Sunday, 24 November 2024 - 3 : 55 pm
kanda_002
OIC_001
data-no-lazy="1"
kanda_002
OIC_001

ฝนทิ้งช่วงนาน”เขื่อลำตะคอง”วิกฤตแห้งขอด ถนนมิตรภาพสายประวัติศาสตร์โผล่ยาว 7 กม.

สถานการณ์น้ำในเขื่อนลำตะคองวิกฤติ เนื่องจากสภาวะภัยแล้งฝนทิ้งช่วงเป็นระยะยาว มีฝนตกลงมาในพื้นที่เหนือเขื่อนลำตะคองปริมาณน้อย ซึ่งมีต้นน้ำอยู่ที่บนอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ต.หมูสี อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ทำให้ไม่มีน้ำไหลลงเขื่อน รวมทั้งลำคลองลำธารสาขาต่างๆที่ไหลลงเขื่อนแห้งขอดหมดทุกพื้นที่ทั้ง 12 ตำบล จึงทำให้น้ำในเขื่อนลดลงทุกวัน

จนทำให้ถนนมิตรภาพสายประวัติศาสตร์งบประมาณการก่อสร้างระหว่างรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ร่วมมือกับรัฐบาลไทย เพื่อเชื่อมโยงไปยังฐานทัพจังหวัดอุดรธานี ที่เลิกใช้จากการก่อสร้างเขื่อนลำตะคอง เมื่อปี 2515และจมอยู่ใต้น้ำในเขื่อน โผล่ขึ้นให้เห็นสันดอนกลายเป็นทุ่งเลี้ยงสัตว์ของชาวบ้าน จากสภาวะภัยแล้งยาวกว่า 7 กม. บริเวณเก็บกักน้ำเมื่อน้ำลดเกิดเป็นสันดอนโผล่กว่าหลายหมื่นไร กลายเป็นที่เลี้ยงสัตว์โค กระบือ ของชาวบ้าน

โดยน้ำที่พอมีไหลลงเขื่อนบ้างจากน้ำผุดธรรมชาติ ในพื้นที่บ้านท่าช้างเหนือ ต.หมูสี อ.ปากช่อง ที่มีตาน้ำใสสะอาดไหลอยู่ตลอดปี เพื่อให้มีน้ำดิบผลิตน้ำประปา ในชุมชนเมืองปากช่อง แต่ก็ไม่เพียงพอกับการ ปล่อยน้ำจากเขื่อนลำตะคองลงไปยังโรงกรองน้ำประปา อุปโภคบริโภค การเกษตร และส่งไปยังหน่ายงานราชการ ค่ายทหาร และกับประชาชนในชุมชนเมืองนครราชสีมาก็ถือว่าเขื่อนลำตะคองเป็นสายเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงประชาชนชาวเมืองโคราช ที่นำน้ำไปอุปโภคบริโภค รวมทั้งฟาร์มเลี้ยงสัตว์ต่างๆ ในพื้นที่

นายอำนาจ วรรณมาโส หัวหน้าฝ่ายจัดการน้ำและปรับระบบชลประทาน กล่าวว่า ปริมาณน้ำในเขื่อนลำตะคอง ที่มีความจุ 314 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่ปริมาณฝนตกลงมาด้านเหนือเขื่อนน้อย จึงทำให้น้ำในเขื่อนลดลงทุกวัน โดยเมื่อเวลา 06.00 น. เมื่อเช้าวันที่ 20 สิงหาคม วัดได้เหลือเพียง 139 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น ร้อยละ 44 เปอร์เซ็นต์ จนทำให้น้ำลดจากช่องประตูระบายน้ำ 7 ช่อง กว่า 100 เมตรการบริหารจัดการน้ำด้วยความปราณีตเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพการใช้น้ำ

โดยการปล่อยน้ำในเขื่อนลงไปวันละ 600,000 ลูกบาศก์เมตร เพื่อใช้อุปโภค บริโภค เพื่อระบบนิเวศ อุตสาหกรรม และการเพาะปลูกจำนวน 1 แสน 2 หมื่น ไร่ โดยถ้าเปรียบเทียบกับในปีที่ผ่านมาในปีนี้ถือว่ามีปริมาณน้ำในเขื่อนลำตะคองน้อยมาก อาจส่งผลกระทบต่อการขยายพันธุ์สัตว์น้ำที่อาศัยในเขื่อนอย่างแน่นอน แต่ต้องรอดูว่า จากนี้ไปจนถึงช่วงเดือน ตุลาคม จะมีปริมาณฝนตกลงมากมากน้อยแค่ไหน

ด้าน นายสยาม ศิริมงคล ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา มีนโยบายให้เกษตรกร ที่อยู่ใต้เขื่อน อ.สีคิ้ว อ.สูงเนิน อ.ขามทะเลสอ ให้พิจารณาการปลูกพืชที่ใช้น้ำมาก รวมทั้งการปลูกข้าวนาปี เพื่อการประหยัดน้ำเอาไว้ใช้ในช่วงหน้าแล้ง และมอบหมายให้นายอำเภอทั้ง 23 อำเภอ ที่ประสบปัญหาภัยแล้ง สำรวจพื้นที่ขาดน้ำอุปโภคบริโภค และประชาชนที่ได้รับผลกระทบด้านการเกษตรและนาข้าว ตรวจสภาพภัยแล้ง ของแต่ละอำเภอเพื่อหาทางช่วยเหลือ จะได้ประสานหน่วยฝนเทียมต่อไป โดยนายคณัสชนม์ ศรีเจริญ นายอำเภอปากช่อง ลงพื้นที่ท้ายเขื่อนร่วม ชลประทาน อบต.จันทึก พื้นที่สันดอนท้ายเขื่อนบ้านท่างอย

นายชัยยา ห้วยหงษ์ทอง หัวหน้าอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เปิดเผยว่า ในช่วงที่ผ่านมา ด้านบนอุทยานฯ ถือเป็นจุดต้นน้ำลำตะคอง มีปริมาณน้ำในลำตะคองที่ไหลผ่านน้ำตกเหวสุวัต ลงไปตามลำตะคอง ผ่านพื้นที่เมืองปากช่อง ลงสู่เขื่อนลำตะคลอง ในช่วงนี้เป็นช่วงฝนทิ้งช่วงน้ำน้อย บางจุดแห้งแล้ง ซึ่งมีบ่อเก็บกักน้ำฝน จำนวน 4 บ่อ ไว้ให้สัตว์ป่ากินช่วงหน้าแล้ง

แต่ถ้าฝนไม่ตกลงมาในพื้นที่ทิ้งช่วงระยะยาวน้ำในบ่อก็จะแห้งเร็ว ส่วนน้ำที่นำมาใช้อุปโภคบริโภคภายในของเจ้าหน้าที่นำน้ำจากอ่างเก็บน้ำสายศร ( อ่างมอสิงโต ) บนอุทยานฯเขาใหญ่ ที่สูบน้ำขึ้นมาใช้เป็นน้ำประปานำมาใช้ในบ้านพักและส่วนต่างๆ และเป็นแหล่งน้ำสัตว์ป่ากิน ก็เริ่มแห้งลงทุกวันใกล้วิกฤติ

© 2021 thairemark.com