ชัยภูมิ – หน่วยงานภาครัฐและเอกชนเมืองชัยภูมิเตรียมจัดยิ่งใหญ่อลังการกว่าทุกปี! งานประเพณี”แห่ผีสุ่ม” หนึ่งเดียวในโลก เพื่อสืบสานประเพณีเดือนสิบและส่งเสริมการท่องเที่ยวกระตุ้นเศรษฐกิจระหว่างวันที่วันที่ 9-10 ก.ย.2566
เมื่อเวลา 16.30 น.วันที่ 2 กันยายน 2566 ที่ห้างสรรพสินค้าโรบินสันชัยภูมิ นายโสภณ สุวรรณรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ พร้อมด้วย นายวรศิษย์ พุฒจีบ นายอำเภอเมืองชัยภูมิ นางเภาลีนา โล่ห์วีระ นายกองค์กรบริหารส่วนตำบลบ้านเล่า และทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันเปิดแถลงการณ์เตรียมความ ในการจัดงานประเพณีแห่ฝีสุ่ม ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางประเพณีวัฒนธรรมของ จ.ชัยภูมิ ขึ้นชื่อมีให้ชมเพียงแห่งเดียวในโลก ที่ จ.ชัยภูมิ ที่จะมีขึ้นในปีนี้ระหว่าง วันที่ 9-10 ก.ย.2566 นี้ ที่ปีนี้จะเป็นการจัดสืบสานงานประเพณีแห่ผีสุ่ม หนึ่งเดียวในโลกอย่างยิ่งใหญ่กว่าทุกปีที่ผ่านมา มีขบวนแห่ผีสุ่มให้นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางมาเที่ยวชมได้ในช่วง 2 วัน ซึ่งในวันแรก 9 ก.ย.66 จะมีขบวนแห่ผีสุ่ม กว่า 1,000 ตัว เพื่อแห่ขบวนบอกกล่าวและบอกบุญที่บริเวณชุมชนตลาดในเขตเทศบาลเมืองชัยภูมิ
โดยเริ่มต้นจากหน้าอนุสาวรีย์เจ้าพ่อพญาแล ไปตามถนนบรรณาการ ถึงสี่แยกเลี้ยวขวาไปตามถนนโนนม่วง ถึงสี่แยกโรงเลื่อยเลี้ยวขวาผ่านมูลนิธิสว่างคุณธรรม ถึงสี่แยกหนองบ่อ เลี้ยวขวาผ่านตลาดสดเทศบาลเมืองชัยภูมิ และสิ้นสุดขบวนแห่ที่อนุสาวรีย์เจ้าพ่อพญาแล ย่านกลางใจเมืองชัยภูมิ ในระหว่างขบวนแห่ผ่านก็ขอเชิญชวนผู้สนใจร่วมทำบุญกับผีสุ่ม โดยนำข้าวสาร อาหารแห้ง ใส่ในตะกร้าผีสุ่มเพื่อนำไปทำพิธีอุทิศส่วนกุศลให้กับญาติผู้ล่วงลับ ต่อในวันที่ 10 ก.ย.66 ที่วัดสมศรี ในหมู่บ้านเสี้ยวน้อย ตำบลบ้านเล่า อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ ที่เป็นหมู่บ้านต้นกำเนิดประเพณีแห่ผีสุ่มหนึ่งเดียวในโลกของ จ.ชัยภูมิ ตั้งแต่เวลา 06.30 น.เป็นต้นไป จะมีขบวนแห่ผีสุ่มยาวหลายกิโลเมตร ไปทั่ว 15 หมู่บ้าน ใน ต.บ้านเล่า พร้อมทำพิธีไหว้ผีบ้าน ผีเรือน ผีปู่ย่าตายาย บวงสรวงผีสุ่มและทำบุญ ที่จะตรงกับช่วงประเพณีบุญเดือนสิบ ของทุกปีตามประเพณีไทยชาวไทยอีสานมาช้านานแต่โบราณ หรือเรียกว่า บุญข้าวสาก ที่ชาว จ.ชัยภูมิ
และประเพณีแห่ผีสุ่ม จะถือปฏิบัติสืบทอดต่อกันมายาวนาน เพื่อการบริจาคทานให้กับญาติ ผู้ล่วงลับ ผีไร้ญาติไม่มีญาติพี่น้องทำบุญไปหา ต้องเร่ร่อนไม่ได้ไปผุดไปเกิด ที่จะมีขบวนแห่ผีสุ่มของชาวบ้านทั้ง 15 หมู่บ้านของตำบลบ้านเล่า และจากตำบลใกล้เคียง อย่างยิ่งใหญ่ทุกปี เริ่มตั้งต้นจากโรงเรียนบ้านเสี้ยวน้อยไปยังวัดสมศรี เพื่อเข้าสู่พิธีเปิดงานประเพณีแห่ผีสุ่ม หนึ่งเดียวในโลก ของที่นี่ที่หาชมได้ยากมีให้ชมเพียงหนึ่งเดียวในโลก นอกจากนี้ยังมีการแสดงเล่าขานตำนานผีสุ่ม การประกวดชุดผีสุ่ม ประกวดวาดภาพ สาธิตการทำหน้ากากผีสุ่ม พร้อมตลาดนัดสินค้าชื่อดังชุมชนของจังหวัดชัยภูมิ ให้นักท่องเที่ยวสามารถมาเลือกซื้อได้อีกมากมายในงานนี้ด้วย โดยการจัดงาน”ประเพณีแห่ผีสุ่ม หนึ่งเดียวในโลก” ปีนี้ของ จ.ชัยภูมิ
