Sunday, 8 December 2024 - 4 : 42 am
kanda_002
OIC_001
data-no-lazy="1"
kanda_002
OIC_001

โฆษก ‘รทสช.’ติงมติบอร์ดค่าจ้างเสนอปรับค่าแรงขั้นต่ำม่สอดคล้องค่าครองชีพ

โฆษกรวมไทยสร้างชาติติงมติบอร์ดค่าจ้างเสนอปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำไม่สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจและค่าครองชีพในปัจจุบัน พร้อมเสนอให้เพิ่มองค์ประกอบกรรมการพิจารณาให้หลากหลายกว่าที่เป็นอยู่ ไม่ใช่มีแค่ไตรภาคี

เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2566 นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ สส.ราชบุรี โฆษกพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) ให้สัมภาษณ์ถึงมติคณะกรรมการไตรภาคีในการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศ 2-16 บาทว่า สส.ของพรรครวมไทยสร้างชาติหลายคนเห็นว่า การประกาศขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในครั้งนี้ยังเป็นปัญหาที่รัฐบาลต้องนำมาปรับปรุงแก้ไข เพราะต่ำกว่าที่ควรจะเป็นไม่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน เพราะค่าครองชีพสูงขึ้นอัตราเงินเฟ้อ หรือดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น การพิจารณาต้องสอดคล้องกับสิ่งเหล่านี้ด้วย และควรปรับขึ้นทุกปีคล้ายกับการขึ้นเงินเดือนของภาคเอกชนที่เป็นรายเดือน และข้าราชการที่สามารถชดเชยค่าครองชีพที่สูงขึ้นจริงหรือเหมาะสมกว่าที่ปรับค่าแรงขั้นต่ำที่ประกาศออกมา

นายอัครเดช กล่าวว่า การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในแต่ละครั้งควรมีหลักเกณฑ์กำหนดที่ชัดเจน เช่น ต้องดูอัตราดอกเบี้ย อัตราเงินเฟ้อ การผันแปรของราคาสินค้าอุปโภคและบริโภคนำมาประกอบการพิจารณาด้วยอย่างจริงจังมีมาตรฐาน ดังนั้น พรรครวมไทยสร้างชาติจะยื่นญัตติด่วนทันทีที่เปิดสมัยประชุมสภาฯ ถึงหลักเกณฑ์ในการพิจารณา และทางพรรคจะเสนอว่า ต่อไปการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ นอกจากคณะกรรมการไตรภาคีแล้วจะต้องมีภาคส่วนอื่น ๆ เข้ามาร่วมเป็นคณะกรรมการพิจารณาร่วมกับคณะกรรมการไตรภาคีด้วย เช่น หน่วยงานที่ดูแลสินค้าอุปโภคบริโภค หรือหน่วยงานที่ดูแลเรื่องอัตราเงินเฟ้อ เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย ควรเข้ามาเป็นกรรมการพิจารณาด้วย เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นอยู่และค่าครองชีพที่แท้จริง

โฆษกพรรครวมไทยสร้างชาติ กล่าวว่า การประกาศของคณะกรรมการไตรภาคีใช้หลักเกณฑ์เก่ามาพิจารณา ซึ่งใช้มาโดยตลอด แต่จากนี้ไปพรรครวมไทยสร้างชาติขอเสนอให้รัฐบาลทบทวนหลักเกณฑ์การพิจารณาใหม่

“ อัตราค่าแรงขั้นต่ำที่คณะกรรมการไตรภาคีเคาะออกมาอาจจะเปลี่ยนแปลงตัวเลขใหม่ได้ หากผู้มีอำนาจโดยเฉพาะนายกรัฐมนตรีพิจารณาว่า ไม่เหมาะสมจขอให้กระทรวงแรงงานกลับไปทบทวนใหม่ แต่ในส่วนของสส.ของพรรครวมไทยสร้างชาติอยากจะเสนอเพื่อให้เป็นบรรทัดฐานว่า การพิจารณาในครั้งต่อไปต้องมีหลายภาคส่วนเข้ามาร่วมเป็นกรรมการพิจารณามากขึ้นกว่าในปัจจุบัน ไม่ใช่เฉพาะตัวกระทรวงแรงงานตัวแทนนายจ้างและตัวแทนลูกจ้างเท่านั้น”โฆษกพรรครวมไทยสร้างชาติกล่าว

© 2021 thairemark.com