Thursday, 12 September 2024 - 1 : 52 pm
kanda_002
OIC_001
data-no-lazy="1"
kanda_002
OIC_001

สมาคมส่งเสริมเศรษฐกิจและความร่วมมือการค้าอาเซียน-จีนหนุนเศรษฐกิจ Green Industy ภาคเหนือ

สมาคมส่งเสริมเศรษฐกิจและความร่วมมือการค้าอาเซียน-จีน ได้เตรียมความพร้อมดันนักลงทุนจากจีน เข้าไทย เพื่อสร้างเศรษฐกิจสีเขียวโดยเฉพาะอุตสาหกรรมไม้ไผ่ หลังยุคโควิด-19 หวังส่งเสริมการค้าการลงทุนระหว่างกลุ่มนักธุรกิจไทยและนักธุรกิจจีน รองรับการตั้งเขตนิคมอุตสาหกรรมสีเขียวใน 8 จังหวัดภาคเหนือ เล็งจังหวัดแพร่ น่านเป็นเป้าหมายหลัก เพื่อเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ส่งเสริมการค้าการลงทุนเส้นทางรถไฟความเร็วสูงจีนลาว เพื่อให้สร้างไทยขึ้นชั้นศูนย์กลางเศรษฐกิจสีเขียวของภูมิภาคอย่างแท้จริง

สมาคมส่งเสริมเศรษฐกิจและความร่วมมือการค้าอาเซียน-จีน ที่มีนายวิจิตร หยาง เป็นนายกสมาคมฯ กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ ในหลายปีที่ผ่านมา สมาคมฯ ได้ทำหน้าที่ในการส่งเสริมการค้าการลงทุนในกลุ่มภาคเหนือตอนบน 8 จังหวัด ได้นำผู้ประกอบการ นักลงทุนจากไทยและจีนได้แลกเปลี่ยนตามเส้นทาง one belt one road เส้นทางคุนหมิง กรุงเทพ อาทิ นำผู้ว่าราชการ 4 จังหวัดภาคเหนือตอนบนกลุ่ม 2 เยือนนครคุณหมิงเพื่อส่งเสริมให้มีการลงทุนและการการค้าระหว่างภาคเหนือกับนครคุณหมิง และได้มีการเชื่อมโยงความร่วมมือกับสถาบันไม้ไผ่นานาชาติจีน International Bamboo and Rattan INBAR

ในการส่งเสริมอุตสาหกรรมไม้ไผ่ในประเทศไทย และในเวลาต่อมาได้ดำเนินการนำคณะนักธุรกิจจีนมาเยือน 4 จังหวัดภาคเหนือเมื่อปี 2558 และมีนักธุรกิจที่สนใจจะลงทุนอุตสาหกรรมไม้ไผ่ ซึ่งได้แลกเปลี่ยนข้อมูลกันตลอดมา จึงได้มีแนวคิดในการส่งเสริมการค้าการลงทุนในการสร้าง นิคมอุตสาหกรรมไม้ไผ่ โดยการสนับสนุนด้านการค้าการลงทุนและงานวิจัยจากสถาบันไม้ไผ่นานาชาติจีน เพื่อสร้างเศรษฐกิจสีเขียวในภูมิภาคเพื่อลดปัญหาโลกร้อนจาก Green house effect สร้างป่าไผ่เพื่อเป็นวัตถุดิบอุตสาหกรรม สร้างระบบนิเวศที่ดี และสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน

ในปลายปี 2566 จังหวัดน่านร่วมกับ INBAR จะได้จัดงาน ประชุมไผ่โลก และงาน Bamboo Expo ซึ่งจะมีการระดมนักวิจัย นักลงทุนจากสาธารณรัฐประชาชนจีนและนานาชาติ เพื่อส่งเสริมการสร้างอุตสาหกรรมสีเขียว ซึ่งจะเป็นผลประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและระบบนิเวศของประชาชนในภูมิภาคต่อไป

ในวันนี้ได้มีนักธุรกิจจีนมาร่วมประชุม 5 กลุ่มบริษัท ที่ให้ความสนใจร่วมพัฒนาอุตสาหกรรมไม้ไผ่ และอุตสาหกรรมการเกษตรของไทย

© 2021 thairemark.com