ทุเรียนแปลงใหญ่ ปราจีนบุรีปลอดภัยซีเซียม-137 เตรียมรับงานวันเกษตรปราจีนบุรี หรือ งานชาวสวนกำหนดจัดระหว่าง 30 พฤษภาคมถึงวันที่ 11 มิถุนายน 2566 นี้ มีเท่าไรขายหมดไม่เพียงพอ พบ นนท.ขึ้นเขาใหญ่-ไปบ่อนกาสิโนแวะชิม-ช็อปพรึ่บพรั่บ!!
ในฤดูกาลผลไม้ช่วงนี้ ทุเรียนปราจีนบุรี GI ขึ้นชื่อว่า อร่อย และมีรสชาติ เฉพาะตัว เป็นสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indication : GI) ซึ่งปัจจุบัน ชาวสวนทุเรียน ได้รวมกลุ่มเป็นกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนแปลงใหญ่ เพื่อช่วยกันผลิตทุเรียนคุณภาพ และ ยกระดับราคาให้เหมาะสม
นายวินัย ลักษณะวิลาศ เกษตร จ.ปราจีนบุรี ได้มาเยี่ยมชมสวนทุเรียนแปลงใหญ่ปราจีนบุรี ที่ช่วงเดือนพฤษภาคม นี้ ตรงกับ ทุเรียนสวนเกษตรกรปราจีนบุรีกำลังให้ผลผลิต อันเป็นช่วงเวลาคนรักทุเรียน จะได้มาเลือกชิม -ช็อปให้เลือกซื้อหากันอย่างจุใจ หลากหลายพันธุ์
ซึ่ง“ทุเรียนปราจีนบุรี” ขึ้นชื่อลือชาเรื่องรสชาติ ความอร่อยสุดๆ โดย กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ได้ประกาศขึ้นทะเบียน “ทุเรียนปราจีน จังหวัดปราจีนบุรี” เป็นสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indication : GI) อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2559 ก่อนหน้านี้
พามาสวนของ นายมนัส ฮวดจึง เกษตรกรบ้านหนองจวง ประธานเกษตรทุเรียนแปลงใหญ่ หมู่ 8 ตำบลดงขี้เหล็ก อำเภอเมือง จ.ปราจีนบุรี มีพื้นที่ รวมกว่า มี 30 ไร่ ทำการปลูกทุเรียน 20 ไร่ รวมจำนวน 400 ต้น ที่รายได้ทุเรียนแปลงใหญ่ มากกว่า 1 ล้านบาท /ปี ที่นี่ เป็นศูนย์เรียนรู้เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) จัดตั้งแปลงใหญ่ทุเรียน ต.ดงขี้เหล็ก รวมพื้นที่ 400 ไร่ มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ70ราย
นายมนัส กล่าวว่า ศพก.แห่งนี้ เป็นแหล่งถ่ายทอดความรู้แก่สมาชิกของศูนย์ที่สำคัญ ได้แก่ การผลิตทุเรียนคุณภาพ-ปลอดภัย ลดต้นทุนการผลิต ขายให้ได้ราคา ลดการให้น้ำต้นทุเรียน ก่อนกระตุ้นให้ออกดอก เพื่อให้ดอกติดดี และ เทคนิคการผสมเกสรทุเรียนแต่ละสายพันธุ์ซึ่งแตกต่างกัน
โดยทุเรียนในสวนของคุณมนัส ติดผลแล้ว จะมีลูกค้าประจำมาขอซื้อผลผลิตแบบเหมาต้น ซึ่งเจ้าของสวนจะส่งรายงานความเจริญเติบโตของผลแก่ลูกค้าทุกวัน ผ่านทางไลน์
ในปี 2561 สำนักงานเกษตรจังหวัดปราจีนบุรีจะพัฒนาเป็นแปลงทุเรียนอัจฉริยะ นำนวัตกรรมมาใช้ เป็นเทคโนโลยีควบคุมความชื้นและอุณหภูมิ หากอากาศร้อนหรือแห้งจนเกินไป ระบบให้น้ำจะพ่นละลองน้ำอัตโนมัติ ขณะนี้กำลังออกแบบร่วมกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งจะทำให้สวนทุเรียนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมตลอดทั้งปี
