Saturday, 12 October 2024 - 2 : 20 pm
kanda_002
OIC_001
data-no-lazy="1"
kanda_002
OIC_001

พืชเศรษฐกิจตัวใหม่”ศอ.บต.เร่งผลักดันชุมชนรือเสาะปลูกกาแฟสายพันธุ์”โรบัสตา”ปั้นแบรนด์เฉพาะถิ่นชายแดนใต้ป้อนตลาดทั่วไทย

ภายหลังเลขาธิการ ศอ.บต. นำทีมเยือนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนปลูกกาแฟสายพันธุ์โรบัสต้า ต.บาตง อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส ดื่มแล้วถึงกับชอบไม่เหมือนกาแฟทั่วไปพร้อมการันตีคุณภาพ “นุ่ม รสชาติดี ศรีบาตง” เตรียมผลักดันให้ชุมชนเดินหน้าปลูกกาแฟในสวนผสมผสานมากยิ่งขึ้นเนื่องจากจะเป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ หากส่งเสริมอย่างจริงจังให้เป็นอัตลักษณ์เฉพาะถิ่นชายแดนใต้ นำไปสู่ห่วงโซ่ทางเศรษฐกิจมั่นคงอย่างยั่งยืนในอนาคต

พลเรือตรี สมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) พร้อมด้วย นางสาวเกษร บุญถนอม ผู้ช่วยเลขาธิการ ศอ.บต. และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่แปลงสวนยางพารา หมู่ที่ 5 ตำบลบาตง อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส เพื่อเยี่ยมนางซารีฮะ สะมาวี เกษตรกรต้นแบบในการคิดค้นการปลูกต้นกาแฟโรบัสต้าในพื้นที่บ้านบาตง พร้อมชมต้นกาแฟสายพันธุ์โรบัสต้าที่เน้นการปลูกกาแฟในสวนผสมผสานกับการปลูกยางพาราใช้พื้นที่ในการปลูกปะมาณ 7 ไร่ ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น รวมทั้งได้พัฒนาสายพันธุ์กาแฟให้สามารถเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ตำบลบาตงแห่งนี้ ถือเป็นแนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาการปลูกและการผลิตกาแฟโรบัสต้า ภายใต้ระบบอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดย ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมผลัดดันให้ส่งเสริมอาชีพการปลูกกาแฟ เนื่องจากเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่ประชาชนสามารถสร้างรายได้ได้เป็นอย่างดี รวมทั้ง พัฒนาสายพันธุ์กาแฟที่สามารถเจริญเติบโตได้ดีและเหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศของจังหวัดชายแดนภาคใต้ และไม่ต้องนำพันธุ์ต้นกาแฟจากพื้นที่อื่นเข้ามาส่งเสริมการเพาะปลูกให้กับเกษตรกร อีกด้วย

ในการนี้ พลเรือตรี สมเกียรติ ผลประยูร กล่าวว่า วันนี้เป็นอีกก้าวหนึ่งในการสนับสนุนการปลูกและผลิตกาแฟโรบัสตาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ บริเวณที่เรามาเยือนในครั้งนี้เรียกว่าบ้านบาตง ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 5 อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส และที่เห็นต้นกาแฟทั้งหมดนี้คือต้นกาแฟสายพันธุ์โรบัสต้า ซึ่งเมื่ออดีตได้ปลูกกันมาเรื่อย ๆ จนถึงปัจจุบันและได้พัฒนาสายพันธุ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับกับตลาดที่ต้องการ และแปลงปลูกกาแฟแห่งนี้มีการปลูกแซมกับต้นยางพารา ถือเป็นสิ่งสิ่งมหัศจรรย์มาก เพราะปกติแล้วกาแฟจะให้ผลผลิตเมื่อเราเริ่มปลูกครั้งแรกคือ 3 ปี แต่พื้นที่ตรงนี้ปลูกแค่ 2 ปีก็สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้แล้ว และให้ผลผลิตปีละ 2 ครั้ง ถือเป็นพืชเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งในวันข้างหน้าอาจจะมาแทนที่พืชชนิดอื่น ๆ และสามารถสร้างรายได้แก่เกษตรกรได้เป็นอย่างดี

