Sunday, 5 January 2025 - 4 : 59 pm
kanda_002
OIC_001
data-no-lazy="1"
kanda_002
OIC_001

40 องค์กรปชต.- ภาคปชช. เรียกร้อง 3 ข้อ “เลือกนายกฯ”แนะรัฐสภาเคารพมติมหาชน

ภายหลังจากการเลือกตั้งทั่วไปสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 พรรคก้าวไกลได้รับคะแนนเสียงเลือกตั้งเป็นอันดับที่ 1 ได้ร่วมกับพรรคการเมือง 7 พรรค รวมกันเป็น 8 พรรคการเมืองมีมติเห็นพ้องเสนอชื่อนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล เป็นนายกรัฐมนตรี

ต่อมาวันที่ 13 กรกฎาคม 2566 ได้มีการเปิดประชุมรัฐสภา เพื่อลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ของประเทศไทย โดยวิธีการขานชื่อ มีผู้เข้าร่วมประชุมทั้ง ส.ส. และ ส.ว.รวม 705 คน โดยผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อมีเพียงคนเดียว คือ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคและแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีจากพรรคก้าวไกล ปรากฎผลการลงคะแนนมีผู้เห็นชอบ 324 เสียง ไม่เห็นชอบ 182 เสียง งดออกเสียง 199 เสียง และขาดประชุม 44 เสียง จึงมีคะแนนไม่ถึงกึ่งหนึ่งของสมาชิกรัฐสภาตามบทเฉพาะกาลในรัฐธรรมนูญ คือ 375 จาก 749 คน ทำให้นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ไม่ได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรี

ผลการลงมติดังกล่าวแสดงให้เห็นชัดเจนว่า สมาชิกวุฒิสภา ได้กระทำการลุแก่อำนาจ ร่วมกันกระทำการอย่างชัดแจ้งทำลายล้างฉันทามติของประชาชน กระทำการโดยไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญมาตรา 159 ที่มีเจตนารมณ์กำหนดให้พรรคการเมืองเสนอรายชื่อบุคคลที่พรรคการเมืองประสงค์จะสนับสนุนให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพื่อให้ประชาชนได้ทราบล่วงหน้าว่าถ้าตนเลือกพรรคการเมืองใด ตนจะได้ผู้ใดมาเป็นนายกรัฐมนตรี หากพรรคการเมืองใดได้รับคะแนนเสียงข้างมาก ย่อมเป็นเจตจำนงของประชาชนที่จะเลือกผู้ที่พรรคการเมืองนั้นเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรี

สมาชิกวุฒิสภายังเป็นผู้ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งของประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย โดยที่การมีส่วนร่วมในการเลือกผู้ที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีของวุฒิสภาเป็นเวลา 5 ปีแรกนั้น เป็นผลมาจากบทเฉพาะกาล มาตรา 272 ในรัฐธรรมนูญฉบับ 2560 ที่เขียนขึ้นโดยผู้ได้รับการแต่งตั้งจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ทำการรัฐประหาร โดยมีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นหัวหน้ากองทัพไทย แทนรัฐธรรมนูญที่ คสช. ฉีกทิ้งไป

องค์กรประชาธิปไตยและภาคประชาชน ตามรายชื่อข้างท้าย จึงขอเรียกร้อง ดังนี้

  1. สมาชิกรัฐสภาพึงสร้างการเมืองใหม่ ปฏิรูปตนเอง โดยคำนึงถึงมติมหาชน ให้เหมาะสมสอดคล้องกับการพัฒนาการเมืองภาคประชาชนในการเลือกตั้งทั่วไปที่ผ่านมา ที่สามารถก้าวข้ามวงจรอุบาทว์และการใช้อิทธิพลในการแข่งขันเอาชนะการเลือกตั้งได้
  2. สมาชิกรัฐสภาพึงทบทวนการออกเสียงลงคะแนน ให้เป็นไปตามฉันทามติของประชาชน ที่ได้แสดงออกในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 โดยเฉพาะให้สมาชิกวุฒิสภาใช้ฉันทามติของประชาชน ในการทำหน้าที่ที่กำหนดไว้ในบทเฉพาะกาล หากไม่ประสงค์จะทำหน้าที่ ควรลาออกจากสมาชิกภาพ
  3. สมาชิกรัฐสภาต้องจัดให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560 โดยมีข้อเสนอ เฉพาะหน้า ดังนี้