นายมนัส กล่าวต่อไปว่า ปีนี้ผลผลิต ลดไป 20% เพราะจากสภาพอากาศแปรปรวน ช่วงออกดอก แต่ได้มีการวัด บันทึก และ รับมือในปี หน้าแล้ว ว่าจะมีวิธีการรับมือยังไง ถ้าปีหน้าเกิดปัญหาอากาศแปรปรวนอีก
ปีนี้ประสบปัญหาความแห้งแล้งมาก เลยต้องเอาน้ำจากแม่น้ำปราจีนบุรีมาใช้ โดยการรวมตัวในฐานะแปลงใหญ่ ในฐานะผู้นำต้องวางแปลงให้เกษตรกร ซึ่งต้องประชุมกันทุก วันที่ 20 ของเดือน สมาชิกจะได้ตราทุเรียน GI รับรอง โดย ทุเรียนปราจีนบุรี ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนสินค้า GI มีจำนวน 7 สายพันธุ์ แบ่งเป็นทุเรียนพันธุ์การค้าคือ ทุเรียนพันธุ์ก้านยาว พันธุ์หมอนทอง พันธุ์ชะนี พันธุ์กระดุมทอง และทุเรียนสายพันธุ์พื้นเมือง ประกอบด้วย ทุเรียนพันธุ์กบชายน้ำ พันธุ์ชมพูศรี และพันธุ์กำปั่น
มีการตรวจคุณภาพ เพื่อให้ผู้บริโภคมั่นใจว่าปลอดภัย เราประชุมกันทุกเดือน ส่วนใหญ่การ ยกระดับแปลงใหญ่ จะเกี่ยวกับน้ำเพราะน้ำเป็นปัจจัยหลัก ใน 1 เดือนเราใช้สารเพราะอะไร? นอกจากนั้นได้พยายามปรับเปลี่ยน การผลิตโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ,ปุ๋ยหมัก หมักอย่างไร อาทิ มี น้ำหมัก ชีวภาพ
โดยสินค้าทุเรียนที่มี จำหน่ายริมถนน ขายปลีกได้กำไรมากกว่า ขายในราคากิโลละ 250 บาท 300 บาท ปัญหาคือขาดแคลนน้ำมาก กำลังหาหน่วยงานที่เราเข้าถึงได้ เพื่อติดต่อเรื่องน้ำ
การขายออนไลน์ การขายออนไลน์จำหน่ายไปแล้ว ประมาณ 1 ตัน ราคาขาย ก.ละ 230 – 250 บาท ลูกค้าออนไลน์สามารถเคลมได้ทุกลูก แต่ก็ต้องมีข้อตกลงกับลูกค้า ที่บอกว่า 3 วันสุก แต่ลูกค้าไปผ่าก่อนไม่ได้
เกษตรกร ขอขอบคุณเกษตรและสหกรณ์ ในแง่ของการตลาด ซึ่ง สินค้าไม่เพียงพอ มี ปัญหาเรื่องแหล่งน้ำฝากหน่วยงานของรัฐ เกษตรแปลงใหญ่ต้อง มี น้ำเพียงพอ ถ้าไม่มีเพียงพอพยายาม พึ่งตนเอง ถึงที่สุด ไม่หวังพึ่งราชการเท่าไหร่
เรื่องการตลาด ไม่ห่วง ผลผลิตเกษตรแปลงใหญ่ คือ จำหน่ายกับผู้บริโภคโดยตรง ร้อยละ 90 ผลผลิตแปลงใหญ่ ใครก็ต้องการ มากหลายจังหวัดเรายังไม่ จำเป็นต้องส่งเล้ง(โกดัง) ขายกันเองริมถนน หน้าบ้าน ของตนเอง อยากขอบคุณเกษตรและสหกรณ์ที่ให้ความสำคัญกับเกษตรแปลงใหญ่ อยากให้เห็นถึงความสำคัญเรื่องน้ำ ส่วนกรณีเรื่อง ซีเซียม -137 ก็ไม่มีปัญหา ได้ตรวจสอบภาพรวมกว้างๆแล้ว ลูกค้า ไม่ถามเรื่องนี้ สินค้าขายดีไม่พอขาย ต้องการสินค้าที่มีคุณภาพก็มาทีติดต่อได้ที่สวน ต้องมาซื้อที่สวนการันตี อยู่ในแหล่งผลิตเกษตรแปลงใหญ่ โดยทุเรียนพันธุ์หมอนทอง ,กบชายน้ำ ,พวงมณี ราคากก.ละ 200 บาท ก้านยาว กก.ละ 300บาท ชะนี กก.ละ 180บาท ชาวสวนเรา จำหน่ายได้ราคามากกว่า สินค้าไม่พอขาย
ส่วนมาตรฐาน Gap ได้ทำการจดบันทึก ใช้ปุ๋ยเพราะอะไร ใบไม่สวยเราใช้สารชีวภาพ แปลงสาธิตใช้วัตถุอะไร น้ำหมักเป็น สูตร ฆ่าแมลง มาช่วยกัน หมักตามคำแนะนำแล้ว สมาชิก มาเอาไปใช้ นายมนัส กล่าว
