Sunday, 5 May 2024 - 11 : 14 am
kanda_002
OIC_001
data-no-lazy="1"
kanda_002
OIC_001

ส.ประกันฯชงคปภ.อุ้มธุรกิจประกันสุขภาพ​ก่อนเจ๊ง ขอเพิ่มหักลดหย่อนภาษีจาก​ 2.5หมื่นเป็น 4หมื่นบ.

นายปิยะพัฒน์ วนอุกฤษฏ์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.แปซิฟิค ครอส ประกันสุขภาพ ในฐานะประธานคณะกรรมการประกันภัยอุบัติเหตุและสุขภาพ สมาคมประกันวินาศภัยไทย เปิดเผยว่า​เมื่อเร็วๆนี้​สมาคมได้ส่งข้อเสนอแนะไปยังสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)เพื่อ เรียบร้อยแล้ว​ เพื่อข่วยเหบือธุรกิจประกันสุขภาพที่เสี่ยงต่อการขาดทุนในปัจจุบัน

ทั้งนี้สืบเนื่องจากการรับประกันสุขภาพผู้สูงอายุปีจจุบันจะมีอัตราเคลมสินไหม (loss ratio) เฉลี่ยเกิน 80% ขึ้นไป หรือแทบจะขาดทุน ทำให้ช่วงนี้ 8 บริษัท (ซิกน่าประกันภัย, ทิพยประกันภัย, แปซิฟิค ครอส ประกันสุขภาพ, วิริยะประกันภัย, เมืองไทยประกันภัย, แอกซ่าประกันภัย, เอ็ทน่า ประกันสุขภาพ, แอลเอ็มจีประกันภัย)ที่ขายประกันสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ ปรับนโยบายการขายโดยรับประกันด้วยความระมัดระวังขึ้น

โดยมี 6 ประเด็นที่สมาคมฯได้เสนอขอไปยังคปภ.ได้แก่

1.ขอให้บริษัทประกันสามารถปรับเบี้ยประกันสุขภาพลูกค้าแต่ละรายได้ แต่ขณะนี้จากคำสั่ง คปภ.เรื่องมาตรฐานประกันสุขภาพฉบับใหม่ ให้การันตีการต่ออายุและไม่อนุญาตให้ปรับเบี้ยประกันเป็นรายบุคคล ฉะนั้นมองว่าตรงนี้ควรทำได้ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดี ซึ่งในอนาคตพอร์ตประกันของทุกบริษัทจะมีกลุ่มผู้อายุที่มากขึ้น จึงน่าจะบริหารจัดการความเสี่ยงได้ดี

2.บริษัทประกันปรับเบี้ยประกันระหว่างน้อยสุดถึงมากสุด (Min-Max) สำหรับผู้สูงอายุให้มีความกว้างขึ้นเพื่อความเหมาะสม

3.บริษัทประกันสามารถกำหนดใช้เงื่อนไขความรับผิดสูงสุดตลอดสัญญาประกันภัย (life time limit) เช่น กำหนดความคุ้มครอง 4-5 ล้านบาทต่อโรค เป็นต้น

4.กำหนดเรื่องมีส่วนร่วมจ่าย (copayment) แบบเฉพาะโรค เพื่อทำให้เบี้ยประกันถูกลงได้ และที่สำคัญมากเพราะภาคเอกชนทำไม่ได้คือ

5.ภาครัฐต้องกระตุ้นและส่งเสริมให้มีการซื้อประกันสุขภาพตั้งแต่อายุยังน้อย ซึ่งทำได้หลายอย่าง โดยเฉพาะเพิ่มวงเงินลดหย่อนภาษีจากค่าเบี้ยประกันสุขภาพ จากปัจจุบัน 25,000 บาท เป็น 40,000 บาท เช่น เริ่มซื้อประกันสุขภาพตั้งแต่อายุ 40-50 ปี เพื่อให้มีความคุ้มครองสุขภาพได้ต่อเนื่อง

และ 6.ผลักดันให้สามารถใช้ประกันสุขภาพเอกชนร่วมกับสวัสดิการของรัฐ โดยเฉพาะโรงพยาบาลของภาครัฐ เช่น ศิริราช, รามาธิบดี เป็นต้น เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงข้อมูล hospital network ร่วมกัน และช่วยลดการเข้ารักษาในโรงพยาบาลเอกชน

© 2021 thairemark.com