Tuesday, 23 April 2024 - 2 : 41 pm
kanda_002
OIC_001
data-no-lazy="1"
kanda_002
OIC_001

เกษตรกรพลิกผืนนา 8 ไร่ เลี้ยงกบขายสร้างรายได้ปีละกว่า 2 ล้านบาท

อาชีพทำนาทำไร่ในพื้นที่ภาคอีสานขึ้นอยู่กับดินฟ้าอากาศเพราะระบบชลประทานเข้าไม่ถึง ปีไหนฝนฟ้าตกตามฤดูกาล เกษตรกรดีใจจนน้ำตาไหล ปีไหนฝนฟ้าทิ้งช่วงต่างก็ระทมทุกข์ลั่นทุ่ง แต่เกษตรกรในพื้นที่จ.ศรีสะเกษ ทนกับวงจรทำการเกษตรมีแต่ติดหนี้ติดสินพะรุงพะรังไม่ไหว ปีไหนฝนแล้งนาล่ม ใช้หนี้สามปีไม่หมด ตัดสินใจพลิกผืนนาหาเงินเป็นต้นทุนชีวิตหันมาเลี้ยงกบ ขายลูกอ๊อดปลดหนี้ดีกว่าทำนาหลายเท่าตัว ที่สำคัญ “เลี้ยงโดยไม่ใช้สเลนบังแดด” ทำให้กบกลายเป็นเพศเมียมีน้ำหนักมาก ขายได้เงินเพิ่มขึ้นอีกต่างหาก

คุณหนูไทย มิ่งขวัญ อายุ 67 ปี บ้านเลขที่ 1 บ้านจอก หมู่ 2 ต.สะพุง อ.ศรีรัตนะ จ.ศรีสะเษ บอกว่า ปัญหาเกษตรกรไทยล้างหนี้นายทุนไม่หมดสักที มีหลากหลายปัจจัยมาเกี่ยวข้อง โดย 1 ในปัญหานั้น ก็คือ ทำนาฝนแล้งนาล่ม 1 ปี ต้องใช้หนี้ 3 ปีจึงหมดหนี้ หากเจอ 2 ปี ตีเป็นว่าติดหนี้เป็น 6 ปี จึงหันมาปรับพื้นที่นา 8 ไร่ มาเลี้ยงลูกออ๊ดและกบ ส่วนนาที่เหลือทยอยขายนาใช้หนี้และนำมาลงทุนเลี้ยงกบเป็นล่ำเป็นสัน จนกลายเป็นฟาร์มใหญ่แห่งหนึ่งในอีสานใต้ ที่สำคัญสามารถเลี้ยงกบขายขยายไปยังตลาดหลายจังหวัด แถมยังข้ามฝั่งขยายไปถึงตลาดกัมพูชา

นายหนูไทย เล่าถึงแรงบันดาลที่หันมาเลี้ยงกบเมื่อ 6 ปีที่ป่านมา ว่า ตนเป็นคนที่ชอบรับประทานลูกอ๊อดและกบ แต่ด้วยที่ราคาแพง จะกินทีต้องควักเงินซื้อ 400-500 บาท จึงทดลองเลี้ยงลูกอ๊อดดู ซึ่งปรากฏว่าเลี้ยงได้จนสามารถเพาะจำหน่ายได้ เริ่มต้นจากการเพาะเลี้ยงลูกอ๊อดที่สวนยางพารา เลี้ยงทดลองดู 2-3 บ่อ แต่เมื่อเห็นว่าสามารถเลี้ยงได้และได้ขาย จึงขยับขยายมาเลี้ยงในที่นา ใช้พื้นที่จำนวน 8 ไร่ สร้างบ่อเลี้ยงและซื้อกบพ่อพันธุ์แม่พันธุ์มาเลี้ยง จนมีลูกอ๊อด จากนั้นก็อนุบาลลูกอ๊อดจนเติบโตเป็นลูกกบ เลี้ยงจนเติบใหญ่จนสามารถส่งขายได้ เมื่อเห็นว่าสามารถขายได้จึงขยายพื้นที่เลี้ยง

นายหนูไทย เล่าต่อว่า ในการเลี้ยงลูกอ๊อดนั้น ตนได้ทำกระชังเลี้ยงเป็นบ่อพลาสติก ขนาด กว้าง 4 เมตร ยาว 20 เมตร เลี้ยงตอนแรกไม่กี่กระชัง แต่เมื่อลูกอ๊อดเติบโตเป็นกบ ก็ได้ขยายบ่อเลี้ยงจนถึงขณะนี้มีอยู่ทั้งสิ้นจำนวน 30 บ่อ โดยส่วนใหญ่ลูกค้าที่มาซื้อจะมาซื้อลูกอ๊อด เพราะบางรายจะซื้อแล้วนำไปเป็นเหยื่อใส่เบ็ดตกปลา และอีกส่วนก็จะนำไปประกอบอาหาร เช่น ทำหมก และอ่อม ซึ่งการเลี้ยงลูกอ๊อดนั้น 1 กระชัง จะมีลูกอ๊อดประมาณ 70-80 กิโลกรัม ส่วนกระชังกบ ก็จะมีกบอยู่ประมาณ 1 ตัน ต่อ 1 กระชัง

สำหรับการจำหน่ายสินค้าสู่กลุ่มผู้บริโภคนั้น จะมีลูกค้าทั้งในจังหวัดและต่างจังหวัดเข้ามารับซื้ออย่างต่อเนื่อง ร่วมถึงลูกค้าจากต่างประเทศ เช่น กัมพูชา และลาว โดยจะขายลูกอ๊อดในราคากิโลกรัมละ 400 บาท ส่วนกบ จะขายในราคากิโลกรัมละ 60 บาท ซึ่งในแต่ละปีสามารถสร้างรายได้จากการขายลูกอ๊อดและกบ 20 ตัน เป็นเงินประมาณ 2 ล้านบาท

เทคนิคในการเลี้ยงกบนั้นค้นพบว่าไม่ต้องใช้สเลนบังแดดให้กับกบ เพราะถ้าแสงไม่จ้ากบเป็นแผลแล้วจะไม่หาย แต่เมื่อถูกแดดแผลจะหายไปเอง เพราะกบจะเหมือนจรเข้ เมื่อกินอาหารอิ่มแล้วก็จะนอนผึ่งแดด แดดจัดยังทำให้ลูกอ๊อดกลายเป็นเพศเมียมากกว่า ซึ่งกบเพศเมียจะตัวใหญ่น้ำหนักมากกว่าตัวผู้ ได้เงินมากขึ้น

© 2021 thairemark.com