Thursday, 2 May 2024 - 2 : 21 pm
kanda_002
OIC_001
data-no-lazy="1"
kanda_002
OIC_001

เหยื่อแจ้งจับบ.แสบบังคับตั้งแชร์ลูกโซ่สูญกว่า 5 พันล.

ศคอ.พาผู้เสียหายแจ้งความ ปคบ.เอาผิดบริษัทฯ แสบซื้อใบอนุญาต“ขายตรง”มาบังหน้าทำแชร์ลูกโซ่ ใช้โฉนดที่ดินแทนสินค้า พบมูลค่าความเสียหายกว่า 5,000 ล้าน

ที่ศูนย์รับแจ้งความกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง พหลโยธิน จตุจักร กทม.น.ส.กฤษอนงค์ สุวรรณวงศ์ ประธาน ศูนย์ประสานงานส่งเสริมเครือข่าย-ออนไลน์ (ศคอ.) พาผู้เสียหายพร้อมตัวแทนผู้เสียหายและผู้บริโภคที่ร้องเรียน ศคอ. และองค์การต่อต้านแชร์ลูกโซ่ (อตช.) ให้ตรวจสอบบริษัทฯ ขายตรงแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ มีพฤติการณ์เป็นอาชญากรรมต่อเนื่อง โดยเมื่อปี 2563 ผู้บริหารบริษัทขายตรงแห่งนี้เคยเป็นอดีตแม่ทีมให้แก่บริษัทขายตรงสินค้าประเภทข้าวสารรายใหญ่แห่งภาคอีสานชักชวนผู้คนลงทุนซื้อข้าวสารให้ปันผลสูงเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด และไม่จ่ายผลตอบแทน

คราวนั้นเกิดเสียหายกว่า 4,000 ล้านบาท เป็นคดีความโด่งดัง หลังจากบริษัทขายข้าวสารนั้นล้มไป เข้าพบพนักงานสอบสวน บก.ปคบ. วันนี้ได้พาผู้เสียหายเข้าแจ้งความร้องทุกข์ พนักงานสอบสวน บก.ปคบ.ให้ตรวจสอบบริษัทฯดังกล่าวว่าทำธุรกิจขายตรง ตามที่จดทะเบียนต่อ สคบ.หรือไม่ รวมทั้งความผิดตาม พ.ร.บ.แชร์ พ.ศ. 2534 ,ความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพ์ฯ มาตรา 14 และ ความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน

น.ส.กฤษอนงค์ เปิดเผยว่า ต่อมากลุ่มเครือข่ายดังกล่าวแตกตัวออกมาเปิดบริษัทขายตรงใหม่ ทำนิติกรรมการเงินอำพราง โดยใช้ใบอนุญาตขายตรงออกโดยสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคบังหน้า ซื้อใบอนุญาตจดทะเบียนขายตรงจากบริษัทเก่า ( Take Over ) สร้างภาพชักชวนลงทุนในรูปแบบต่างๆ สร้างโครงการอสังหาริมทรัพย์ โครงการบ้าน คอนโด และที่สำคัญรับขายฝาก เน้นระดมเงิน แต่ต้องนำเงินที่ขายฝากได้มาลงทุนต่อกับทางบริษัทด้วย โดยได้ผลตอบแทนทุกๆ 10 วัน เดือนละ 12% ปีละ 144% ซึ่งเกินกว่ากฎหมายกำหนด และเพิ่มความเข้มข้นด้วยการให้สมาชิกนำเอาคอมมิชชั่นที่ได้จากการลงทุนมาเปิดวงแชร์วงละ 15 มือ ซึ่งบริษัทเป็นท้าวแชร์ ร่วมมือกับแม่ข่ายแม่ทีม อยู่ตอนต้นมือ 1-5 มือ ( รับยอดก่อนปิดวง) ซึ่งมีมากถึง 758 วงแชร์ ( มูลค่าสูงสุด 758 x 1,000,000 x 15 มือ = 11,370,000,000 ล้านบาท )

ล่าสุดเมื่อ 10 พ.ย. 66 ได้ประกาศไม่จ่ายผลตอบแทนทั้งหมดและทำการย้ายแพลตฟอร์มเปลี่ยนชื่อบริษัทฯ ใหม่ เพื่อตัดวงจรล้มวงแชร์เดิม มาตั้งวงแชร์ใหม่เปิดบริษัทใหม่แทน ซึ่งทำมาแล้วหลายรอบ นับว่าเป็นการก่ออาชญากรรมอย่างต่อเนื่อง เบื้องต้น ศคอ.คาดว่าจะมีความเสียหายเฉพาะรอบนี้ รวมกว่า 5,000 ล้านบาท

ทาง ศคอ.ได้รวบรวมหลักฐานจากผู้เสียหาย และประชาชนผู้ส่งข้อมูล ส่งต่อหน่วยงานรัฐ ตามนโยบายเป้าหมายหลัก คือ
1.ผู้เสียหายต้องได้เงินคืน
2.ผู้กระทำผิดต้องได้รับโทษ
3.เกิดมาตรการการป้องกันอย่างยั่งยืน คือไม่แตกตัวออกไปทำความเสียหายต่อเนื่องแบบนี้อีก
ที่สำคัญ เพื่อป้องกันประชาชนมิให้เกิดความเสียหายในยุคเศรษฐกิจที่กำลังฟื้นตัว การป้องกันย่อมดีกว่าการแก้ไข และยังเป็นการสร้างมาตรฐานการซื้อขายออนไลน์ ส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดี ช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศต่อไป

เบื้องต้นพนักงานสอบสวน บก.ปคบ.รับแจ้งไว้เพื่อดำเนินการตามกฎหมายต่อไป

© 2021 thairemark.com