โดยที่ผ่านมา ศอ.บต. ได้เข้ามาส่งเสริมความรู้แก่เกษตรกรในพื้นที่ ให้ปลูกต้นกาแฟมีคุณภาพ วิสาหกิจชุมชนได้นำไปแปรรูป และนักดื่มกาแฟยืนยันว่าคุณภาพดี โดยการันตีด้วยรสชาติ “นุ่ม รสดี ศรีบาตง” รวมถึงผลผลิตค่อนข้างสูง และมีผลโตทำให้เมล็ดกาแฟมีคุณภาพดีและที่สำคัญในอนาคตภาคเอกชนจะเข้ามาร่วมมือนั่นคือ Cafe Amazon เพื่อช่วยพัฒนาการผลิตในการปลูกบำรุงรักษา หากมีคุณภาพดีก็จะรับซื้อ วันนี้ ศอ.บต. เข้ามาส่งเสริมและสนับสนุน พร้อมมอบความรู้การปลูกต้นกาแฟให้มีคุณภาพแก่สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชน เครือข่ายเกษตรกร โดยเน้นกลุ่มที่ทำอยู่แล้วและต้องการคุณภาพมาก่อนปริมาณ หากว่ารวมกลุ่มกันให้เข้มแข็งคิดว่าผลผลิตจะเพียงพอระดับหนึ่งในเชิงพาณิชย์ในอนาคตต่อไป

ด้าน เกษตรกร ผู้ปลูกต้นกาแฟ ในพื้นที่ กล่าวขอบคุณ ศอ.บต. ที่ผ่านมาได้มอบความรู้วิธีการปลูก การรักษา การบำรุง รวมถึงการตกแต่งกิ่งของต้นกาแฟ เพื่อให้เจริญเติบโตให้มีคุณภาพ พร้อมได้สนับสนุนหลายๆ อย่างให้เกษตรกรในพื้นที่สามารถมีผลผลิตจากต้นกาแฟ และจำหน่ายได้ ปัจจุบันมีการจำหน่ายทั้งในโลกออนไลน์ และในชุมชน ภายใต้ชื่อ SAMAWEE COFFEE มีทั้งแบบคั่วอ่อน คั่วกลางและคั่วเข้ม และเป็นที่ยอมรับของตลาดเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะวัยรุ่นในชุมชนนิยมหันมาบริโภคกาแฟมากยิ่งขึ้น ทำให้ตนเองและครอบครัวมีรายได้เพิ่มขึ้นอีกด้วย

จากนั้น เลขาธิการ ศอ.บต. เยี่ยมสถานที่เพาะพันธุ์ต้นกล้ากาแฟซึ่งเป็นบ้านของนางซารีฮะ สะมาวี เกษตรกรต้นแบบ เพื่อชมวิธีการนำเมล็ดกาแฟไปเพาะโดยใช้ระยะเวลา 2 เดือนกว่าจะงอกเป็นต้นกล้า และนำไปจำหน่ายให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ร่วมถึงประชาชนทั่วไปที่สนใจนำไปเพาะปลูก ก็สามารถซื้อไปปลูกได้ ในราคาต้นละ 25 บาท จากนั้นได้ชมวิธีสาธิตการบดเมล็ดกาแฟ และนำเมล็ดกาแฟที่บดแล้วไปบรรจุใส่ถุงเพื่อนำไปจำหน่าย ตลอดจนเยี่ยมชนศูนย์วิสาหกิจชุมชนที่กำลังก่อสร้าง คาดว่าจะแล้วเสร็จในเร็วๆนี้ และศูนย์แห่งนี้จะเป็นแหล่งเรียนรู้การปลูกต้นกาแฟ และเป็นที่รวมของกลุ่มประชาชนทุกวัย โดยเฉพาะวัยรุ่นที่ชอบดื่มกาแฟ ได้ร่วมพบปะพูดคุยต่าง ๆ

สำหรับกาแฟโรบัสต้ามีการปลูกอย่างแพร่หลายในภาคใต้ และกาแฟต้นแรกของในภาคใต้ถูกปลูกที่อำเภอสะบ้าย้อย โดยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้มีพระราชดำรัสในครั้งเสด็จปฏิบัติพระราชกรณียกิจและเยี่ยมเยียนพสกนิกรและข้าราชการณ์ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2562 ให้ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่งเสริมอาชีพการปลูกกาแฟเป็นอาชีพเสริม ในการสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพัฒนาพันธุ์กาแฟให้เหมาะสมกับภูมิศาสตร์พื้นที่ ในการสนองพระราชดำรัสสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือขับเคลื่อนโครงการพัฒนา การปลูกและการผลิตกาแฟโรบัสต้า

ภายใต้ระบบอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนระหว่าง ศอ.บต. สภาเกษตรกรแห่งชาติ และบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ธุรกิจน้ำมันและการค้าปลีก โดย Cafe Amazon เพื่อเพิ่มช่องทางในการสร้างรายได้อีกทางหนึ่ง สำหรับพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัจจุบันนิยมปลูกในสวนที่ผสมผสานกับพืชชนิดอื่น ตามพื้นที่ว่าง ส่วนใหญ่ อยู่ในพื้นที่ อ.เบตง อ.ธารโต จ.ยะลา อ.สะบ้าย้อย จ.สงขลา และอ.รือเสาะ จ.นราธิวาส

โดย…แวดาโอ๊ะ หะไร จ.นราธิวาส

© 2021 thairemark.com