Tuesday, 8 July 2025 - 10 : 56 pm
68.06.09-ส่งเว็บremark-320x100px_CREai
OIC_001
data-no-lazy="1"
68.06.09-ส่งเว็บremark-320x100px_CREai
OIC_001

อลังการ!”เทศกาลผลไม้ และของดีศรีขุนหาญ” กระตุ้นเศรษฐกิจ

อะร่าอร่าม งามยิ่ง อำเภอขุนหาญ เปิด”งานเทศกาลผลไม้ และของดีศรีขุนหาญ ประจำปี ๒๕๒๕๖๘ ครั้งที่ ๒๓ กระตุ้นท่องเที่ยว สร้างรายได้สู่ชุมชน

นายอนุพงศ์ สุขสมนิตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ เดินทางมาเป็นประธานพิธีเปิดงาน โดย นายปวิช รัตวาลย์ นายอำเภอขุนหาญ ในนามคณะกรรมการอำนวยการจัดการงาน กล่าวรายงานว่า “อำเภอขุนหาญ เป็นอำเภอที่พลเมืองส’วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม มีพื้นที่เหมาะสมต่อการเพาะปลูกพืชผลทางการเกษตร ที่เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ มีความหลากหลาย ให้ผลผลิตออกสู่ตลาดตลอดทั้งปี ได้แก่ ข้าวนาปี ข้าวนาปรัง ยางพารา ปาล์มน้ำมันมันสำปะหลัง ข้าวโทดเลี้ยงสัตว์

โดยเฉพาะพื้นที่ด้านตะวันออก และตอนใต้ของอำเภอซึ่งเป็นแหล่งตันน้ำล้ำล้ำธาร พื้นที่มีที่มีศักยภาพสูงเหมาะสมแก่การปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้นจากแผนพัฒนาการเกษตรของอำเภอ ที่มุ่งเน้นการยกระดับรายได้ และพัฒนากระบวนการผลิตของเกษตรกร ให้มีความสอดคล้องกับความต้องการของตลาด ส่งเสริมให้เกษตรกรได้รับการตรวจรับรองการผลิตพืชที่ปลอดภัย และได้มาตรฐาน GAP และตรวจรับรองการใช้ตราสัญลักษณ์ GI “ทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ” ปัจจุบันอำเภอขุนหาญมีเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนจำนวน ๘๗๗๗ ครัวเรือน มีพื้นที่ปลูกทุเรียน ๖,๘๙๙ ไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๔๓.๒๘ และมีพื้นที่ให้ผลผลิต ๕,๒๘๒ ไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๓๙.๙๒ จากปี พ.ศ. ๒๕๖๗

นอกจากนี้ยังมีแนวโน้มขยายพื้นที่เพาะปลูก เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี พ.ศ.๒๕๖๗อำเภอขุนหาญมีมูลค่ารวมของผลผลิตทางการเกษตรสูงถึง ๒,๐๙๙ ล้านบาท เป็นมูลค่าที่เกิดจากการจำหน่ายทุเรียน ๕๘๑ ล้าบาทคิดเป็นร้อยละ ๒๘ ของรายได้จากภาคการเกษตรของอำเภอทำให้เกษตรกรหันมาปลูกไม้ผลกันมากขึ้น ซึ่งถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของอำเภอ และสร้างรายได้ให้แก่เก่เกษตรกรเพิ่มขึ้นทุกปี

นายธนัชกฤศ บุดดีเสาร์ ปลัดอาวุโสอำเภอขุนหาญ  กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการจัดงานครั้งนี้ว่า . เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์สินค้า GI “ทุเรียนภูเขาเกษ” ผลผลิตทางการเกษตรอื่น และสินค้าของกลุ่มแม่บ้านเกลุ่มวิสาหกิจชุมชน และกลุ่ม OTOP ของอำเภอขนหาญ ๒. เพื่อเป็นการสร้างขวัญกำลังใจให้แก่เกษตรกร แลสนับสนุนให้เกษตรกรผลิต ผลผลิตทางการเกษตร โดยเฉพาะผู้ไฟ ให้มีคุณภาพดี ตรงกับความต้องการของตลาดทั้งต่างประเทศ

๓. เพื่อกำหนดให้เป็นงานเทศกาลที่เป็นเอกลักษณ์ขุนหาญ ทางด้านการเกษตรและการท่องเที่ยวของอำเภอขุนหาญโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเกษตรเชิงอนุรักษ์ ทำให้เกิดการของเงินเข้ามาในอำเภอขุนหาญเพิ่มขึ้น เพื่อเป็นการส่งเสริมด้านการตลาด เพิ่มช่องทาง เปิดโอกาสการพบกันระหว่างเกษตรกรกับกลุ่มพ่อค้า ๕. เพื่อเป็นการส่งเสริมและเชิดชูวัฒนธรรมพื้นบ้านคุณความดีของ “ขุนหาญ” ผู้สร้างเมืองขุนหาญในอดีตและเผ่าตั้งเดิมของอำเภอขุนหาญ ประกอบด้วย เผ่าเขมร เผ่าส่วย

ที่สืบสานวัฒนธรรมท้องถิ่นอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข พัฒนาเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันในการจัดงานครั้งนี้ มีกิจกรรมประกอบในงาน ดังนี้ ๑. การออกร้านจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตรโดยเฉพาะทุเรียนภูเขาไฟ และผลผลิตเกษตรอื่นๆ ซึ่งผลิตได้ดีในอำเภอขุนหาญ ๒. การออกร้านจำหน่ายสินค้าของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรกร กลุ่มวิสาหกิจขุมชน และสินค้า TOP ของอำเภอขนหาญ ๓. กิจกรรมภาคบันเทิงเพื่อสร้างความสุขให้กับประชาชนชาวไทยอำเภอขุนหาญ สำหรับไฮไลน์ของงานนี้ได้แก่ “รำวงย้อนยุคพื้นบ้าน (ขุนหาญคาลิปโซ่) เป็นการสร้างสีสันให้กับงานซึ่งได้รับความสนใจของประชาชนอย่างมาก การจัดงานครั้งนี้ผ่านพ้นไปด้วยความเรียบร้อย

เสนาะ วรรักษ์/รายงาน

© 2021 thairemark.com