3.1 ยกเลิกมาตรา 272 ไม่ให้วุฒิสภามีอำนาจเลือกนายกรัฐมนตรี และไม่สามารถเสนอชื่อคนนอกที่ไม่ได้อยู่ในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองที่แจ้งไว้ในระหว่างการเลือกตั้ง มาเป็นนายกรัฐมนตรีได้

3.2 ให้มีการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดย สภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.)

เพื่อให้เป็นไปตามข้อเรียกร้องข้างต้น จึงขอให้ภาคประชาชน ภาคประชาสังคม ได้รวมตัวกันแสดงออกอย่างสันติวิธี เพื่อเคลื่อนไหวกดดัน บอยคอต ใช้กลวิธีสัตยาเคราะห์อย่างต่อเนื่อง ไม่ยอมจำนนต่อการใช้อำนาจคอร์รัปชันโดยมิชอบ ของผู้ที่ต้องการจะสืบอำนาจครอบครองทรัพยากรของแผ่นดิน เพื่อผลประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้อง โดยไม่คำนึงถึงผลประโยชน์โดยรวมของประชาชนและประเทศชาติ

ด้วยความเชื่อมั่นระบอบประชาธิปไตยและหลักการสิทธิมนุษยชน

17 กรกฎาคม 2566

สำหรับรายนาม 40 องค์กรประชาธิปไตย และภาคประชาชน

  1. สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.)
  2. คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.)
  3. มูลนิธิองค์กรกลางเพื่อประชาธิปไตย (P-Net)
  4. สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.)
  5. คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.)
  6. ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (P-Move)
  7. ขบวนผู้หญิงปฏิรูปประเทศไทย (We Move)
  8. สถาบันปรีดี พนมยงค์
  9. เครือข่ายรัฐสวัสดิการเพื่อความเท่าเทียมและเป็นธรรม (We Fair)
  10. องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อมธ.)
  11. เครือข่ายนักวิชาการเพื่อการกระจายอำนาจ
  12. เครือข่ายจังหวัดจัดการตนเอง
  13. มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม (มอส.)
  14. กลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตยฃ
  15. เครือข่ายประชาชนค้านคอร์รัปชัน(คปต.)
  16. กลุ่มพิทักษ์สิทธิเสรีภาพของประชาชน(กพส.)
  17. เครือข่ายสลัม 4 ภาค
  18. มูลนิธิผสานวัฒนธรรม
  19. มูลนิธิสันติภาพและวัฒนธรรม
  20. มูลนิธิส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
  21. สถาบันจิตร ภูมิศักดิ์
  22. เครือข่ายประชาชนปฏิรูปตำรวจ (Police Watch)
  23. เครือข่ายศิลปินเพื่อประชาธิปไตย
  24. ศูนย์ประสานงานเยาวชนเพื่อสังคมนิยมประชาธิปไตย (YPD)
  25. กลุ่ม Non-Binary Thailand
  26. เครือข่ายประชาชนปกป้องประเทศ
  27. สถาบันสังคมประชาธิปไตย
  28. กลุ่มแท็กซี่ทวงคืนความยุติธรรม
  29. สหภาพคนทำงานกลางคืน
  30. สมาคมส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืนเลุ่มน้ำโขง
  31. เครือข่ายคนหนุ่มสาว จังหวัดยโสธร
  32. ชมรมอนุรักษ์และฟื้นฟูลุ่มน้ำสงคราม
  33. ชมรมเด็กฮักถิ่นภูมินิเวศน์ภูพาน
  34. เครือข่ายคนฮักทุ่งกุลา
  35. เครือข่ายนักรบผ้าถุง
  36. กลุ่มสังคมนิยมประชาธิปไตย
  37. กลุ่มสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.40)
  38. กลุ่มผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย (ผรท.)
© 2021 thairemark.com