นายโสภณ สุวรรณรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ กล่าวว่า ขอเชิญชวนนักท่องเที่ยวและผู้สนใจร่วมงานประเพณีแห่ผีสุ่ม ระหว่างวันที่ 9 – 10 กันยายน 2566 ซึ่งทุกคนที่มาท่องเที่ยวในงานจะได้ทั้งบุญกุศลและความสุนกสนาน ซึ่ง จ.ชัยภูมิ ได้มีการต่อยอดการพัฒนาให้ประเพณีแห่ผีสุ่ม ซึ่งมีให้ชมเพียงแห่งเดียวในโลก ให้เป็นแลนด์มาร์คแห่งใหม่ด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดชัยภูมิ และของประเทศไทยต่อไปที่จะจะเตรียมจัดให้ประเพณีแห่ผีสุ่ม ได้เป็นเวทีการร่วมศูนย์การท่องเที่ยวที่มีศักยภาพได้มากขึ้น ที่ต่อไปจะมีแนวทางให้ประเพณีแห่ผีสุมของจ.ชัยภูมิ ในแต่ละปีได้มีการเชื่อมโยงให้เป็นเวทีการท่องเที่ยวมาชมการร่วมตัวของขบวนแผ่ผีนานาชาติได้อีกด้วย ซึ่งจะเป็นการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ที่เชื่อว่าในทุกประเทศทั่วโลกก็มีผีต่างๆตามความเชื่อ หน้าผีต่างๆไม่ว่าไทย –ลาว ต่างประเทศทางยุโรป หรือเอเชีย ที่ต่อไปน่าจะเป็นการเชื่อโยงการท่องเที่ยวจากต่างประเทศที่จะเปิดเวทีงานประเพณีแห่ผีสุ่มหนึ่งเดียวในโลก สามารถเชิญชวนให้ขบวนแห่หน้ากากผีต่างๆในจากทั่วโลกมารวมกันที่ จ.ชัยภูมิ ในการจัดงานประเพณีแห่ผีสุ่ม ของทุกปีในอนาคตที่ต่อไปจะสามารถเชิญชวนให้นักท่องเที่ยวจากต่างประเทศมาท่องเที่ยวที่ จ.ชัยภูมิ และประเทศไทยได้มากขึ้นอีกด้วย
สำหรับประเพณีแห่“ผีสุ่ม” เป็นความเชื่อที่ถูกสืบทอดมาแต่โบราญของชาวบ้านเสี้ยวน้อย ต.บ้านเล่า อ.เมือง จ.ชัยภูมิ ที่จะจัดขึ้นในช่วงบุญเดือนสิบ หรือ บุญข้าวสาก ของทุกปี และถือเป็นประเพณีของชาวอีสาน ลูกหลานชาวชัยภูมิ มาช้านานที่จะไปทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว ส่วนผีที่ไม่มีลูกหลานหรือญาติไปทำบุญให้ ก็จะไปขอรับส่วนบุญหรืออาหารจากผีตนอื่น แต่ด้วยความอับอายจึงเอาสุ่มไก่ สุ่มดักปลา มาคลุมหัวคลุมตัวเองเพราะอับอายที่ไม่มีลูกหลานทำบุญไปให้ จึงเป็นที่มาของประเพณีแห่ผีสุ่ม เพื่อเตือนใจให้ลูกหลานได้กลับไปทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับบรรพบุรุษ อีกทั้งยังเป็นการสร้างความผูกพัน ความรัก ความสามัคคีของคนในครอบครัวและในชุมชน เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นตามหลักพระพุทธศาสนา มาอย่างยาวนานแต่โบราณที่ชาวชัยภูมิ ได้ช่วยกันอนุรักษ์มาได้จนปัจจุบันได้อีกด้วย
โดย…มัฆวาน วรรณกุล ผู้สื่อข่าวภูมิภาคชัยภูมิ