จากนั้นได้ประชุมกลุ่มเกษตรกรทุเรียนแปลงใหญ่ โดยนายมนัส เป็นประธาน ในการประชุม และมีสมาชิก เข้าร่วมประชุม ได้กล่าวสรุปว่า … จะมี งานประจำปี งานเกษตรปราจีนบุรี หรืองานชาวสวนในอดีต
การจัดงานนี้ ถ้านับการจัดต่อเนื่องมาก็ 59 ปีแล้ว ใน 2 ปีที่ผ่านมา ได้หยุดจัดไป งานเกษตรปราจีนบุรี หรืองานชาวสวนปีนี้ เริ่ม 30 พฤษภาคมถึงวันที่ 11 มิถุนายน 2566 นี้
ใน วันที่ 1 มิถุนายน มีประกวดกิ่งพันธุ์ทุเรียน ส้มโอ มะยงชิด กระท้อนติดตา , วันที่ 2 มิ.ย. ประกวด ผลไม้ ใหญ่ ผักยาว – ยักษ์ , วันที่ 5 มิ.ย. ประกวดคุณภาพ ของผลไม้ปราจีนบุรี ปีนี้จึงเป็นปีที่ 57 ในการจัดงาน นายมนัส กล่าว
ด้าน นายวินัย ลักษณะวิลาศ เกษตรจังหวัดปราจีนบุรี กล่าวว่า จ.ปราจีนบุรี มีคำขวัญประจำจังหวัด …ศรีมหาโพธิ์คู่บ้าน ไผ่ตงหวานคู่เมือง ผลไม้ลือเลื่อง เขตเมืองทวารวดี … โดยผลไม้ทุเรียนนี้ ได้จัดเป็นเกษตรแปลงใหญ่ทุเรียนปราจีนฯ เราจะเน้นในแง่มุมของการส่งเสริมการผลิต และ การรวมกันในตลาด เนื่องจากพี่น้องเกษตรกรเป็น เกษตรกรรายย่อย
ทีนี้เราได้ทำการส่งเสริมการผลิต ทำให้ พี่น้องได้รวมกลุ่มกัน และทำการเกษตรได้ผลผลิตดีขึ้น และรายได้เพิ่มขึ้นได้มากขึ้น ในการส่งเสริมและสนับสนุนในด้านวิชาการ จะพูดเรื่องปุ๋ย – ยา มีการตกลงว่าจะเข้า รับความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จึงนำไปสู่การเรียนรู้และการปฏิบัติแบบประณีต
ทำให้ชาวสวนได้หันมาใช้ ปุ๋ยชีวะภาพ ในการดูแล แทนการใช้ปุ๋ยเคมี และไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและผู้บริโภคปลอดภัย การประณีตทำให้ได้ผลผลิตได้น้ำที่ดีตาม ที่ผ่านมา มีงบประมาณให้พี่น้องประชาชน อาทิ ได้มีการส่งเสริมระบบน้ำ ได้ มีพี่น้องประชาชนได้ใช้สอย และ ได้ให้ รวมตัวกัน ได้ขนาดแปลง ต้องประมาณเท่าไหร่หรือ พิจารณา ผู้เข้าร่วมเกษตรแปลงใหญ่ และ ศึกษาดูงานที่แปลงใหญ่ นายวินัยกล่าวในที่สุด
ด้าน นางน้อย อายุ 81 ปี ชาวสวนบ้านหนองจวง ต.ดงขี้เหล็ก อ.เมืองปราจีนบุรี กล่าวว่า ทำสวนทุเรียน 2 ไร่ ปลูกผสมผสานหลายอย่าง ขายตามบ้านก็ไม่พอขาย ส่วนลูกสาวอยู่กรุงเทพฯ ก็มารับไป ไม่พอขาย มีทุกอย่างในสวนทั้งมะม่วง มะยงชิด มะปราง ขนุน ลองกอง มังคุด รดน้ำเอง ยังทำไหวอยู่ นางน้อยกล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติม พบบรรยากาศบนถนนสายสุวรรณศร (สายเก่า) (ปราจีนบุรี – ประจันตคาม) ที่ตลาดผลไม้หนองชะอม ต.โคกไม้ลาย เกษตรกรนำผลผลิตทุเรียนต่าง ๆ โดยเฉพาะพันธุ์หมอนทางจากสวนไปจำหน่ายในราคาหน้าสวน พบนักท่องเที่ยวที่เดินทางไปเที่ยวอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่มรดกโลก – ไปบ่อนกาสิโน ประเทศเพื่อบ้าน(กัมพูชา)ที่ผ่านเส้นทางได้แวะซื้อเป็นของฝากจากสวน จำนวนมาก
โดย…มานิตย์ สนับบุญ- รายงาน/ ณัฐนันท์ –ภาพ