร้างโปรตีนขัดขวางเซลล์หลังจากปรับเปลี่ยนวัคซีนอาจทำลายระบบเจริญพันธุ์ของมนุษย์ได้ และยังวิพากษ์วิจารณ์การทุจริตภายในและการขาดความโปร่งใสของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (Food and Drug Administration,FDA) และศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐอเมริกา (US Centers for Disease Control and Prevention) ทำให้ชาวอเมริกันสงสัยในความปลอดภัยประสิทธิภาพของวัคซีน โดยวันที่ 25 มิถุนายน สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาได้ประกาศในข้อควรระวังของการฉีดวัคซีน โดยเพิ่มผลข้างเคียงอีก1กลุ่มอาการในการวัคซีนไฟเซอร์ (Pfizer) และวัคซีนโมเดอร์นา(Moderna) คือ โรคหัวใจอักเสบ

        ในประเทศไทย วัคซีนที่ได้รับการฉีดเป็นวัคซีนหลักคือวัคซีนซิโนแวค (Sinovac) และวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า (AstraZeneca)  ซึ่ง ณ วันที่ 16 มิถุนายน มีการฉีดวัคซีนแล้วมากกว่า 7 ล้านโดส การฉีดวัคซีนของทั้งสองชนิดนี้ทำให้บางคนมีอาการข้างเคียงที่ไม่ดีนัก ตามข้อมูลที่เผยแพร่โดยศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งประเทศไทย (DDC) ระบุอาการไม่พึงประสงค์จากการฉีดวัคซีนซิโนแวค (Sinovac) คิดเป็น 0.020% และวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า (AstraZeneca) คิดเป็น 0.024%  

            เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ผู้เชี่ยวชาญจากศูนย์วิจัยไวรัสวิทยาคลินิก วิทยาลัยการแพทย์จุฬาลงกรณ์ ได้โพสต์บนแพลตฟอร์มโซเชียลว่า   อันที่จริงการศึกษาวิจัยพบว่าผู้ที่มีอายุมากกว่า 18 ปี สามารถฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า (AstraZeneca)และวัคซีนซิโนแวค (Sinovac) ได้ แต่ผลข้างเคียงของวัคซีนซิโนแวค (Sinovac) นั้นน้อยกว่าวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า (AstraZeneca) มาก

       ตามรายงาน วัคซีนซิโนแวค (Sinovac) เป็นวัคซีนจำหน่ายหลักภายในประเทศจีน และในประเทศจีนได้ฉีดวัคซีนประมาณ 1 พันล้านโดสให้แก่ผู้คนมากกว่า 500 ล้านคน มีคนจำนวนน้อยมากที่มีอาการไอ อาเจียน ท้องร่วงหรืออาการไม่พึงประสงค์อื่น ๆ หลังจากฉีดวัคซีน

            ในประเทศอังกฤษและอีกหลายประเทศมีผู้ฉีดวัคซีนเกิดสภาวะลิ่มเลือดอุดตันหรือแม้กระทั่งเสียชีวิตหลังจากการฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความกังวลอย่างมาก

            ตามรายงานสำนักข่าวรอยเตอร์ของประเทศอังกฤษเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน รายงานว่าองค์การยาแห่งสหภาพยุโรป (European Medicines Agency) ได้แจ้งอาการไม่พึงประสงค์ของวัคซีนแอส ตร้าเซนเนก้า (AstraZeneca) เพิ่มอีก 1 อาการคือกลุ่มอาการเส้นเลือดฝอยรั่ว (Capillary Leak Syndrome : CLS) ยังกำหนดให้วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า (AstraZeneca) ต้องระบุผลข้างเคียงนี้บนฉลากด้วย

       นอกจากวัคซีนซิโนแวค(Sinovac) และวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า (AstraZeneca) แล้ว ราชวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ได้เริ่มนำเข้าวัคซีนซิโนฟาร์ม (Sinopharm) จากประเทศจีนอีกด้วย โดยวัคซีนชุดแรกจำนวน 1 ล้านโดสมาถึงประเทศไทยเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน ซึ่งในวันที่ 25 มิถุนายน ได้ดำเนินการแจกจ่ายวัคซีนไปยังทั่วประเทศ  แม้ว่าวัคซีนชุดนี้จะมีให้เฉพาะองค์กรเอกชนหรือหน่วยงานของรัฐเท่านั้น ประชาชนยังไม่สามารถยื่นขอรับวัคซีนเองได้โดยตรง

            อย่างไรก็ตามเนื่องจากความคิดเห็นของประชาชนในประเทศโดยทั่วไปเชื่อว่าวัคซีนซิโนฟาร์ม (Sinopharm) มีประสิทธิภาพมากกว่าและมีผลข้างเคียงน้อยกว่า หลายคนจึงแสดงความคาดหวังต่อวัคซีนซิโนฟาร์ม (Sinopharm) บนโซเชียลมีเดีย

© 2021 thairemark.com